Loading

 

คุณค่าของการดะอฺวะฮฺ เผยแผ่เชิญชวนสู่อัลลอฮฺ

คุณค่าของการดะอฺวะฮฺ เผยแผ่เชิญชวนสู่อัลลอฮฺ

มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิแห่งเอกองค์อัลลอฮฺ ขอพรและศานติจงประสบแด่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ข้าขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดผู้คู่ควรได้รับการภักดีอย่างแท้จริงนอกจากอัลลอฮฺ โดยไม่มีภาคีสำหรับพระองค์ และขอปฏิญาณว่ามุหัมมัดนั้นเป็นบ่าวและศาสนทูตของพระองค์

อนึ่ง อัลลอฮฺตะอาลาได้กล่าวถึงบรรดาศาสนทูตจำนวนหนึ่งในสูเราะฮฺ อัน-นิสาอ์ หลังจากนั้นพระองค์ก็ได้ตรัสถึงพวกเขาว่า

﴿رُّسُلٗا مُّبَشِّرِينَ وَمُنذِرِينَ لِئَلَّا يَكُونَ لِلنَّاسِ عَلَى ٱللَّهِ حُجَّةُۢ بَعۡدَ ٱلرُّسُلِۚ وَكَانَ ٱللَّهُ عَزِيزًا حَكِيمٗا ١٦٥﴾ (النساء : 165)

ความว่า “คือบรรดาศาสนทูตที่ถูกแต่งตั้งมาในฐานะผู้แจ้งข่าวดีและผู้ตักเตือน เพื่อว่ามนุษย์จะได้ไม่มีหลักฐานใดๆ อ้างแก้ตัวแก่อัลลอฮฺได้ หลังจากมีบรรดาศาสนทูตเหล่านั้นมาแก่พวกเขาแล้ว และอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงเดชานุภาพ ผู้ทรงปรีชาญาณ” (อัน-นิสาอ์ 165)

 

ในอายะฮฺนี้ อัลลอฮฺชี้แจงถึงหน้าที่ของบรรดาศาสนทูต นั่นก็คือ การดะอฺวะฮฺเผยแผ่ เชิญชวนมนุษย์ทั้งหลายสู่อัลลอฮฺ ด้วยการแจ้งให้ทราบถึงความดีงามที่ต้องทำ และตักเตือนให้เห็นความชั่วที่ต้องละเลิก พระองค์ได้ตรัสต่อนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ของเราว่า

﴿يَٰٓأَيُّهَا ٱلنَّبِيُّ إِنَّآ أَرۡسَلۡنَٰكَ شَٰهِدٗا وَمُبَشِّرٗا وَنَذِيرٗا ٤٥ وَدَاعِيًا إِلَى ٱللَّهِ بِإِذۡنِهِۦ وَسِرَاجٗا مُّنِيرٗا ٤٦﴾ (الأحزاب : 45-46)

ความว่า “โอ้ นะบีเอ๋ย! แท้จริง เราได้ส่งเจ้ามาเพื่อให้เป็นพยาน เป็นผู้แจ้งข่าวดี และเป็นผู้ตักเตือน อีกทั้งให้เป็นผู้เรียกร้องเชิญชวนไปสู่อัลลอฮฺ ตามพระบัญชาของพระองค์ และเป็นดวงประทีปอันแจ่มจรัส” (อัล-อะหฺซาบ 45-46)

 

แล้วพระองค์ก็สั่งท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ให้ชี้แจงแก่ประชาชาติของท่านว่า สิ่งนี้เป็นหน้าที่ของท่าน และเป็นหน้าที่ประชาชาติของท่านด้วย

﴿قُلۡ هَٰذِهِۦ سَبِيلِيٓ أَدۡعُوٓاْ إِلَى ٱللَّهِۚ عَلَىٰ بَصِيرَةٍ أَنَا۠ وَمَنِ ٱتَّبَعَنِيۖ وَسُبۡحَٰنَ ٱللَّهِ وَمَآ أَنَا۠ مِنَ ٱلۡمُشۡرِكِينَ ١٠٨﴾ (يوسف : 108)

ความว่า “จงกล่าวเถิดมุฮัมมัด นี่คือแนวทางของฉัน ฉันเรียกร้องไปสู่อัลลอฮฺอย่างประจักษ์แจ้ง ทั้งตัวฉันและผู้ปฏิบัติตามฉัน(ล้วนเรียกร้องไปสู่อัลลอฮฺทั้งสิ้น) และมหาบริสุทธิ์แห่งอัลลอฮฺ ฉันมิได้อยู่ในหมู่ผู้ตั้งภาคี” (ยูซุฟ 108)

 

ดังนั้น บรรดาศาสนทูตและผู้ติดตาม ถูกสั่งให้ทำหน้าที่ในการเชิญชวนดะอฺวะฮฺมนุษย์ทั้งหลายสู่การมอบความเป็นเอกภาพแก่อัลลอฮฺ(อัต-เตาหีด)และเชื่อฟังพระองค์ และต้องเตือนสำทับมนุษย์ให้ห่างไกลจากการตั้งภาคีและทรยศฝ่าฝืนอัลลอฮฺ หน้าที่นี้คือหน้าที่อันทรงเกียรติ เป็นสถานะอันสูงส่งสำหรับคนที่อัลลอฮฺได้ประทานให้เขาสามารถปฏิบัติและดำรงมันไว้ได้อย่างถูกต้องตามแนวทางที่สร้างความโปรดปรานแก่พระองค์

อัลลอฮฺตรัสว่า

﴿وَمَنۡ أَحۡسَنُ قَوۡلٗا مِّمَّن دَعَآ إِلَى ٱللَّهِ وَعَمِلَ صَٰلِحٗا وَقَالَ إِنَّنِي مِنَ ٱلۡمُسۡلِمِينَ ٣٣﴾ (فصلت : 33)

ความว่า “และผู้ใดเล่าจะมีคำพูดที่ดีเลิศยิ่งไปกว่าผู้เชิญชวนไปสู่อัลลอฮฺ พร้อมกับปฏิบัติอะมัลที่ดี และกล่าวว่า แท้จริงฉันเป็นคนหนึ่งในบรรดามุสลิมผู้นอบน้อม” (ฟุศศิลัต 33)

 

เมื่อบรรดาผู้มีคุณธรรม(อัศ-ศอลิหูน)ได้รู้ถึงเกียรติของหน้าที่นี้ พวกเขาย่อมมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติมัน พวกเขาไม่เพียงแค่เดินเข้าหามันเท่านั้น แต่จะรีบเร่งเข้าไปรับผิดชอบในหน้าที่นี้ด้วยความจริงจัง อัลลอฮฺตรัสว่า

﴿وَجَآءَ مِنۡ أَقۡصَا ٱلۡمَدِينَةِ رَجُلٞ يَسۡعَىٰ قَالَ يَٰقَوۡمِ ٱتَّبِعُواْ ٱلۡمُرۡسَلِينَ ٢٠﴾ (يس : 20)

ความว่า “และมีชายคนหนึ่งจากสุดหัวเมืองได้มาอย่างรีบเร่ง เขากล่าวว่า โอ้ หมู่ชนทั้งหลายของฉัน พวกท่านจงเชื่อฟังปฏิบัติตามบรรดาศาสนทูตเถิด” (ยาสีน 20)

 

รายงานจาก สะฮฺล์ บิน สะอฺด์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวแก่อะลีย์ เมื่อตอนที่ท่านส่งเขาไปทำสงครามกับยิวที่ค็อยบัรฺว่า

