Loading

 

เลือกโรงเรียน เลือกครู ให้แก่ลูกด้วยมุมมองของอิสลาม

ในระยะนี้ เป็นช่วงที่บรรดาผู้ปกครองเด็กบางคนกำลังปวดหัวและพะวงในเรื่องของการเลือก โรงเรียน วิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยให้แก่ลูก ซึ่งจะต้องเข้าเรียนต่อในสถานศึกษาหรือสถาบันการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น ซึ่งแน่นอน ผู้ปกครองทุกคนต่างหวังอยากให้ลูกได้ศึกษาในโรงเรียนหรือสถาบันศึกษาที่ดีๆ มีคุณภาพ เมื่อจบออกมาก็จะเป็นพลเมืองที่ดี มีคุณธรรมและมีงานทำที่มั่นคง เจริญก้าวหน้าในชีวิต


บทความนี้ จึงใคร่ขอเสนอมุมมองของอิสลาม ต่อการเลือกโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาให้แก่บุตรของตัวเองในบางมิติ ซึ่งอาจมีความแตกต่างกับแนวคิดทางจิตวิทยาการศึกษากระแสหลักในบางเรื่อง   โดยเฉพาะในมุมมองของอิสลาม  ซึ่งจะให้ความสำคัญกับคุณสมบัติของผู้เป็นครูบาอาจารย์ เป็นปัจจัยที่สำคัญในการที่จะทำให้นักเรียนนักศึกษาได้รับการอบรมหล่อมหลอม และสั่งสอนให้เป็นคนดีมีคุณธรรมและมีความเป็นเลิศในทางวิชาการ ตามที่พึงประสงค์

ในมุมมองของอิสลามนั้นปัจจัยสำคัญในการเลือกโรงเรียน หรือสถาบันการศึกษาให้แก่ลูก ก็คือ  คุณสมบัติของผู้บริหารและครูบาอาจารย์ในสถาบันนั้นๆเป็นสำคัญ  ซึ่งส่วนหนึ่งของคุณสมบัติของครูบาอาจารย์ที่ดีในทัศนะของอิสลามได้แก่

1. เป็นครูบาอาจารย์แห่งพระผู้เป็นเจ้า (รอบบานีย์)
ท่านอัล-หะซัน อัล-บัศรีย์  ได้ให้คำอธิบายว่า  ครูบาอาจารย์แห่งพระผู้เป็นเจ้า(ร็อบบานีย์)นั้น  หมายถึง ครูอาจารย์ที่มีความรอบรู้อย่างรอบด้านและสมบูรณ์  ชอบและขยันทำอิบาอะฮฺ(เคารภักดี)ต่ออัลลอฮฺ  เปียมล้นด้วยความตักวา(ความยำเกรง)ต่ออัลลอฮฺ  นั่นหมายว่า
(ก)   ต้องมีความรู้ที่ถูกต้องและชัดเจน (ซอเฮียฮฺ)  อัลลอฮฺตรัสความว่า “จงกล่าวเถิด(มูฮัมมัด)บรรดาผู้รู้และผู้ไม่รู้จะเท่าเทียมกันหรือ???..." (ซูเราะฮฺ อัซซูมัร 9)
คนเช่นนี้แหละสมควรเป็นครูบาอาจารย์  นั่นหมายว่า ครูบาอาจารย์ที่ดีนั้นต้องยึดมั่นในวิชาความรู้ด้านต่างๆที่ถูกต้อง โดยเฉพาะความรู้เกี่ยวกับหลักการอิสลาม  ต้องมีหลักฐานอ้างอิงที่ถูกต้องชัดเจนและเชื่อถือได้ ถ้าเขาปราศจากคุณสมบัติข้อนี้แล้วละก็ เขาจะเป็นครูบาอาจารย์ที่ประสบผลสำเร็จไม่ได้ ยิ่งไปกว่านั้น เขาอาจจะกลายเป็นผู้ทำลายสังคมและดับฝันของผู้ปกครองก็ได้

(ข) ต้องเปี่ยมไปด้วยความตักวา(ความยำเกรง)ต่ออัลลอฮฺ ครูบาอาจารย์แห่งพระผู้เป็นเจ้าและเปี่ยมล้นไปด้วยความตักวา(ความยำเกรง)ต่ออัล ลอฮฺนั้น เป็นครูบาอาจารย์ที่ปฏิบัติตัวเป็นตัวอย่างหรือแบบอย่างที่ดีแก่ลูกศิษย์ลูก หา และจะเป็นผู้ว่ากล่าวและคอยตักเตือนให้นักเรียนเคารพภักดีต่อเอกอัลลอฮฺ เพียงพระองค์เดียวและกำชับให้ปฏิบัติตามทางนำและแนวทางของอัลลอฮฺอย่างเต็มที่ จริงจัง

ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลล็อลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม เมื่อท่านถูกถามว่า  ผู้ใดเป็นคนที่ประเสริฐที่สุด? ท่านตอบว่า “คนที่มีความตักวา(ยำเกรง)ต่ออัลลอฮฺที่สุดจากหมู่ชนของเขา” (หะดีษรายงานโดยบุคอรี มุสลิม)

ดังนั้น ครูบาอาจารย์ที่ดีต้องชำระขัดเกลาตนเอง(ตัรบียะฮฺตัวเอง)ให้บริสุทธิ์  ทำงานด้วยความอิคลาส(บริสุทธิ์ใจ หวังในความโปรดปรานของอัลลอฮฺเท่านั้น) ไม่หวังในในสิ่งอื่นๆ เช่น เกียรติยศ ชื่อเสียง เงินทอง ฯลฯเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ซึ่งแน่นอน ครูที่บริสุทธิ์ใจทั้งเรื่องกาย วาจาและใจนั้นบรรดานักเรียน นักศึกษาและผู้ปกครองจะให้ความเคารพนับถือ ให้เกียรติ ยกย่องรักใคร่และเชื่อฟังเสมอ

อัลลอฮฺตรัสความว่า “และพวกเขามิได้ถูกบัญชาให้กระทำอื่นใด นอกจากเพื่อการเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ เป็นผู้มีเจตนาบริสุทธิ์(อิคลาส)ในการภักดีต่อพระองค์ เป็นผู้อยู่ในแนวทางที่เที่ยงตรง”  (ซูเราะฮฺ อัล-บัยยีนะฮฺ: 5)

ท่านรสูลลุลลอฮฺ กล่าวว่า “แน่แท้ อัลลอฮฺจะไม่ทรงตอบรับการงานที่กระทำด้วยความไม่บริสุทธิ์ใจ(เจตนาไม่อิคลา สเพื่ออัลลอฮฺ)และไม่หวังในความโปรดปรานจากพระองค์ (รายงานโดยอบู ดาวูด และนาซาอี)


2. ต้องรู้และเข้าใจในหลักจิตวิทยาการสอนตลอดจนหลักการบริหารการศึกษา
ครูที่เก่งๆและเป็นเลิศนั้นต้องมีจิตวิทยาในการสอนนักเรียน ต้องรู้เข้าใจลักษณะ พฤติกรรม อุปนิสัยใจคอ อารมณ์ความรู้สึกต่างๆและแรงจูงใจต่างๆสำหรับนักเรียนนักศึกษา  ทั้งนี้เพื่อที่จะได้เลือกใช้สื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับเด็กในวัย ต่างๆ ท่านอิบนุ มัสอูด รายงานความว่า “ผู้ใดที่สั่งสอนชนกลุ่มหนึ่งกลุ่มใด โดยไม่คำนึงถึงความเหมาะสมและสอดคล้องกับระดับความรู้และสติปัญญาของชนกลุ่ม นั้น แน่นอน คำสอนนั้นก่อฟิตนะห์(ความเสียหาย)แก่ชนกลุ่นนั้น" (หะดีษรายงานโดยบุคอรีย์)


3. ครูบาอาจารย์ต้องเป็นผู้ที่มีความเป็นธรรมเสมอ

ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลล็อลลอฮุ อลัยฮิวะซัลลัม  ครูคนแรกของประชาคมมุสลิม ได้ให้แบบอย่างและคำสอนแก่บรรดาผู้ที่เป็นครูบาอาจารย์ไว้มากมาย ส่วนหนึ่งได้แก่
ท่านรสูลุลลอฮฺกล่าวไว้ความว่า “พวกเจ้าจงตักวา(ยำเกรง)ต่ออัลลอฮฺ และจงให้ความเป็นธรรมแก่ลูกๆ(รวมทั้งนักเรียนหรือลูกศิษย์)ของเจ้า”  (หะดีษรายงานโดยบุคอรีย์ มุสลิม)

นั่นก็คือครูต้องไม่เลือกที่รัก มักที่ชัง หรือเลือกปฏิบัติ มีหลายมาตรฐานและต้องให้ความรัก ความเอ็นดูลูกศิษย์อย่างเท่าเทียมกัน  หลีกเลี่ยงจากจากการรักเฉพาะลูกศิษย์ที่เป็นเครือญาติ มีชาติตระกูลดี หรือเรียนเก่งเท่านั้น

