Loading

 

รอมาฎอน เดือนแห่งการถือศีลอด

เดือนรอมาฎอน ( ?????? ????????? ) เป็นเดือนลำดับที่ 9 ของเดือนทางจันทรคติตามปีศักราชอิสลาม อัลลอฮ์ ซุบฮาน่าฮูว่าตะอาลา ทรงกำหนด ให้การเดือนรอมาฎอน เป็นฤดูหรือเทศกาลสำหรับการปฏิบัติศาสนกิจชิ้นสำคัญ ซึ่งเป็นหนึ่งในองคาพยพทั้งห้าของอิสลาม ( รู่ก่นอิสลาม 5 ประการ ) การถือศิลอดในเดือนรอมาฎอนจึงมีฮุ่ก่มทางศาสนาเป็นวาญิบ อัลลอฮ์ทรงมีรับสั่งว่า

??? ???????? ????????? ???????? ?????? ?????????? ?????????? ????? ?????? ????? ????????? ???? ?????????? ??????????? ??????????

“โอ้บรรดาชนผู้มั่นในศรัทธาเอ๋ย การถือศิลอดได้ถูกบัญญัติให้เป็นภารกิจ (ฟัรฏู) ของพวกเจ้าทุกคน เช่นเดียวกับที่ เคยถูกบัญญัติ ให้เป็นภารกิจของชนในยุคอดีตก่อนสมัยพวกเจ้า ด้วยหมายให้พวกเจ้าเกิดความสำรวม (ตักวา)” (อัลบะกอเราะฮ์ : 183)

อัลลอฮ์ยังทรงมีรับสั่งอีกว่า

?????? ????????? ??????? ???????? ????? ??????????? ????? ????????? ???????????? ???? ???????? ?????????????? ?????? ?????? ???????? ????????? ????????????

“เดือนรอมาฎอน เป็นเดือนที่ประทานอัลกุรอานลงมาเพื่อเป็นสิ่งชี้นำแด่มวลมนุษย์ชาติ และเพื่อเป็นหลักฐานแห่งทางนำ และการ จำแนกแยกแยะระหว่างดีชั่ว (คือระหว่างความจริงกับความเท็จ) ดังนั้นเมื่อผู้ใดในหมู่พวกเจ้าเข้าสู่เดือนนั้น แล้วเขาจง ถือศิลอด เดือนนั้นเถิด” (บทอัลบะกอเราะฮ์ : 185)

ท่านรอซูลุลลอฮ์กล่าวว่า

?????? ???????????? ????? ?????? : ......... ???????? ????????? .... ???

“ศาสนาอิสลามตั้งมั่นอยู่บนหลักพื้นฐาน 5 ประการ (องคาพยพแห่งอิสลามทั้งห้า) คือ . . . . . และ (4) การถือศิลอดในเดือน รอมาฎอน . . . .” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ และมุสลิม)

นักวิชาการผู้ชำนาญการด้านประวัตินิศาสตร์อิลามส่วนมากระบุตรงกันว่า การถือศลิอดเดือนรอมาฎอนนั้นถูกกำหนดให้เป็นฟัรฎู (กิจบังคับ) ครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 เดือนชะอฺบานตรงกับปีฮิจเราะฮ์สักราชที่ 2 นักวิชาการหลายท่านอธิบายว่า ในอดีตก่อนกำหนดศิลอดฟัรฎูในเดือน รอมาฎอนนั้น ท่านรอซูลใช้ให้เหล่าสาวกถือศิลอดในวันอาชูรออฺเพียงวันเดียว (แบบฟัรฎู) ต่อจากนั้นได้ยกเลิกการถือศิลอดวันอาชูรออฺ (โดยเหลือเพียงแค่เป็นซุนนะฮ์) และให้ถือศิลอดเดือนรอมาฎอนแทน เป็นวาระๆกล่าวคือ แรกที่เดียวที่กำหนดให้ถือศิลอดเดือนรอมาฎอนนั้น ประชาชนมีความรู้สึกว่าเป็นภารกิจที่หนักเอาการ ท่านรอซูลุลลออ์จึงอนุโลมให้ชั่วระยะหนึ่งสำหรับผู้ที่ยังไม่พร้อม และไม่ประสงค์ถือศิลอด ให้ไม่ต้องถือศิลอดได้แต่ต้องชำระอาหารเป็นการทดแทน (คือ เปิดโอกาสให้เลือกเองว่าจะถือศิลอดหรือไม่ถือ) อัลลอฮ์ทรงมีรับสั่งว่า

??????? ????????? ???????????? ???????? ??????? ?????????