«انْفُذْ عَلَى رِسْلِكَ حَتَّى تَنْزِلَ بِسَاحَتِهِمْ، ثُمَّ ادْعُهُمْ إِلَى الإِسْلاَمِ، وَأَخْبِرْهُمْ بِمَا يَجِبُ عَلَيْهِمْ مِنْ حَقِّ اللهِ فِيهِ، فَوَاللهِ لأَنْ يَهْدِىَ اللهُ بِكَ رَجُلاً وَاحِدًا خَيْرٌ لَكَ مِنْ أَنْ يَكُونَ لَكَ حُمْرُ النَّعَمِ» (صحيح مسلم 4/1872 رقم 2406)

ความว่า  “จงเดินทัพไปอย่างช้าๆ จนกระทั่งเจ้าได้เข้าไปถึงพื้นที่ของพวกเขา แล้วจงเชิญชวนพวกเขาสู่อิสลาม จงแจ้งพวกเขาถึงสิทธิของอัลลอฮฺที่เป็นภาระเหนือพวกเขาในศาสนาอิสลาม เพราะว่า - ขอสาบานด้วยอัลลอฮฺ -แท้จริงแล้ว การที่อัลลอฮฺได้ชี้ทางคนหนึ่งคนอันเนื่องเพราะเจ้าเป็นสาเหตุนั้น ย่อมดีกว่าสำหรับเจ้า มากกว่าการที่เจ้าได้รับอูฐแดงเสียอีก” (มุสลิม หมายเลข 2406)

 

จากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

«مَنْ دَعَا إِلَى هُدًى، كَانَ لَهُ مِنَ الأَجْرِ مِثْلُ أُجُورِ مَنْ تَبِعَهُ، لاَ يَنْقُصُ ذَلِكَ مِنْ أُجُورِهِمْ شَيْئًا» (صحيح مسلم 4/2060 رقم 2674)

ความว่า “ผู้ใดที่เชิญชวนสู่ทางนำ เขาก็จะได้รับผลบุญเหมือนกับผลบุญของบรรดาคนที่ยอมรับทางนำ ซึ่งผลบุญที่ว่านั้นจะไม่ถูกลดจากพวกเขาเลยแม้แต่น้อย(กล่าวคือ มิใช่เป็นการแบ่งเอาผลบุญจากผู้ที่ยอมรับทางนำไปมอบให้กับผู้ที่ทำหน้าที่เชิญชวน แต่เป็นผลบุญอื่นที่อัลลอฮฺมอบให้เขาต่างหาก)” (มุสลิม หมายเลข 2674)

 

พึงสังเกตเถิดพี่น้องของฉัน ว่าความประเสริฐเหล่านี้ยิ่งใหญ่เพียงใด เพราะผู้ที่ดะอฺวะฮฺเชิญชวนสู่อัลลอฮฺนั้น ผลบุญจากการที่มีคนรับทางนำเพราะเขาจะยังคงไหลเวียนมาถึงเขาอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าเขาจะนอนอยู่บนฟูก หรือง่วนอยู่กับภารกิจส่วนตัว หรือแม้กระทั่งเมื่อเขาเสียชีวิตไปแล้วก็ตาม มันจะไม่มีวันขาดสายจนกว่าจะถึงวันกิยามะฮฺ

จากที่ได้กล่าวมา ข้าพเจ้าจึงใคร่ที่จะเตือนใจตัวเองและพี่น้องทั้งหลายของฉัน ด้วยคำสั่งเสียบางประการ ที่ฉันหวังว่ามันจะเป็นเครื่องหมายที่เราสามารถใช้เป็นเครื่องมือนำทางในการทำหน้าที่ดะอฺวะฮฺบนหนทางของอัลลอฮฺต่อไป

ประการที่หนึ่ง ฉันขอสั่งเสียดาอีย์ ผู้ทำหน้าที่เชิญชวนสู่อัลลอฮฺให้มีความอิคลาศบริสุทธิ์ใจในการดะอฺวะฮฺ ซึ่งอัลลอฮฺได้ชี้แนะในเรื่องนี้ว่า

﴿قُلۡ هَٰذِهِۦ سَبِيلِيٓ أَدۡعُوٓاْ إِلَى ٱللَّهِۚ عَلَىٰ بَصِيرَةٍ﴾ (يوسف : 108)

ความว่า “จงกล่าวเถิดมุฮัมมัด นี่คือแนวทางของฉัน ฉันเรียกร้องไปสู่อัลลอฮฺอย่างประจักษ์แจ้ง” (ยูซุฟ 108)

 

ท่านเชคมุหัมมัด บิน อับดุลวะฮาบ ได้กล่าวว่า ในโองการนี้มีสาระอยู่หลายประเด็น ประการหนึ่งก็คือการเน้นย้ำถึงความอิคลาศบริสุทธิ์ใจ เพราะมีหลายคนที่เมื่อปฏิบัติภารกิจดะอฺวะฮฺ เขากลับเรียกร้องเพื่อตัวเอง (ดู กิตาบ อัต-เตาหีด หน้า 16)

อิมาม อัช-ชาฟิอีย์ เคยกล่าวว่า ฉันชอบมากถ้าหากคนอื่นจะรับเอาความรู้ต่างๆ เหล่านี้ไป(จากฉัน) แล้วพวกเขาก็ไม่ต้องเอาอะไรมาพาดพิงว่ารับมาจากฉัน

นบีมูซา อะลัยฮิสสลาม เมื่อตอนที่อัลลอฮฺทรงมีบัญชาให้ท่านไปดะอฺวะฮฺฟิรฺเอาน์ ท่านก็ได้ขอดุอาอ์จากอัลลอฮฺว่า ให้ทรงประทานความสามารถในการสื่อสารชี้แจงสิ่งที่ท่านอยากจะพูดแก่ฟิรฺเอาน์ให้ดีที่สุด ท่านไม่ได้ขอจากพระองค์ว่าให้คนอื่นชมว่าท่านเป็นนักเทศน์ หรือผู้ฉะฉานแต่ประการใด อัลลอฮฺตรัสถึงคำขอพรของท่านว่า

﴿وَٱحۡلُلۡ عُقۡدَةٗ مِّن لِّسَانِي ٢٧﴾ (طه : 27)

ความว่า “และขอพระองค์ทรงแก้ปมออกจากลิ้นของฉัน(หมายถึงขอให้ฉันพูดได้อย่างคล่องแคล่ว)” (ฏอฮา 27)

 

ประการที่สอง  ผู้เป็นดาอีย์จำเป็นต้องเพิ่มความรู้ศาสนาให้กับตัวเอง เช่นที่อัลลอฮฺตรัสว่า

﴿وَقُل رَّبِّ زِدۡنِي عِلۡمٗا ١١٤﴾ ( طه : 114)

ความว่า “จงกล่าวเถิดว่า โอ้ พระผู้อภิบาลของข้า ได้โปรดเพิ่มพูนความรู้แก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด” (ฏอฮา 114)

 

เพราะการมีความรู้ศาสนาจะทำให้ดะอฺวะฮฺของเขามีความใกล้เคียงกับดะอฺวะฮฺของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม มากยิ่งขึ้น และการดะอฺวะฮฺของดาอีย์ที่มีลักษณะดังกล่าวย่อมต้องมีมูลเหตุแห่งการตอบรับดะอฺวะฮฺของเขามากกว่า