อัลลอฮฺตรัสความว่า “และจงอย่าให้การเกลียดชังพวกหนึ่งพวกใด ทำให้ พวกเจ้าไม่ยุติธรรม จงยุติธรรมเถิด มันเป็นสิ่งที่ใกล้กับความยำเกรงยิ่งกว่า “ (ซู เราะฮฺ อัล-มาอีดะฮฺ :8


4. ครูบาอาจารย์ต้องเป็นผู้ที่มีความอดทน(ซอบัร)สูง
ความอดทน(ซอบัร)เป็นคุณลักษณะที่ประเสริฐและสูงส่ง  อัลลอฮฺทรงรักและโปรดปราน  ดังนั้น ครู บาอาจารย์ต้องยึดความอดทนเป็นคุณสมบัติประจำตัว และฝึกฝนตนเองให้เป็นคนที่มีความอดทนสูง ซึ่งความอดทนในที่นี้ หมายถึง ความอดทนในการปฏิบัติตามและเชื่อฟังคำสั่งของอัลลอฮฺ  อดทนในการละเว้นและหลีกห่างจากสิ่งชั่วร้ายต่างๆ  อดทนในสิ่งทดสอบ ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ   ครูที่มีความอดทนนั้นมักจะเป็นคนที่ให้อภัยต่อลูกศิษย์เสมอ สามารถควบคุมอารมมาณ์ของตัวเองได้และมีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นเสมอ


คุณลักษณะ ที่เกิดขึ้นมาพร้อมๆกับความอดทน ก็คือ การเป็นคนที่มีระเบียบวินัยและยึดมั่นในหลักการ  ซึ่งทั้งสองคุณลักษณะนี้มีรากเหง้ามาจาก คุณลักษณะ อัล-อิฟฟะฮฺ (การระงับยับยั้งและควบคุมตัวเองจากความต้องการและอารมณ์ใฝ่ต่ำ)
อัลลอฮฺตรัสความว่า  “ไม่มีผู้ใดรับ(คุณธรรม)นอกจากบรรดาผู้อดทน และจะไม่มีผู้ใดรับมันนอกจากผู้ที่โชคลาภอันใหญ่หลวง” ซูเราะฮฺฟุศศิลัต 34

ท่านนบีกล่าวว่า “ในตัวของมนุษย์นั้นจะมีสองสิ่งที่อัลลอฮฺทรงรัก นั่นคือ  ความอดทน และความระมัดระวัง”  ท่านนบีกล่าวอีกว่า  “ผู้ที่ปล้ำผู้อื่นชนะนั้น หาใช่ผู้ที่เข้มแข็งอย่างแท้จริง แต่ผู้ชนะอย่างแท้จริงนั้น คือ ผู้ที่สามารถควบคุมตนเองได้ขณะที่มีอารมณ์โกรธ” หะดีษมุตตะฟะกุน อลัยฮิ


ดังนั้น ความอดทน จึงเป็นคุณลักษณะที่จำเป็นสำหรับคนที่มีอาชีพเป็นครูบาอาจารย์ทุกคน  โดยเฉพาะในช่วงที่กำลังอบรมสั่งสอนนักเรียนหรือลูกศิษย์


6. ครู บาอาจารย์ต้องมีสัจจะ
พ่อ แม่ และครูบาอาจารย์นั้น คือ แบบอย่างที่ใกล้ตัวเด็กหรือนักเรียนมากที่สุด ดังนั้น ทั้งพ่อ แม่และครูบาอาจารย์จึงต้องเป็นคนที่รักษาสัจจะเสมอ ทั้งในคำพูด การกระทำ  เจตนา การให้คำมั่นสัญญาและการให้ความหวังต่างๆ  ดังนั้น เมื่อพ่อแม่ หรือครู บาอาจารย์พูดกับลูกๆหรือลูกศิษย์ต้องไม่พูดเท็จ และต้องรักษาคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้เสมอ ระมัดระวังอย่าให้คำพูดกับการกระทำสวนทางกัน  เพราะ การที่พ่อแม่หรือครู บาอาจารย์เป็นคนที่ไร้สัจจะนั้นจะทำให้การอบรมสั่งสอนของเราไร้ผลและสูญ เปล่า

อัลลอฮฺตรัสความว่า “บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย  ทำไมสูเจ้าจึงกล้าพูดในสิ่งที่พวกเจ้าไม่ปฏิบัติ  กี่มากน้อยแล้วที่อัลลอฮฺทรงกริ้ว  ที่พวกสู เจ้าพูดในสิ่งสู เจ้าไม่ปฏิบัติ” ซู เราะฮฺ ศอฟ 2-3