“และให้เป็นหน้าที่แก่บรรดาผู้ที่ถือศิลอดด้วยความลำบาก (โดยเลือกที่จะงดการถือศิลอดตามปกติ) ต้องชดเชยด้วยการจ่ายอาหาร หนึ่งมื้อแก่ผู้ยากจนหนึ่งคน” ( อัลบะกอเราะฮ์ : 184)

ซึ่งครั้งนี้อัลกุรอานได้เน้นและส่งเสริมให้เลือกการถือศิลอดและระบุว่าการถือศิลอดมีความดีมากว่า อัลลอฮ์ทรงมีรับสั่งว่า

?????? ????????? ??????? ?????? ?????? ???? ?????? ????????? ?????? ??????

“หากแต่ผู้ใดอาสาสมัครใจทำสิ่งที่ดีกว่า แน่นอนมันย่อมเป็นกุศล (คุณากร)แก่ตัวเขาเอง และการที่พวกเจ้าเลือกถือศิลอด นั้นย่อมเป็นการดีแก่พวกเจ้าเอง” (อัลบะกอเราะฮ์ : 184)

และต่อมาภายหลังเมื่อประชาชนมีความพร้อมและสามารถถือศิลอดได้เป็นปกติแล้ว จึงกำหนดให้ถือศิลอดเพียงประการเดียว และไม่ อนุโลมให้เลือกปฏิบัติเช่นแต่เดิม อัลลอฮ์ทรงมีรับสั่งอีกครั้งว่า

?????? ?????? ???????? ????????? ????????????

“ดังนั้นเมื่อผู้ใดในหมู่พวกเจ้าเข้าสู่เดือนนั้นแล้ว (คือเข้าเดือนรอมาฎอน) เขาจงถือศิลอดเดือนนั้นเถิด” (อัลบะกอเราะฮ์ : 185)

หลักเกณฑ์การกำหนดเริ่มเข้าเดือนรอมาฎอน

มาตรฐานการกำหนดเริ่มต้นเดือนรอมาฏอน (และเดือนอื่นๆด้วย) ในระบบอิสลามนั้นให้พิจารณาจากผลการเห็นเดือนฮิลาล (เดือนเสี้ยว ข้างขึ้น) ในค่ำของวันที่ 30 เดือนชะอ์บาน หากไม่ปรากฏว่ามีการเห็นเดือนฮิลาลด้วยสาเหตุทางภูมิอากาศ เช่น ฟ้าปิดเป็นต้นหรืออื่นๆ ให้ใช้ เกณฑ์การนับเดือนชะอ์บานต่อให้ครบ 30 วัน จากนั้นให้นับวันต่อมาเป็นวันที่หนึ่งของเดือนรอมาฎอนเลย นี่คือเกณฑ์มาตรฐานที่นักวิชาการ อิสลามทุกยุคสมัยตั้งแต่ยุคท่านรอซูลุลลอฮ์,ซอฮาบะฮ์,ตาบิอีนและสลัฟซอและห์ ในยุคสมัยต่อๆมา

กรณีการเห็นเดือนฮิลาลนั้นให้ถือว่ามีผลต่อการกำหนดเริ่มต้นเดือนรอมาฎอน เมื่อผู้เห็นนั้นเป็นไว้เนื้อเชื่อใจได้ แม้เพียงคนเดียวก็ตาม ซึ่งต่างกับการกำหนดสิ้นเดือนรอมาฎอนและเริ่มเดือนเชาวาล นักวิชาการเห็นชอบเหมือนกันว่าไม่สามารถรับฟังการเห็นเดือนจากคนเพียง คนเดียวได้ในกรณีสิ้นเดืนรอมาฎอน นอกจากต้องได้รับการรับรองจากชายที่ไว้เนื้อเชื่อใจได้อีก 2 คน ร่วมยืนยันการเห็นเดือนฮิลาลสำหรับ เดือนเชาวาล ท่านรอซูลุลลอฮ์กล่าวว่า

????? ?????????? ?????????? ???????????