อิบนุล ก็อยยิม เราะหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า “ในเมื่อการดะอฺวะฮฺนั้นเป็นสถานะที่ทรงเกียรติที่สุดของบ่าว เป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดและประเสริฐที่สุด ดังนั้น มันก็จะไม่บรรลุหรือเกิดขึ้นได้เว้นแต่เขาต้องมีความรู้ในสิ่งที่ตนใช้เพื่อดะอฺวะฮฺเชิญชวนผู้อื่นและรู้ว่าจะเชิญชวนไปสู่สิ่งใด นอกเหนือไปกว่านั้น จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการที่จะให้ดะอฺวะฮฺสัมฤทธิ์ผลอย่างสมบูรณ์นั้น ที่จะต้องมีความรู้ให้มากที่สุดเท่าที่สามารถจะขวนขวายมาได้ ในเรื่องดังกล่าวนี้ แค่ความประเสริฐของความรู้ก็สูงส่งเพียงพออยู่แล้ว ด้วยการที่เจ้าของความรู้นั้นก็คือผู้ที่จะได้รับสถานะที่ว่านี้ และอัลลอฮฺนั้นจะทรงประทานความประเสริฐของพระองค์ให้แก่ผู้ใดก็ตามที่ทรงประสงค์” (อัต-ตัฟซีร อัล-ก็อยยิม หน้า 319)

 

ประการที่สาม ในพระดำรัสของอัลลอฮฺสองโองการที่ว่า

﴿ٱتَّبِعُواْ مَن لَّا يَسۡ‍َٔلُكُمۡ أَجۡرٗا وَهُم مُّهۡتَدُونَ ٢١﴾ (يس : 21)

ความว่า “พวกท่านจงตามบรรดา(ศาสนทูต)ผู้ที่ไม่ได้เรียกร้องผลตอบแทนจากพวกท่านเลย ในขณะเดียวกัน พวกเขาก็เป็นคนที่ได้รับทางนำด้วย” (ยาสีน 21)

 

﴿قُلۡ مَآ أَسۡ‍َٔلُكُمۡ عَلَيۡهِ مِنۡ أَجۡرٖ وَمَآ أَنَا۠ مِنَ ٱلۡمُتَكَلِّفِينَ ٨٦﴾ (ص : 86)

ความว่า “จงกล่าวเถิด(มุหัมมัด)ว่า ฉันมิได้ขอรางวัลค่าตอบแทนจากพวกท่านในการทำหน้าที่นี้แต่อย่างใด และฉันก็มิได้อยู่ในหมู่ผู้เสแสร้งอวดอ้าง” (ศอด 86)

 

โองการทั้งสองดังกล่าวนี้ได้ชี้ว่า ผู้ใดก็ตามมีปัจจัยสองประการที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ การดะอฺวะฮฺของเขาก็จะเป็นที่ตอบรับอย่างแน่นอน ปัจจัยที่ว่าก็คือ

หนึ่ง การไม่รับผลตอบแทนใดๆ จากการดะอฺวะฮฺของเขา นอกจากผลตอบแทนที่เขาหวังจากอัลลอฮฺเท่านั้น

สอง การที่เขาจะต้องเป็นผู้ที่ดำรงตนอยู่ในทางนำ ซึ่งมันครอบคลุมทางนำในการทำงานดะอฺวะฮฺของเขา และทางนำในตัวเขาเองด้วย ประการที่ว่านี้สอดแทรกการเน้นเตือนให้นักดาอีย์สำนึกอยู่เสมอว่า นอกจากที่เขาจะต้องดะอฺวะฮฺผู้อื่นด้วยคำพูดแล้ว เขายังต้องดะอฺวะฮฺพวกเขาด้วยการกระทำด้วยเช่นกัน

 

ประการที่สี่ ต้องอดทนในหนทางการดะอฺวะฮฺสู่อัลลอฮฺ เช่นที่พระองค์ตรัสว่า

﴿وَٱلۡعَصۡرِ ١ إِنَّ ٱلۡإِنسَٰنَ لَفِي خُسۡرٍ ٢ إِلَّا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ وَعَمِلُواْ ٱلصَّٰلِحَٰتِ وَتَوَاصَوۡاْ بِٱلۡحَقِّ وَتَوَاصَوۡاْ بِٱلصَّبۡرِ ٣﴾ (سورة العصر)

ความว่า “ขอสาบานด้วยกาลเวลา แท้จริง มนุษย์นั้นอยู่ในการขาดทุน นอกจากบรรดาผู้ศรัทธาและกระทำความดีทั้งหลาย และตักเตือนกันและกันในสิ่งที่เป็นสัจธรรม และตักเตือนกันและกันให้มีความอดทน” (สูเราะฮฺ อัล-อัศรฺ)

 

﴿فَٱصۡبِرۡ كَمَا صَبَرَ أُوْلُواْ ٱلۡعَزۡمِ مِنَ ٱلرُّسُلِ وَلَا تَسۡتَعۡجِل لَّهُمۡۚ﴾ (الأحقاف : 35)

ความว่า “และจงอดทน เหมือนกับที่เหล่า อุลุล อัซมิ (ผู้เข้มแข็ง) จากบรรดาศาสนทูตทั้งหลายได้อดทนมาก่อนแล้ว และอย่ารีบเร่งขอให้(มีการลงโทษ)แก่พวกเขา” (อัล-อะหฺกอฟ 35)

 

ในจำนวนนัยต่างๆ ของการอดทนก็คือ ต้องไม่นึกว่าเส้นทางแห่งความสำเร็จช่างยาวไกลเหลือเกิน ต้องไม่รีบเร่งอยากที่จะเห็นผลลัพธ์ทันตา มีรายงานจาก ค็อบบาบ บิน อัล-อะร็อต เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า พวกเราได้ร้องเรียนต่อท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ในขณะที่ท่านกำลังนอนหนุนผ้าบุรดะฮฺของท่านใต้ร่มเงาของกะอฺบะฮฺ พวกเรากล่าวกับท่านว่า “ท่านจะไม่ขอความช่วยเหลือให้เรากระนั้นหรือ ท่านจะไม่ขอดุอาอ์ให้เรากระนั้นหรือ ?” ท่านตอบพวกเราว่า

«قَدْ كَانَ مَنْ قَبْلَكُمْ يُؤْخَذُ الرَّجُلُ فَيُحْفَرُ لَهُ فِي الْأَرْضِ فَيُجْعَلُ فِيهَا، فَيُجَاءُ بِالْمِنْشَارِ فَيُوضَعُ عَلَى رَأْسِهِ فَيُجْعَلُ نِصْفَيْنِ، وَيُمْشَطُ بِأَمْشَاطِ الْحَدِيدِ مَا دُونَ لَحْمِهِ وَعَظْمِهِ، فَمَا يَصُدُّهُ ذَلِكَ عَنْ دِينِهِ، وَاللهِ! لَيَتِمَّنَّ هَذَا الْأَمْرُ حَتَّى يَسِيرَ الرَّاكِبُ مِنْ صَنْعَاءَ إِلَى حَضْرَمَوْتَ لَا يَخَافُ إِلَّا اللهَ وَالذِّئْبَ عَلَى غَنَمِهِ، وَلَكِنَّكُمْ تَسْتَعْجِلُونَ» (صحيح البخاري 4/285 برقم 6943)

