Loading

 

มรดกของเครือญาติ (ซะวิลอัรหาม)

มรดกของเครือญาติ (ซะวิลอัรหาม)

ซะวิลอัรหาม  คือ  เครือญาติที่ไม่มีสิทธิ์รับมรดก ไม่ว่าจะด้วยส่วนกำหนดหรือส่วนเหลือ

 

ซะวิลอัรหามจะได้รับมรดกด้วยสองเงื่อนไข คือ

- ไม่มีผู้มีสิทธิ์รับมรดกแบบส่วนกำหนด (ยกเว้นสามีหรือภรรยา)   

- และไม่มีผู้มีสิทธิ์รับมรดกแบบส่วนเหลือ

 

ลักษณะการแบ่งมรดกให้แก่ชาวซะวิลอัรหาม

เราจะแบ่งมรดกให้แก่เครือญาติตามลำดับตำแหน่งเสมือน โดยเราจะให้ตำแหน่งเครือญาติเสมือนผู้ที่มาก่อนเขา  เช่น

1.     

ลูกของลูกสาว, ลูกของลูกสาวของลูกชาย จะอยู่ในตำแหน่งมารดาของพวกเขา  (นั่นคือ ตำแหน่งลูกสาว และลูกสาวของลูกชาย เป็นต้น)

2.     

ลูกสาวของพี่น้องและลูกสาวของลูกชายพวกเขา  จะอยู่ในตำแหน่งบิดาของพวกนาง และลูกของพี่น้องร่วมมารดา ก็จะอยู่ในตำแหน่งพี่น้องร่วมมารดา และลูกของพี่น้องร่วมบิดามารดา จะอยู่ในตำแหน่งมารดาของพวกเขา

3.     

บรรดาลุงน้า(พี่น้องชายของมารดา) ป้าอา (พี่น้องหญิงของมารดา)และคุณตา ก็จะอยู่ในตำแหน่งเหมือนมารดา

4.     

บรรดาอาหญิงร่วมมารดา (พี่น้องของพ่อร่วมมารดา) และอาชายร่วมมารดา(พี่น้องของพ่อร่วมมารดา) ก็จะอยู่ในตำแหน่งเหมือนบิดา

5.     

บรรดาทวดหญิงที่ไม่มีสิทธิ์รับมรดก ไม่ว่าจะเป็นทางบิดาหรือมารดา  เช่น แม่ของตา และแม่ของพ่อของปู่นั้น  คนแรกจะอยู่ในตำแหน่งยาย  ส่วนคนที่สองอยู่ในตำแหน่งย่า

6.     

บรรดาทวดที่ไม่มีสิทธิ์รับมรดก ไม่ว่าจะทางบิดาหรือมารดา  เช่น ย่า และพ่อของย่า  ลำดับแรกจะอยู่ในตำแหน่งมารดา  และลำดับที่สองอยู่ในตำแหน่งย่า

7.     

ใครก็ตามที่เข้ามาเกี่ยวข้องโดยผ่านบุคคลดังที่กล่าวมา เขาก็จะต้องอยู่ในตำแหน่งของบุคคลนั้น เช่น  อาสาวของอาสาว และน้าสาวของน้าสาว  เป็นต้น

      ทิศทางของเครือ มีสามทิศทาง คือ ทางทายาท ทางบิดา ทางมารดา

 

..............................................

 

แปลโดย : ซอบิร อับดุลกอดิร อูมา

ตรวจทานโดย : ฟัยซอล อับดุลฮาดี

คัดลอกจาก : http://IslamHouse.com/371090

 

 

 

 

Maintained by: e-Daiyah Group (1429 H - 2008).