Loading

 

มารยาทในการรับประทานอาหาร

มารยาทในการรับประทานอาหาร

 

กล่าวบิสมิลลาฮฺ:

 ท่านหุซัยฟะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า

« كُنَّا إِذَا حَضَرْنَا مَعَ النَّبِيِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ طَعَامًا لَمْ نَضَعْ أَيْدِيَنَا حَتَّى يَبْدَأَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فَيَضَعَ يَدَهُ، وَإِنَّا حَضَرْنَا مَعَهُ مَرَّةً طَعَامًا، فَجَاءَتْ جَارِيَةٌ كَأَنَّهَا تُدْفَعُ، فَذَهَبَتْ لِتَضَعَ يَدَهَا فِي الطَّعَامِ، فَأَخَذَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ بِيَدِهَا، ثُمَّ جَاءَ أَعْرَابِيٌّ كَأَنَّمَا يُدْفَعُ فَأَخَذَ بِيَدِهِ، فَقَالَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ: «إِنَّ الشَّيْطَانَ يَسْتَحِلُّ الطَّعَامَ أَنْ لَا يُذْكَرَ اسْمُ اللهِ عَلَيْهِ، وَإِنَّهُ جَاءَ بِهَذِهِ الْجَارِيَةِ لِيَسْتَحِلَّ بِهَا فَأَخَذْتُ بِيَدِهَا، فَجَاءَ بِهَذَا الْأَعْرَابِيِّ لِيَسْتَحِلَّ بِهِ فَأَخَذْتُ بِيَدِهِ، وَالَّذِي نَفْسِي بِيَدِهِ، إِنَّ يَدَهُ فِي يَدِي مَعَ يَدِهَا، ثُمَّ ذَكَرَ اسْمَ اللهِ وَأَكَلَ » [أخرجه مسلم]

“พวกเราเมื่อได้ไปร่วมรับประทานอาหารพร้อมกับท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม พวกเราจะไม่เอามือหยิบจับอาหารจนกว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม จะได้เริ่มเอามือหยิบจับอาหารก่อน และมีอยู่ครั้งหนึ่งที่พวกเราได้ไปร่วมรับประทานอาหารพร้อมกับท่าน มีเด็กหญิงคนหนึ่งเหมือนว่านางถูกผลักออกมา แล้วนางก็มาเพื่อที่จะวางมือหยิบอาหาร ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ก็ได้กั้นมือของนางไว้ แล้วก็มีชายชนบทอีกคนหนึ่งมาเหมือนว่าเขาถูกผลักออกมา แล้วท่านก็จับมือของเขาไว้ แล้วท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ก็กล่าวว่า แท้จริงชัยฏอนจะได้รับอนุญาตในอาหาร จากการที่ไม่ถูกกล่าว พระนามของอัลลอฮฺ และมันพาเด็กผู้หญิงคนนี้มาเพื่อมันจะได้หะลาลกินมัน ฉันจึงกันมือของนาง และมันก็พาชายชนบทนี้มาอีกเพื่อมันจะได้หะลาลกินมัน ฉันก็จึงจับมือของเขาเอาไว้ ขอสาบานต่อผู้ที่ชีวิตของฉันอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ แท้จริงมือของมันอยู่ในมือของฉันพร้อมกับมือของนาง หลังจากนั้นท่านก็กล่าวพระนามของอัลลอฮฺ และรับประทานอาหาร” บันทึกโดยมุสลิม

 

ท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

« إِذَا أَكَلَ أَحَدُكُمْ فَلْيَذْكُرِ اسْمَ اللَّهِ تَعَالَى، فَإِنْ نَسِيَ أَنْ يَذْكُرَ اسْمَ اللَّهِ تَعَالَى فِي أَوَّلِهِ فَلْيَقُلْ بِسْمِ اللَّهِ أَوَّلَهُ وَآخِرَهُ » [أخرجه أبو داود والترمذي]

 

“เมื่อพวกท่านคนใดจะรับประทานอาหาร เขาก็จงกล่าวพระนามของอัลลอฮฺ แต่หากเขาลืมกล่าวพระนามของอัลลอฮฺในตอนแรก ก็ให้เขากล่าวว่า “บิสมิลลาฮิ เอาวะละฮุ วะอาคิเราะฮู”(ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ทั้งเริ่มแรกและสุดท้ายล้วนเป็นของพระองค์) ” บันทึกโดยอบูดาวูดและอัต-ติรมิซียฺ

 

ท่านญาบิร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า ฉันได้ยินท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

« إِذَا دَخَلَ الرَّجُلُ بَيْتَهُ، فَذَكَرَ اللهَ عِنْدَ دُخُولِهِ وَعِنْدَ طَعَامِهِ، قَالَ الشَّيْطَانُ: لَا مَبِيتَ لَكُمْ، وَلَا عَشَاءَ، وَإِذَا دَخَلَ، فَلَمْ يَذْكُرِ اللهَ عِنْدَ دُخُولِهِ، قَالَ الشَّيْطَانُ: أَدْرَكْتُمُ الْمَبِيتَ، وَإِذَا لَمْ يَذْكُرِ اللهَ عِنْدَ طَعَامِهِ، قَالَ: أَدْرَكْتُمُ الْمَبِيتَ وَالْعَشَاءَ  » [أخرجه مسلم]

“เมื่อคนๆหนึ่งเข้าบ้านของเขา แล้วกล่าวซิกรุลลอฮฺขณะเข้าบ้าน และขณะรับประทานอาหารของเขา ชัยฏอนจะพูดขึ้นว่า “ไม่มีที่หลับที่นอน และไม่มีอาหารค่ำสำหรับพวกเจ้า” แต่หากเขาเข้าไปโดยไม่ได้กล่าว ซิกรุลลอฮฺ ขณะเข้าบ้านของเขา ชัยฏอนจะพูดว่า “พวกเจ้าที่ได้ที่หลับที่นอนกันแล้ว” และหากเขาไม่กล่าว ซิกรุลลอฮฺ ขณะรับประทานอาหารด้วย มันก็จะพูดอีกว่า “พวกเจ้าได้ทั้งที่หลับที่นอน และอาหารค่ำ”” บันทึกโดยมุสลิม

 

คำอธิบาย

มารยาทประการหนึ่งที่เป็นวายิบขณะจะรับประทานอาหารคือ การกล่าวบิสมิลลาฮฺ ท่านเราะสูลได้ใช้ให้ปฏิบัติมัน และบอกว่ามันจะกันชัยฏอนไม่ให้เข้ามาร่วมรับประทานอาหารด้วย ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเอาใจใส่ในเรื่องนี้ขณะจะเริ่มรับประทานอาหาร และหากผู้ใดลืมก็ให้กล่าวตอนเมื่อนึกขึ้นได้

 

ประโยชน์ที่ได้รับ

·      

คำสั่งใช้ให้กล่าว บิสมิลลาฮฺ ขณะจะรับประทานอาหาร

·      

ผู้ใดลืมกล่าวบิสมิลลาฮฺ ให้เขากล่าวตอนที่นึกขึ้นได้ขณะที่ยังรับประทานอยู่

·      

ชัยฏอนจะเข้ามาหลับนอนและร่วมรับประทานอาหารกับคน หากเขาไม่ได้กล่าว ซิกรุลลอฮฺ 

 

 

  • ...........................................................................

 

แปลโดย : สะอัด วารีย์

ตรวจทานโดย : ฟัยซอล อับดุลฮาดี

คัดลอกจาก : http://IslamHouse.com/799177

 

 

Maintained by: e-Daiyah Group (1429 H - 2008).