ความว่า “เคยมีชนก่อนหน้าพวกท่านที่ถูกจับ แล้วก็ถูกวางไว้ในหลุมที่ขุดขึ้นมา จากนั้นก็โดนเลื่อยหัวจนแยกออกเป็นสองส่วน และยังถูกหวีด้วยหวีเหล็กจนกระทั่งเหลือแต่เนื้อและกระดูก แต่สิ่งเหล่านั้นก็ไม่สามารถจะหันเหเขาให้ออกจากศาสนาได้แม้แต่น้อย ขอสาบานด้วยอัลลอฮฺ พระองค์จะทรงทำให้ศาสนานี้สมบูรณ์ จนกระทั่งว่าผู้เดินทางจากเมือง ศ็อนอาอ์ ไปยัง หัฎเราะเมาตฺ จะมีความปลอดภัย ไม่มีความหวาดกลัวต่อสิ่งใดเลยนอกจากอัลลอฮฺ และระแวดระวังแค่หมาป่าที่จะมากินแกะของเขาเท่านั้น แต่พวกท่านนั้นรีบเร่ง(ไม่อดทนที่จะรอดูความสำเร็จนี้)” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลข 6943)

 

ประการที่ห้า จำเป็นที่นักดาอีย์และคนอื่นๆ ทุกคนจะต้องรู้ว่า การดะอฺวะฮฺในอิสลามเป็นหน้าที่ระดับสากล มันจำเป็นต้องถูกเผยแผ่ และแพร่กระจายไปยังมวลมนุษย์ทั้งหมด ทั้งด้านตะวันออกและตะวันตก เพื่อเป็นการสร้างประจักษ์หลักฐานที่จะอ้างแก่บ่าวทั้งปวงได้ และเพื่อให้ดะอฺวะฮฺของท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้เข้าไปถึงยังผู้คนทุกคนที่เป็นเป้าหมายในการแต่งตั้งท่านเป็นศาสนทูต เช่นที่อัลลอฮฺตรัสว่า

﴿وَمَآ أَرۡسَلۡنَٰكَ إِلَّا كَآفَّةٗ لِّلنَّاسِ بَشِيرٗا وَنَذِيرٗا وَلَٰكِنَّ أَكۡثَرَ ٱلنَّاسِ لَا يَعۡلَمُونَ ٢٨﴾ (سبأ : 28)

ความว่า “และเรามิได้ส่งเจ้ามาเพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่อมนุษย์ทั้งหลายทั้งมวล ในฐานะเป็นผู้แจ้งข่าวดีและเป็นผู้ตักเตือน แต่มนุษย์ส่วนใหญ่นั้นไม่รู้” (สะบะอ์ 28)

 

แท้จริงแล้ว บรรดานักดาอีย์ผู้ฟื้นฟูศาสนาทั้งหลายที่เป็นผู้สืบทอดเหล่าศาสนทูตต่างก็รู้ถึงข้อเท็จจริงนี้ดี พวกเขาจึงลุกขึ้นมาทำหน้าที่ดังกล่าวและชี้แจงมันแก่ผู้คน เป็นการสนองต่อพระดำรัสของอัลลอฮฺที่ว่า

﴿وَلۡتَكُن مِّنكُمۡ أُمَّةٞ يَدۡعُونَ إِلَى ٱلۡخَيۡرِ وَيَأۡمُرُونَ بِٱلۡمَعۡرُوفِ وَيَنۡهَوۡنَ عَنِ ٱلۡمُنكَرِۚ وَأُوْلَٰٓئِكَ هُمُ ٱلۡمُفۡلِحُونَ ١٠٤﴾ (آل عمران : 104)

ความว่า “และจงให้มีขึ้นจากพวกเจ้า ซึ่งคณะหนึ่งที่จะเชิญชวนไปสู่ความดีและใช้ให้กระทำสิ่งที่ชอบ และห้ามมิให้กระทำสิ่งที่มิชอบและชนเหล่านี้แหละพวกเขาคือผู้ได้รับความสำเร็จ” (อาล อิมรอน 104)

 

ท่านเชค บิน บาซ เราะหิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า สิ่งที่วาญิบเหนือคนที่มีความสามารถ ไม่ว่าจะเป็นอุละมาอ์ ผู้นำบรรดามุสลิม และนักดาอีย์ทั้งหลาย ที่จะต้องทำหน้าที่ดะอฺวะฮฺสู่อัลลอฮฺ เพื่อให้การเผยแผ่เข้าถึงยังมนุษยชาติทั้งมวลทั่วโลกทั่วแผ่นดิน และนี่ก็คือ อัล-บะลาฆฺ หรือการประกาศชี้แจง ที่อัลลอฮฺได้มีคำสั่งไว้แก่ศาสนทูตของพระองค์ว่า

﴿يَٰٓأَيُّهَا ٱلرَّسُولُ بَلِّغۡ مَآ أُنزِلَ إِلَيۡكَ مِن رَّبِّكَۖ ﴾ (المائدة : 67)

ความว่า “โอ้ ผู้เป็นศาสนทูตเอ๋ย ! จงประกาศสิ่งที่ถูกประทานลงมาแก่เจ้าจากพระเจ้าของเจ้า” (อัล-มาอิดะฮฺ 67)

 

จากที่กล่าวมาจะเห็นว่า ศาสนทูตมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม นั้น มีหน้าที่เผยแพร่ชี้แจงให้ทั่วถึง เช่นเดียวกันกับบรรดาศาสนทูตคนอื่นๆ และผู้ติดตามศาสนทูตก็ต้องทำหน้าที่นี้ด้วยเช่นกัน

จากอับดุลลอฮฺ บิน อุมัรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา เล่าว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

«بَلِّغُوْا عَنِّيْ وَلَوْ آيَةً» (قطعة من حديث البخاري 2/493 برقم 3461)

ความว่า “จงเอาจากฉันไปเผยแผ่ แม้เป็นเพียงแค่หนึ่งอายะฮฺก็ตามที” (อัล-บุคอรีย์ หมายเลข 3461)

 

คนที่รู้และเห็นได้ ย่อมเป็นสิ่งที่ไม่ปกปิดอีกเลยสำหรับเขาว่า โลกอิสลามทุกวันนี้ หรือแม้กระทั่งโลกทั้งหมดด้วยซ้ำไป มีความต้องการอย่างยิ่งยวดต่อการดะฮฺวะฮฺของอิสลามที่ถูกต้อง ที่สามารถอธิบายข้อเท็จจริงของอิสลาม แจกแจงบทบัญญัติและความดีงามต่างๆ ของมันได้

ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นที่ชัดเจนแก่บรรดาผู้แสวงหาความรู้ทั้งหลายว่า การดะอฺวะฮฺนั้นเป็นหน้าที่ที่สำคัญยิ่งที่สุด และประชาชาติทุกที่ทุกยุคสมัยล้วนมีความจำเป็นต่อการดะอฺวะฮฺ ดังนั้น สิ่งที่วาญิบสำหรับผู้รู้ก็คือต้องทำหน้าที่เผยแผ่ดะอฺวะฮฺ ไม่ว่าพวกเขาจะอยู่ที่ไหนก็ตาม และต้องอดทนบนเส้นทางแห่งนี้ และต้องให้การดะอฺวะฮฺของพวกเขามีต้นตอมาจากคัมภีร์ของอัลลอฮฺและซุนนะฮฺที่ถูกต้องของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม บนแนวทางของท่านเราะสูลและบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่าน รวมทั้งวิถีทางของเหล่า อัส-สะลัฟ อัศ-ศอลิหฺ (ดู มัจญ์มูอฺ ฟะตาวา วะ มะกอลาต อัช-ชัยคฺ อับดิลอะซีซ บิน บาซ 1/248, 333 อ้างจาก นัฎเราะตุน นะอีม 5/1959-1960)  

 