“เมื่อพวกท่านเห็นเดือนเสี้ยว พวกท่านจงถือศิลอด” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ และมุสลิม)

????????? ???????????? ?? ??????????? ???????????? ?????? ??????? ?????????? ????????????? ??????? ????????? ??????????? ???????

“พวกท่านจงถือศิลอด (เข้าเดือนบวช) เมื่อเห็นเดือน (ฮิลาล) และพวกท่านจงหยุดถือศิลอด (ออกเดือนบวช) เมื่อเห็นเดือน (ฮิลาล) ดังนั้นหากปรากฏว่ามีเมฆหมอกมาบดบังแก่พวกท่าน (ไม่อยู่ในวิสัยที่จะเห็นได้) พวกท่านจงนับเดือนชะอฺบานให้เต็มครบ 30 วัน” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ และมุสลิม)

ท่านอับดุลลอฮิบนุอุมันรายงานว่า

???????? ???????? ?????????? ???????????? ???????? ????? ??????? ?????????? ??????? ???? ???????? ???????? ???????????

“ประชาชน ต่างพากันเห็นเดือนเสี้ยวข้าพเจ้าได้รายงานต่อท่านรอซูลุลลอฮ์ด้วยตัวเองว่า ตัวข้าพเจ้าเองก็เห็นเดือนเสี้ยวด้วยเช่นกัน ดังนั้นท่านรอซูลจึงได้ถือศิลอด และมีคำสั่งให้ประชาชนทั่วไปถือศิลอด” (บันทึกโดยอาบีดาวู้ด และอัลฮาเก็ม)

นักวิชาได้กำหนดคุณลักษณะของผู้ยืนยันการเห็นดวงจันทร์หรือเดือนเสี้ยว เพื่อให้มีผลต่อการกำหนดเข้าและออกเดือนไว้ว่า ผู้เห็นจะต้อง เป็นมุสลิม,บรรลุศาสนภาวะแล้ว,มีสติสัมปะชัญญสมบูรณ์เยี่ยงปกติชนทั่วไป,และ เป็นผู้ที่มีคำพูดคำจาที่สามารถไว้เนื้อเชื่อใจได้ และต้องมีสาย ตาปกติดีไม่มีปัญหา. ดังนั้นข่าวการเห็นดวงจันทร์จึงไม่สามารถรับฟังได้จากบุคคลต่อไปนี้

(1) เด็กเล็กยังไม่บรรลุศาสนภาวะ แม้จะรู้เดียงสาบ้างแล้วก็ตาม

(2) คนบ้า,คนวิกลจริต,คนขาดสติ,คนเมาและผู้ที่มีลักษณะใกล้เคียง

(3) คนกาเฟร หรือคนต่างศาสนา

(4) คนชั่วที่ชอบโกหกพกลมปลิ้นปล้อนพูดจาไม่อยู่ในร่องในรอยกลับกลอกไปมา และ

(5) คนตาบอดหรือมีสายตาไม่ปกติฝ้าฟางไม่สามารถมองเห็นได้เช่นปกติชนทั่วไป

เมื่อมีการเห็นดวงจันทร์ผู้เห็นด้วยตัวเองต้องถือศิลอดทันที ส่วนผู้ที่รับทราบการยืนยันการเห็นดวงจันทร์ ผู้รับทราบการเห็นต้องถือศิลอดตาม การเห็นนั้นๆทันทีด้วยเช่นกัน โดยไม่ต้องยึดถือเรื่องเขตแดน,ภูมิประเทศ (มัฏละอฺ) หรือการคำนวณตามหลักดาราศาสตร์หรืออื่นใดทั้งสิ้น ทั้งนี้เพราะ ท่านรอซูลลุลลอฮ์กำหนดเกณฑ์มาตรฐานไว้แล้ว คือ

(1) ด้วยการเห็นดวงจันทร์ และ

(2) ด้วยการนับเดือนเก่าให้ครบสำหรับกรณีไม่สามารถมองเห็นดวงจันทร์เท่านั้นไม่ อนุญาตให้ยึดถือเกณฑ์อื่นๆ เช่นเกณฑ์การคำนวณทาง ดาราศาสตร์เป็นมาตรฐานโดยเด็ดขาด.


โดย อ.อับดุลลอฮฺ สุไลหมัด

ที่มา...http://www.warasatussunnah.net/Day_Month/Ramdan.html

Maintained by: e-Daiyah Group (1429 H - 2008).