7. ครูบาอาจารย์ที่ดีต้องเป็นคนที่มีความรับผิดชอบ(อามานะห์)สูง
ความตระหนักและสำนึกในอามานะห์(ความรับผิดชอบ) ต้องเป็นคุณสมบัติประจำตัวของครูบาอาจารย์ทุกคน  จะละเลยและมองข้ามไม่ได้เป็นอันขาด โดยอย่างยิ่งในตอนที่กำลังสอน จิตสำนึกในเรื่องนี้มันเกิดมาจากคำสอนของอิสลามที่ว่า “เด็กๆนั้นเป็นอามานะห์(ความรับผิดชอบ)ที่อัลลอฮฺทรงมอบหมายให้เราทั้งหลาย ช่วยกันดูแลและเราทุกคนมีหน้าที่ต้องอบสั่งสอนำพว กเขา” เมื่อพวกเขาเติบใหญ่จะได้เข้ามาแบกรับอามานะห์ต่างๆแทนเรา   ในทางตรงกันข้ามหากเราเพิกเฉยหรือละเลยต่อหน้าที่อันสำคัญนี้ ผลที่จะตามก็คือ เด็กๆจะกลายเป็นเด็กที่มีปัญหา เช่น มีพฤติกรรมก้าวร้าว เกเร มีพฤติกรรมสุดโต่ง เป็นต้น ซึ่งมันก็จะยิ่งซ้ำเติมให้สังคมเสื่อมมากยิ่งขึ้น

อัลลอฮฺตรัสความว่า “และจงยับยั้งพวกเขาไว้  เพราะพวกเขาจะต้องถูกสอบสวน”  ซูเราะฮฺ อัล-ศอฟฟาต 24

อิบนุ อับบาส ได้อธิบายว่า ในวันอาคีเราะฮฺมนุษย์ทุกคนจะถูกสกัดไว้ก่อน เนื่องจากว่าพวกเขาจะต้องถูกสอบสวนเกี่ยวกับสิ่งที่เขาได้กระทำไว้ในโลกนี้เสียก่อน”

อิบนุล มุบาร็อก อธิบายว่า “ในวันกิยามะฮฺมนุษย์ทุกคนจะถูกสอบสวน และสิ่งแรกที่เขาจะถูกสอบสวน ก็คือ เรื่องเกี่ยวกับผู้ที่อยู่ใกล้ตัวของเขา  (จากตัฟซีร อิบนุกะษีร)

สรุปแล้ว  พ่อแม่ผู้ปกครองจะเลือกโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาให้แก่ลูก สิ่งแรกที่เขาต้องพิจารณาคือ ครูบาอาจารย์ในสถาบันนั้นๆ ซึ่งแน่นอน ครูบาอาจารย์ที่ดีและเป็นเลิศในทัศนะของอิสลามนั้น หาใช่คนที่จบหลักสูตรครุศาสตร์หรือศึกษาศาสตร์แต่เพียงเพียงด้านเดียว  แต่ครูดีนั้น โดยเฉพาะครูบาอาจารย์ในสถาบันการศึกษาอิสลามนั้นต้องมีความเป็นรอบบานี ย์(เป็นครูแห่งพระผู้เป็นเจ้า)  มีความรู้ที่เพียบพร้อมสมบูรณ์ ถูกต้องและชัดเจน มีหลักฐานอ้างอิง มีเหตุผล ไม่งมงาย ต้องเปี่ยมไปด้วยความตักวา(ยำเกรง)ต่ออัลลอฮฺ ไม่ประพฤติหรือกระทำในสิ่งอัลลอฮฺทรงกริ้วและไม่ละเมิดบทบัญญัติอิสลาม  ครูบาอาจารย์ต้องมีความรู้เกี่ยวกับหลักจิตวิทยาการเรียนการสอน  ต้องเป็นที่มีความอดทน มีสัจจะ มีความรับผิดชอบสูง 

เมื่อครูในสถาบันการศึกษาแห่งใดเปี่ยมไปด้วยคุณสมบัติเหล่านี้  แน่แท้ สถาบันแห่งนั้นจะสามารถผลิตนักเรียน นักศึกษาที่ซอลิฮฺ(เป็นคนดีมีคุณธรรม)และเป็นเลิศ  ซึ่งเคยประจักษ์มาแล้วจากสถาบันที่สถาปนาขึ้นโดยครู คนแรกของประชาคมมุสลิม นั้นก็คือ ท่านศาสนทูตมูฮัมมัด ซึ่งเป็นเป็นครูที่สามารถผลิตชนรุ่นซอฮาบะฮฺมาแล้วนั่นเอง


Maintained by: e-Daiyah Group (1429 H - 2008).