คุณค่าของการดะอฺวะฮฺ เผยแผ่เชิญชวนสู่อัลลอฮฺ

มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิแห่งเอกองค์อัลลอฮฺ ขอพรและศานติจงประสบแด่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ข้าขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดผู้คู่ควรได้รับการภักดีอย่างแท้จริงนอกจากอัลลอฮฺ โดยไม่มีภาคีสำหรับพระองค์ และขอปฏิญาณว่ามุหัมมัดนั้นเป็นบ่าวและศาสนทูตของพระองค์

อนึ่ง อัลลอฮฺตะอาลาได้กล่าวถึงบรรดาศาสนทูตจำนวนหนึ่งในสูเราะฮฺ อัน-นิสาอ์ หลังจากนั้นพระองค์ก็ได้ตรัสถึงพวกเขาว่า

﴿رُّسُلٗا مُّبَشِّرِينَ وَمُنذِرِينَ لِئَلَّا يَكُونَ لِلنَّاسِ عَلَى ٱللَّهِ حُجَّةُۢ بَعۡدَ ٱلرُّسُلِۚ وَكَانَ ٱللَّهُ عَزِيزًا حَكِيمٗا ١٦٥﴾ (النساء : 165)

ความว่า “คือบรรดาศาสนทูตที่ถูกแต่งตั้งมาในฐานะผู้แจ้งข่าวดีและผู้ตักเตือน เพื่อว่ามนุษย์จะได้ไม่มีหลักฐานใดๆ อ้างแก้ตัวแก่อัลลอฮฺได้ หลังจากมีบรรดาศาสนทูตเหล่านั้นมาแก่พวกเขาแล้ว และอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงเดชานุภาพ ผู้ทรงปรีชาญาณ” (อัน-นิสาอ์ 165)

 

ในอายะฮฺนี้ อัลลอฮฺชี้แจงถึงหน้าที่ของบรรดาศาสนทูต นั่นก็คือ การดะอฺวะฮฺเผยแผ่ เชิญชวนมนุษย์ทั้งหลายสู่อัลลอฮฺ ด้วยการแจ้งให้ทราบถึงความดีงามที่ต้องทำ และตักเตือนให้เห็นความชั่วที่ต้องละเลิก พระองค์ได้ตรัสต่อนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ของเราว่า

﴿يَٰٓأَيُّهَا ٱلنَّبِيُّ إِنَّآ أَرۡسَلۡنَٰكَ شَٰهِدٗا وَمُبَشِّرٗا وَنَذِيرٗا ٤٥ وَدَاعِيًا إِلَى ٱللَّهِ بِإِذۡنِهِۦ وَسِرَاجٗا مُّنِيرٗا ٤٦﴾ (الأحزاب : 45-46)

ความว่า “โอ้ นะบีเอ๋ย! แท้จริง เราได้ส่งเจ้ามาเพื่อให้เป็นพยาน เป็นผู้แจ้งข่าวดี และเป็นผู้ตักเตือน อีกทั้งให้เป็นผู้เรียกร้องเชิญชวนไปสู่อัลลอฮฺ ตามพระบัญชาของพระองค์ และเป็นดวงประทีปอันแจ่มจรัส” (อัล-อะหฺซาบ 45-46)

 

แล้วพระองค์ก็สั่งท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ให้ชี้แจงแก่ประชาชาติของท่านว่า สิ่งนี้เป็นหน้าที่ของท่าน และเป็นหน้าที่ประชาชาติของท่านด้วย

﴿قُلۡ هَٰذِهِۦ سَبِيلِيٓ أَدۡعُوٓاْ إِلَى ٱللَّهِۚ عَلَىٰ بَصِيرَةٍ أَنَا۠ وَمَنِ ٱتَّبَعَنِيۖ وَسُبۡحَٰنَ ٱللَّهِ وَمَآ أَنَا۠ مِنَ ٱلۡمُشۡرِكِينَ ١٠٨﴾ (يوسف : 108)

ความว่า “จงกล่าวเถิดมุฮัมมัด นี่คือแนวทางของฉัน ฉันเรียกร้องไปสู่อัลลอฮฺอย่างประจักษ์แจ้ง ทั้งตัวฉันและผู้ปฏิบัติตามฉัน(ล้วนเรียกร้องไปสู่อัลลอฮฺทั้งสิ้น) และมหาบริสุทธิ์แห่งอัลลอฮฺ ฉันมิได้อยู่ในหมู่ผู้ตั้งภาคี” (ยูซุฟ 108)

 

ดังนั้น บรรดาศาสนทูตและผู้ติดตาม ถูกสั่งให้ทำหน้าที่ในการเชิญชวนดะอฺวะฮฺมนุษย์ทั้งหลายสู่การมอบความเป็นเอกภาพแก่อัลลอฮฺ(อัต-เตาหีด)และเชื่อฟังพระองค์ และต้องเตือนสำทับมนุษย์ให้ห่างไกลจากการตั้งภาคีและทรยศฝ่าฝืนอัลลอฮฺ หน้าที่นี้คือหน้าที่อันทรงเกียรติ เป็นสถานะอันสูงส่งสำหรับคนที่อัลลอฮฺได้ประทานให้เขาสามารถปฏิบัติและดำรงมันไว้ได้อย่างถูกต้องตามแนวทางที่สร้างความโปรดปรานแก่พระองค์

อัลลอฮฺตรัสว่า

﴿وَمَنۡ أَحۡسَنُ قَوۡلٗا مِّمَّن دَعَآ إِلَى ٱللَّهِ وَعَمِلَ صَٰلِحٗا وَقَالَ إِنَّنِي مِنَ ٱلۡمُسۡلِمِينَ ٣٣﴾ (فصلت : 33)

ความว่า “และผู้ใดเล่าจะมีคำพูดที่ดีเลิศยิ่งไปกว่าผู้เชิญชวนไปสู่อัลลอฮฺ พร้อมกับปฏิบัติอะมัลที่ดี และกล่าวว่า แท้จริงฉันเป็นคนหนึ่งในบรรดามุสลิมผู้นอบน้อม” (ฟุศศิลัต 33)

 

เมื่อบรรดาผู้มีคุณธรรม(อัศ-ศอลิหูน)ได้รู้ถึงเกียรติของหน้าที่นี้ พวกเขาย่อมมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติมัน พวกเขาไม่เพียงแค่เดินเข้าหามันเท่านั้น แต่จะรีบเร่งเข้าไปรับผิดชอบในหน้าที่นี้ด้วยความจริงจัง อัลลอฮฺตรัสว่า

﴿وَجَآءَ مِنۡ أَقۡصَا ٱلۡمَدِينَةِ رَجُلٞ يَسۡعَىٰ قَالَ يَٰقَوۡمِ ٱتَّبِعُواْ ٱلۡمُرۡسَلِينَ ٢٠﴾ (يس : 20)

ความว่า “และมีชายคนหนึ่งจากสุดหัวเมืองได้มาอย่างรีบเร่ง เขากล่าวว่า โอ้ หมู่ชนทั้งหลายของฉัน พวกท่านจงเชื่อฟังปฏิบัติตามบรรดาศาสนทูตเถิด” (ยาสีน 20)

 

รายงานจาก สะฮฺล์ บิน สะอฺด์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวแก่อะลีย์ เมื่อตอนที่ท่านส่งเขาไปทำสงครามกับยิวที่ค็อยบัรฺว่า

«انْفُذْ عَلَى رِسْلِكَ حَتَّى تَنْزِلَ بِسَاحَتِهِمْ، ثُمَّ ادْعُهُمْ إِلَى الإِسْلاَمِ، وَأَخْبِرْهُمْ بِمَا يَجِبُ عَلَيْهِمْ مِنْ حَقِّ اللهِ فِيهِ، فَوَاللهِ لأَنْ يَهْدِىَ اللهُ بِكَ رَجُلاً وَاحِدًا خَيْرٌ لَكَ مِنْ أَنْ يَكُونَ لَكَ حُمْرُ النَّعَمِ» (صحيح مسلم 4/1872 رقم 2406)

