Loading

 

ท่าน ... จงเป็นดั่งกุญแจไขสู่ความดีงาม

จากท่านอะนัส อิบนุ มาลิก เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า


«?? ?? ????? ??????? ????? ??????? ????, ??? ?? ????? ??????? ???? ??????? ?????? ??????? ??? ??? ???? ??????? ????? ??? ????, ????? ??? ??? ???? ??????? ???? ??? ????»

ความว่า “แท้จริงในหมู่มนุษย์นั้นจะมีผู้ที่เป็นกุญแจไขสู่ความดีงามและปิดกั้นสิ่ง ที่ชั่วร้าย และในหมู่มนุษย์นั้นก็จะมีผู้ที่เป็นกุญแจไขสู่ความชั่วร้ายและปิดกั้นสิ่ง ที่ดีงาม ดังนั้น ความดีงาม(หรือผลบุญ หรือสวนสวรรค์) จงประสบแด่ผู้ที่อัลลอฮฺทรงประทานให้เขาเป็นกุญแจไขสู่ความดีงาม และความพินาศจงประสบแด่ผู้ที่อัลลอฮฺทรงทำให้เขาเป็นกุญแจไขสู่ความชั่ว ร้าย” (บันทึกโดยอิบนุมาญะฮฺ หมายเลขหะดีษ 237 ชัยคฺอัล-อัลบานีย์ เราะหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า “เป็นหะดีษหะสัน” ในหนังสือ “เศาะหีหฺ สุนัน อิบนิ มาญะฮฺ หมายเลข 194” )

สำหรับ ผู้ใดปรารถนาที่จะให้ตัวของเขาเป็นดั่งกุญแจไขสู่ความดีงามและปิดกั้นสิ่ง ที่ชั่วร้าย และเป็นกลุ่มชนที่ได้รับความดีงามด้วยกับสวนสวรรค์นั้น ก็พึงมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

1. มีความบริสุทธิ์ใจต่ออัลลอฮฺในคำพูดและการกระทำต่างๆ ของเขา เพราะมันคือรากฐานแห่งความดีงาม และเป็นบ่อเกิดแห่งคุณงามความดีทั้งหลาย
2. หมั่นวิงวอนขอดุอาอ์ให้อัลลอฮฺทรงประทานสิ่งดังกล่าว โดยแน่แท้ การวิงวอนขอดุอาอ์นั้นเป็นกุญแจไขสู่ความดีงามทั้งหลาย และอัลลอฮฺมิทรงปฏิเสธการวิงวอนร้องขอจากบ่าวของพระองค์อย่างแน่นอน และพระองค์ไม่ทรงทำให้ผู้ศรัทธานั้นได้ผิดหวังจากการเรียกร้องของเขาด้วย เช่นกัน
3. มุ่งมั่นในการแสวงหาและกอบโกยในศาสตร์ด้านต่างๆ เพราะความรู้นั้นจะเป็นสิ่งนำพาสู่คุณงามความดีและความมีเกียรติ และสามารถที่จะยับยั้งความโสมมและสิ่งที่ไม่ดีงามทั้งหลายได้
4. มีความขะมักเขม้นในการทำอิบาดะฮฺ(ประกอบศาสนกิจ)ต่ออัลลอฮฺ โดยเฉพาะศาสนกิจที่เป็นข้อบังคับ(ฟัรฎู) อย่างเช่นการละหมาด เพราะมันจะเป็นสิ่งที่สามารถยับยั้งจากสิ่งโสมมและสิ่งที่ชั่วร้ายทั้งหลาย ได้
5. ปลูกฝังตัวของเราด้วยกับจรรยามารยามที่ดีงาม และจงห่างไกลจากจรรยามารยาทที่ไร้ซึ่งแก่นสารและที่ไม่ดีงาม
6. คบหาสมาคมกับคนดีและทำตัวให้อยู่ใกล้กับบรรดาคนศอลิหฺ(คนดี)ทั้งหลาย เพราะการอยู่ร่วมกับกลุ่มคนเหล่านั้น ย่อมจะทำให้ได้รับการดูแลจากเหล่ามลาอิกะฮฺและได้รับความเมตตา(จากอัลลอฮฺ) และพึงระวังจากการเข้าร่วมคบหาสมาคมกับคนที่ไม่ดีทั้งหลาย เพราะมันจะนำพาไปสู่การคล้อยตามชัยฏอนมารร้ายได้
7. หมั่นให้ข้อตักเตือนแก่ผู้คนทั้งหลายในการใช้ชีวิตของพวกเขา ในการปฏิสัมพันธ์ของพวกเขา ด้วยกับการขยันทำความดีและผินหลังให้กับสิ่งที่ชั่วร้ายทั้งหลาย
8. พึงรำลึกถึงวันที่ถูกสัญญา นั่นคือวันที่จะต้องยืนอยู่หน้าพระพักตร์ของพระผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก เป็นวันที่ผลตอบแทนแห่งความดีงามนั้นจะถูกประทานให้แด่ผู้ทีมีคุณธรรมทั้ง หลาย และเป็นวันที่ผลตอบแทนอันเลวร้ายนั้นจะถูกลงโทษยังเหล่าทรชนทั้งหลาย


?????? ???????? ????????? ??????? ??????? ??????? ????? ???????? ????????? ??????? ?????? ??????? (??????? : 7-8 )

ความว่า “ดังนั้นผู้ใดกระทำความดีหนักเท่าละอองธุลี เขาก็จะเห็นมัน ส่วนผู้ใดกระทำความชั่วหนักเท่าละอองธุลี เขาก็จะเห็นมัน” (สูเราะฮฺ อัซ-ซัลซะละฮฺ : 7-8)

9. และสิ่งที่สำคัญที่สุดนั้นคือ คนๆ หนึ่งนั้นต้องมีความปรารถนาในความดีงาม และต้องได้รับประโยชน์จากความดีงามนั้น การที่คนๆ หนึ่งจะได้รับประโยชน์นั้นก็ต่อเมื่อเขาต้องปรารถนาที่จะให้ความดีงามนั้น ได้ปรากฏขึ้นมาเสียก่อน โดยที่เขาต้องมีเจตนาที่จะบากบั่น และมีความตั้งใจอันแน่วแน่ พร้อมทั้งต้องวิงวอนร้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮฺในเรื่องดังกล่าว และให้พระองค์ทรงประทานปัจจัยต่างๆ ที่จะได้มาซึ่งสิ่งนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น –และด้วยพระประสงค์ของอัลลอฮฺ- เขาก็ได้จะเป็นผู้ที่เป็นกุญแจไขสู่ความดีงามและปิดกั้นสิ่งที่ชั่ว ร้ายอย่างแน่นอน

โดยแน่แท้ พระองค์อัลลอฮฺนั้นจะทรงให้ความช่วยเหลือแก่บ่าวของพระองค์ และพระองค์จะทรงให้ปรากฏแก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ด้วยกับสัจธรรม และพระองค์นั้นคือผู้ที่ดีเยี่ยมในหมู่ผู้ที่ทำให้สิ่งๆ หนึ่งได้ปรากฏขึ้นมา


เขียนโดย อับดุลร็อซซาก บิน อับดุลมุหฺสีน อัลอับบาด อัลบัดรฺ

Maintained by: e-Daiyah Group (1429 H - 2008).