ความว่า  “จงเดินทัพไปอย่างช้าๆ จนกระทั่งเจ้าได้เข้าไปถึงพื้นที่ของพวกเขา แล้วจงเชิญชวนพวกเขาสู่อิสลาม จงแจ้งพวกเขาถึงสิทธิของอัลลอฮฺที่เป็นภาระเหนือพวกเขาในศาสนาอิสลาม เพราะว่า - ขอสาบานด้วยอัลลอฮฺ -แท้จริงแล้ว การที่อัลลอฮฺได้ชี้ทางคนหนึ่งคนอันเนื่องเพราะเจ้าเป็นสาเหตุนั้น ย่อมดีกว่าสำหรับเจ้า มากกว่าการที่เจ้าได้รับอูฐแดงเสียอีก” (มุสลิม หมายเลข 2406)

 

จากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

«مَنْ دَعَا إِلَى هُدًى، كَانَ لَهُ مِنَ الأَجْرِ مِثْلُ أُجُورِ مَنْ تَبِعَهُ، لاَ يَنْقُصُ ذَلِكَ مِنْ أُجُورِهِمْ شَيْئًا» (صحيح مسلم 4/2060 رقم 2674)

ความว่า “ผู้ใดที่เชิญชวนสู่ทางนำ เขาก็จะได้รับผลบุญเหมือนกับผลบุญของบรรดาคนที่ยอมรับทางนำ ซึ่งผลบุญที่ว่านั้นจะไม่ถูกลดจากพวกเขาเลยแม้แต่น้อย(กล่าวคือ มิใช่เป็นการแบ่งเอาผลบุญจากผู้ที่ยอมรับทางนำไปมอบให้กับผู้ที่ทำหน้าที่เชิญชวน แต่เป็นผลบุญอื่นที่อัลลอฮฺมอบให้เขาต่างหาก)” (มุสลิม หมายเลข 2674)

 

พึงสังเกตเถิดพี่น้องของฉัน ว่าความประเสริฐเหล่านี้ยิ่งใหญ่เพียงใด เพราะผู้ที่ดะอฺวะฮฺเชิญชวนสู่อัลลอฮฺนั้น ผลบุญจากการที่มีคนรับทางนำเพราะเขาจะยังคงไหลเวียนมาถึงเขาอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าเขาจะนอนอยู่บนฟูก หรือง่วนอยู่กับภารกิจส่วนตัว หรือแม้กระทั่งเมื่อเขาเสียชีวิตไปแล้วก็ตาม มันจะไม่มีวันขาดสายจนกว่าจะถึงวันกิยามะฮฺ

จากที่ได้กล่าวมา ข้าพเจ้าจึงใคร่ที่จะเตือนใจตัวเองและพี่น้องทั้งหลายของฉัน ด้วยคำสั่งเสียบางประการ ที่ฉันหวังว่ามันจะเป็นเครื่องหมายที่เราสามารถใช้เป็นเครื่องมือนำทางในการทำหน้าที่ดะอฺวะฮฺบนหนทางของอัลลอฮฺต่อไป

ประการที่หนึ่ง ฉันขอสั่งเสียดาอีย์ ผู้ทำหน้าที่เชิญชวนสู่อัลลอฮฺให้มีความอิคลาศบริสุทธิ์ใจในการดะอฺวะฮฺ ซึ่งอัลลอฮฺได้ชี้แนะในเรื่องนี้ว่า

﴿قُلۡ هَٰذِهِۦ سَبِيلِيٓ أَدۡعُوٓاْ إِلَى ٱللَّهِۚ عَلَىٰ بَصِيرَةٍ﴾ (يوسف : 108)

ความว่า “จงกล่าวเถิดมุฮัมมัด นี่คือแนวทางของฉัน ฉันเรียกร้องไปสู่อัลลอฮฺอย่างประจักษ์แจ้ง” (ยูซุฟ 108)

 

ท่านเชคมุหัมมัด บิน อับดุลวะฮาบ ได้กล่าวว่า ในโองการนี้มีสาระอยู่หลายประเด็น ประการหนึ่งก็คือการเน้นย้ำถึงความอิคลาศบริสุทธิ์ใจ เพราะมีหลายคนที่เมื่อปฏิบัติภารกิจดะอฺวะฮฺ เขากลับเรียกร้องเพื่อตัวเอง (ดู กิตาบ อัต-เตาหีด หน้า 16)

อิมาม อัช-ชาฟิอีย์ เคยกล่าวว่า ฉันชอบมากถ้าหากคนอื่นจะรับเอาความรู้ต่างๆ เหล่านี้ไป(จากฉัน) แล้วพวกเขาก็ไม่ต้องเอาอะไรมาพาดพิงว่ารับมาจากฉัน

นบีมูซา อะลัยฮิสสลาม เมื่อตอนที่อัลลอฮฺทรงมีบัญชาให้ท่านไปดะอฺวะฮฺฟิรฺเอาน์ ท่านก็ได้ขอดุอาอ์จากอัลลอฮฺว่า ให้ทรงประทานความสามารถในการสื่อสารชี้แจงสิ่งที่ท่านอยากจะพูดแก่ฟิรฺเอาน์ให้ดีที่สุด ท่านไม่ได้ขอจากพระองค์ว่าให้คนอื่นชมว่าท่านเป็นนักเทศน์ หรือผู้ฉะฉานแต่ประการใด อัลลอฮฺตรัสถึงคำขอพรของท่านว่า

﴿وَٱحۡلُلۡ عُقۡدَةٗ مِّن لِّسَانِي ٢٧﴾ (طه : 27)

ความว่า “และขอพระองค์ทรงแก้ปมออกจากลิ้นของฉัน(หมายถึงขอให้ฉันพูดได้อย่างคล่องแคล่ว)” (ฏอฮา 27)

 

ประการที่สอง  ผู้เป็นดาอีย์จำเป็นต้องเพิ่มความรู้ศาสนาให้กับตัวเอง เช่นที่อัลลอฮฺตรัสว่า

﴿وَقُل رَّبِّ زِدۡنِي عِلۡمٗا ١١٤﴾ ( طه : 114)

ความว่า “จงกล่าวเถิดว่า โอ้ พระผู้อภิบาลของข้า ได้โปรดเพิ่มพูนความรู้แก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด” (ฏอฮา 114)

 

เพราะการมีความรู้ศาสนาจะทำให้ดะอฺวะฮฺของเขามีความใกล้เคียงกับดะอฺวะฮฺของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม มากยิ่งขึ้น และการดะอฺวะฮฺของดาอีย์ที่มีลักษณะดังกล่าวย่อมต้องมีมูลเหตุแห่งการตอบรับดะอฺวะฮฺของเขามากกว่า

อิบนุล ก็อยยิม เราะหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า “ในเมื่อการดะอฺวะฮฺนั้นเป็นสถานะที่ทรงเกียรติที่สุดของบ่าว เป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดและประเสริฐที่สุด ดังนั้น มันก็จะไม่บรรลุหรือเกิดขึ้นได้เว้นแต่เขาต้องมีความรู้ในสิ่งที่ตนใช้เพื่อดะอฺวะฮฺเชิญชวนผู้อื่นและรู้ว่าจะเชิญชวนไปสู่สิ่งใด นอกเหนือไปกว่านั้น จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการที่จะให้ดะอฺวะฮฺสัมฤทธิ์ผลอย่างสมบูรณ์นั้น ที่จะต้องมีความรู้ให้มากที่สุดเท่าที่สามารถจะขวนขวายมาได้ ในเรื่องดังกล่าวนี้ แค่ความประเสริฐของความรู้ก็สูงส่งเพียงพออยู่แล้ว ด้วยการที่เจ้าของความรู้นั้นก็คือผู้ที่จะได้รับสถานะที่ว่านี้ และอัลลอฮฺนั้นจะทรงประทานความประเสริฐของพระองค์ให้แก่ผู้ใดก็ตามที่ทรงประสงค์” (อัต-ตัฟซีร อัล-ก็อยยิม หน้า 319)

 

ประการที่สาม ในพระดำรัสของอัลลอฮฺสองโองการที่ว่า

﴿ٱتَّبِعُواْ مَن لَّا يَسۡ‍َٔلُكُمۡ أَجۡرٗا وَهُم مُّهۡتَدُونَ ٢١﴾ (يس : 21)

ความว่า “พวกท่านจงตามบรรดา(ศาสนทูต)ผู้ที่ไม่ได้เรียกร้องผลตอบแทนจากพวกท่านเลย ในขณะเดียวกัน พวกเขาก็เป็นคนที่ได้รับทางนำด้วย” (ยาสีน 21)

 

﴿قُلۡ مَآ أَسۡ‍َٔلُكُمۡ عَلَيۡهِ مِنۡ أَجۡرٖ وَمَآ أَنَا۠ مِنَ ٱلۡمُتَكَلِّفِينَ ٨٦﴾ (ص : 86)

ความว่า “จงกล่าวเถิด(มุหัมมัด)ว่า ฉันมิได้ขอรางวัลค่าตอบแทนจากพวกท่านในการทำหน้าที่นี้แต่อย่างใด และฉันก็มิได้อยู่ในหมู่ผู้เสแสร้งอวดอ้าง” (ศอด 86)

 

โองการทั้งสองดังกล่าวนี้ได้ชี้ว่า ผู้ใดก็ตามมีปัจจัยสองประการที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ การดะอฺวะฮฺของเขาก็จะเป็นที่ตอบรับอย่างแน่นอน ปัจจัยที่ว่าก็คือ

หนึ่ง การไม่รับผลตอบแทนใดๆ จากการดะอฺวะฮฺของเขา นอกจากผลตอบแทนที่เขาหวังจากอัลลอฮฺเท่านั้น

สอง การที่เขาจะต้องเป็นผู้ที่ดำรงตนอยู่ในทางนำ ซึ่งมันครอบคลุมทางนำในการทำงานดะอฺวะฮฺของเขา และทางนำในตัวเขาเองด้วย ประการที่ว่านี้สอดแทรกการเน้นเตือนให้นักดาอีย์สำนึกอยู่เสมอว่า นอกจากที่เขาจะต้องดะอฺวะฮฺผู้อื่นด้วยคำพูดแล้ว เขายังต้องดะอฺวะฮฺพวกเขาด้วยการกระทำด้วยเช่นกัน

 

ประการที่สี่ ต้องอดทนในหนทางการดะอฺวะฮฺสู่อัลลอฮฺ เช่นที่พระองค์ตรัสว่า

﴿وَٱلۡعَصۡرِ ١ إِنَّ ٱلۡإِنسَٰنَ لَفِي خُسۡرٍ ٢ إِلَّا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ وَعَمِلُواْ ٱلصَّٰلِحَٰتِ وَتَوَاصَوۡاْ بِٱلۡحَقِّ وَتَوَاصَوۡاْ بِٱلصَّبۡرِ ٣﴾ (سورة العصر)

ความว่า “ขอสาบานด้วยกาลเวลา แท้จริง มนุษย์นั้นอยู่ในการขาดทุน นอกจากบรรดาผู้ศรัทธาและกระทำความดีทั้งหลาย และตักเตือนกันและกันในสิ่งที่เป็นสัจธรรม และตักเตือนกันและกันให้มีความอดทน” (สูเราะฮฺ อัล-อัศรฺ)

 

﴿فَٱصۡبِرۡ كَمَا صَبَرَ أُوْلُواْ ٱلۡعَزۡمِ مِنَ ٱلرُّسُلِ وَلَا تَسۡتَعۡجِل لَّهُمۡۚ﴾ (الأحقاف : 35)

ความว่า “และจงอดทน เหมือนกับที่เหล่า อุลุล อัซมิ (ผู้เข้มแข็ง) จากบรรดาศาสนทูตทั้งหลายได้อดทนมาก่อนแล้ว และอย่ารีบเร่งขอให้(มีการลงโทษ)แก่พวกเขา” (อัล-อะหฺกอฟ 35)

 

ในจำนวนนัยต่างๆ ของการอดทนก็คือ ต้องไม่นึกว่าเส้นทางแห่งความสำเร็จช่างยาวไกลเหลือเกิน ต้องไม่รีบเร่งอยากที่จะเห็นผลลัพธ์ทันตา มีรายงานจาก ค็อบบาบ บิน อัล-อะร็อต เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า พวกเราได้ร้องเรียนต่อท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ในขณะที่ท่านกำลังนอนหนุนผ้าบุรดะฮฺของท่านใต้ร่มเงาของกะอฺบะฮฺ พวกเรากล่าวกับท่านว่า “ท่านจะไม่ขอความช่วยเหลือให้เรากระนั้นหรือ ท่านจะไม่ขอดุอาอ์ให้เรากระนั้นหรือ ?” ท่านตอบพวกเราว่า

«قَدْ كَانَ مَنْ قَبْلَكُمْ يُؤْخَذُ الرَّجُلُ فَيُحْفَرُ لَهُ فِي الْأَرْضِ فَيُجْعَلُ فِيهَا، فَيُجَاءُ بِالْمِنْشَارِ فَيُوضَعُ عَلَى رَأْسِهِ فَيُجْعَلُ نِصْفَيْنِ، وَيُمْشَطُ بِأَمْشَاطِ الْحَدِيدِ مَا دُونَ لَحْمِهِ وَعَظْمِهِ، فَمَا يَصُدُّهُ ذَلِكَ عَنْ دِينِهِ، وَاللهِ! لَيَتِمَّنَّ هَذَا الْأَمْرُ حَتَّى يَسِيرَ الرَّاكِبُ مِنْ صَنْعَاءَ إِلَى حَضْرَمَوْتَ لَا يَخَافُ إِلَّا اللهَ وَالذِّئْبَ عَلَى غَنَمِهِ، وَلَكِنَّكُمْ تَسْتَعْجِلُونَ» (صحيح البخاري 4/285 برقم 6943)

ความว่า “เคยมีชนก่อนหน้าพวกท่านที่ถูกจับ แล้วก็ถูกวางไว้ในหลุมที่ขุดขึ้นมา จากนั้นก็โดนเลื่อยหัวจนแยกออกเป็นสองส่วน และยังถูกหวีด้วยหวีเหล็กจนกระทั่งเหลือแต่เนื้อและกระดูก แต่สิ่งเหล่านั้นก็ไม่สามารถจะหันเหเขาให้ออกจากศาสนาได้แม้แต่น้อย ขอสาบานด้วยอัลลอฮฺ พระองค์จะทรงทำให้ศาสนานี้สมบูรณ์ จนกระทั่งว่าผู้เดินทางจากเมือง ศ็อนอาอ์ ไปยัง หัฎเราะเมาตฺ จะมีความปลอดภัย ไม่มีความหวาดกลัวต่อสิ่งใดเลยนอกจากอัลลอฮฺ และระแวดระวังแค่หมาป่าที่จะมากินแกะของเขาเท่านั้น แต่พวกท่านนั้นรีบเร่ง(ไม่อดทนที่จะรอดูความสำเร็จนี้)” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลข 6943)

 

ประการที่ห้า จำเป็นที่นักดาอีย์และคนอื่นๆ ทุกคนจะต้องรู้ว่า การดะอฺวะฮฺในอิสลามเป็นหน้าที่ระดับสากล มันจำเป็นต้องถูกเผยแผ่ และแพร่กระจายไปยังมวลมนุษย์ทั้งหมด ทั้งด้านตะวันออกและตะวันตก เพื่อเป็นการสร้างประจักษ์หลักฐานที่จะอ้างแก่บ่าวทั้งปวงได้ และเพื่อให้ดะอฺวะฮฺของท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้เข้าไปถึงยังผู้คนทุกคนที่เป็นเป้าหมายในการแต่งตั้งท่านเป็นศาสนทูต เช่นที่อัลลอฮฺตรัสว่า

﴿وَمَآ أَرۡسَلۡنَٰكَ إِلَّا كَآفَّةٗ لِّلنَّاسِ بَشِيرٗا وَنَذِيرٗا وَلَٰكِنَّ أَكۡثَرَ ٱلنَّاسِ لَا يَعۡلَمُونَ ٢٨﴾ (سبأ : 28)

ความว่า “และเรามิได้ส่งเจ้ามาเพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่อมนุษย์ทั้งหลายทั้งมวล ในฐานะเป็นผู้แจ้งข่าวดีและเป็นผู้ตักเตือน แต่มนุษย์ส่วนใหญ่นั้นไม่รู้” (สะบะอ์ 28)

 

แท้จริงแล้ว บรรดานักดาอีย์ผู้ฟื้นฟูศาสนาทั้งหลายที่เป็นผู้สืบทอดเหล่าศาสนทูตต่างก็รู้ถึงข้อเท็จจริงนี้ดี พวกเขาจึงลุกขึ้นมาทำหน้าที่ดังกล่าวและชี้แจงมันแก่ผู้คน เป็นการสนองต่อพระดำรัสของอัลลอฮฺที่ว่า

﴿وَلۡتَكُن مِّنكُمۡ أُمَّةٞ يَدۡعُونَ إِلَى ٱلۡخَيۡرِ وَيَأۡمُرُونَ بِٱلۡمَعۡرُوفِ وَيَنۡهَوۡنَ عَنِ ٱلۡمُنكَرِۚ وَأُوْلَٰٓئِكَ هُمُ ٱلۡمُفۡلِحُونَ ١٠٤﴾ (آل عمران : 104)

ความว่า “และจงให้มีขึ้นจากพวกเจ้า ซึ่งคณะหนึ่งที่จะเชิญชวนไปสู่ความดีและใช้ให้กระทำสิ่งที่ชอบ และห้ามมิให้กระทำสิ่งที่มิชอบและชนเหล่านี้แหละพวกเขาคือผู้ได้รับความสำเร็จ” (อาล อิมรอน 104)

 

ท่านเชค บิน บาซ เราะหิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า สิ่งที่วาญิบเหนือคนที่มีความสามารถ ไม่ว่าจะเป็นอุละมาอ์ ผู้นำบรรดามุสลิม และนักดาอีย์ทั้งหลาย ที่จะต้องทำหน้าที่ดะอฺวะฮฺสู่อัลลอฮฺ เพื่อให้การเผยแผ่เข้าถึงยังมนุษยชาติทั้งมวลทั่วโลกทั่วแผ่นดิน และนี่ก็คือ อัล-บะลาฆฺ หรือการประกาศชี้แจง ที่อัลลอฮฺได้มีคำสั่งไว้แก่ศาสนทูตของพระองค์ว่า

﴿يَٰٓأَيُّهَا ٱلرَّسُولُ بَلِّغۡ مَآ أُنزِلَ إِلَيۡكَ مِن رَّبِّكَۖ ﴾ (المائدة : 67)

ความว่า “โอ้ ผู้เป็นศาสนทูตเอ๋ย ! จงประกาศสิ่งที่ถูกประทานลงมาแก่เจ้าจากพระเจ้าของเจ้า” (อัล-มาอิดะฮฺ 67)

 

จากที่กล่าวมาจะเห็นว่า ศาสนทูตมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม นั้น มีหน้าที่เผยแพร่ชี้แจงให้ทั่วถึง เช่นเดียวกันกับบรรดาศาสนทูตคนอื่นๆ และผู้ติดตามศาสนทูตก็ต้องทำหน้าที่นี้ด้วยเช่นกัน

จากอับดุลลอฮฺ บิน อุมัรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา เล่าว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

«بَلِّغُوْا عَنِّيْ وَلَوْ آيَةً» (قطعة من حديث البخاري 2/493 برقم 3461)

ความว่า “จงเอาจากฉันไปเผยแผ่ แม้เป็นเพียงแค่หนึ่งอายะฮฺก็ตามที” (อัล-บุคอรีย์ หมายเลข 3461)

 

คนที่รู้และเห็นได้ ย่อมเป็นสิ่งที่ไม่ปกปิดอีกเลยสำหรับเขาว่า โลกอิสลามทุกวันนี้ หรือแม้กระทั่งโลกทั้งหมดด้วยซ้ำไป มีความต้องการอย่างยิ่งยวดต่อการดะฮฺวะฮฺของอิสลามที่ถูกต้อง ที่สามารถอธิบายข้อเท็จจริงของอิสลาม แจกแจงบทบัญญัติและความดีงามต่างๆ ของมันได้

ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นที่ชัดเจนแก่บรรดาผู้แสวงหาความรู้ทั้งหลายว่า การดะอฺวะฮฺนั้นเป็นหน้าที่ที่สำคัญยิ่งที่สุด และประชาชาติทุกที่ทุกยุคสมัยล้วนมีความจำเป็นต่อการดะอฺวะฮฺ ดังนั้น สิ่งที่วาญิบสำหรับผู้รู้ก็คือต้องทำหน้าที่เผยแผ่ดะอฺวะฮฺ ไม่ว่าพวกเขาจะอยู่ที่ไหนก็ตาม และต้องอดทนบนเส้นทางแห่งนี้ และต้องให้การดะอฺวะฮฺของพวกเขามีต้นตอมาจากคัมภีร์ของอัลลอฮฺและซุนนะฮฺที่ถูกต้องของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม บนแนวทางของท่านเราะสูลและบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่าน รวมทั้งวิถีทางของเหล่า อัส-สะลัฟ อัศ-ศอลิหฺ (ดู มัจญ์มูอฺ ฟะตาวา วะ มะกอลาต อัช-ชัยคฺ อับดิลอะซีซ บิน บาซ 1/248, 333 อ้างจาก นัฎเราะตุน นะอีม 5/1959-1960)  

 

ขอสรรเสริญเอกองค์อัลลอฮฺ พระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก ขอพรและศานติแห่งพระองค์จงประสบแด่ท่านนบีของเรา มุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม  เครือญาติของท่าน และเศาะหาบะฮฺของท่านทั้งมวลด้วยเทอญ

 

 

..............................................................................

 

แปลโดย : ซุฟอัม  อุษมาน

 

คัดลอกจาก  :  http://IslamHouse.com/351197

 

 

 

Maintained by: e-Daiyah Group (1429 H - 2008).