Loading

 

40 หะดีษเราะมะฎอน

 หะดีษบทที่ 1

บัญญัติการถือศีลอด

???? ????????? ????? ??????????????? ????????? ???????? : ????? ?????? ??????????? ??????? ????????? ???????? ??? ???????????????? ??????? ??????? ????? ?????? ????? ???????? ????????? ????????? ??? ??????????????? ? ???????? ?????? ??????? ????? ???????????? ??????? ???????? ???????? ??????????? ? ???????? ?????? ????????? ? ????? ???? ????????????? ? ???????? ?????? ?????????????? ?????? ????? ???????? ?????? ????? ???????? .
???? ??????? 4 / 213 ????? 1125

ความว่า จากท่านหญิงอาอิชะห์มารดาของผู้ศรัทธาทั้งหลายกล่าวว่า “ครั้ง หนึ่งวันอะชูรอเป็นวันที่บรรดาชาวกุรอยช์ประกอบอิบาดะฮฺถือศีลอดในสมัย ญะฮีลิยะฮ์และท่าน รอซูล (ศ็อลฯ) เคยถือศีลอดวันนั้น ในวันที่ท่านรอซูลเดินทางไปยังนครมะดีนะห์ ท่านได้ถือศีลอดและเชิญชวนมวลมนุษย์เพื่อถือศีลอด หลังจากการถือศีลอดเดือนรอมฏอนถูกบัญญัติแล้วจึงยกเลิกจากการถือศีลอดอะชูรอ ดังนั้นหากผู้ใดประสงค์จะถือศีลอดในวันอะชูรอจงถือศีลอด และผู้ใดประสงค์จะละศีลอดก็จงละเถิด” (รายงานโดยอัลบุคอรี 4/213 และมุสลิม 1125)

คำอธิบายหะดีษ

บรรดา อุละมาอ์มีทัศนะที่สอดคล้องกันว่าการถือศีลอดในวันอะชูรอนั้น (คือวันที่ 10 ของเดือนมุฮัรร็อม) ปัจจุบันถือว่าเป็นสุนัตมิใช่วาญิบ แต่พวกเขามีทัศนะที่ขัดแย้งกันในหุกมในสมัยต้นๆ ของอิสลาม ขณะที่มีการบัญญัติให้ถือศีลอดก่อนการถือศีลอดในเดือนรอมฏอน

มัซฮับ อบู หะนีฟะฮ์มีความเห็นว่าหุกมของการถือศีลอดนั้นเป็นวาญิบดังมีหลักฐานระบุว่า ท่านรอซูลได้สั่งบรรดา เศาะฮาบะฮ์ให้ถือศีลอด ดังนั้นเมื่อเป็นคำสั่งแล้วหุก่มจึงเป็น วาญิบ

ในมัซฮับซาฟีอีย์ เห็นว่าการถือศีลอดดังกล่าวเป็นสุนัต ดังมีหลักฐานอยู่ว่า ท่านรอซูล (ศ็อลฯ) ได้กล่าวว่า “วันนี้เป็น วันอะชูรอ อัลลอฮ (ซุบฮ) มิทรงบัญญัติให้สูเจ้าถือศีลอด”

ที่จริงแล้วบรรดาอุละมาอ์มีทัศนะที่ เป็นเอกฉันท์เกี่ยวกับการถือศีลอดในวันอะชูรอว่าไม่เป็นวาญิบแต่เป็นสุนัต เท่านั้น [เศาะฮีห์มุสลิม อธิบายโดย อัน-นะวะวีย์ 8/4-5]

บทเรียนจากหะดีษ

1. การถือศีลอดในวันอะชูรอเป็นข้อปฏิบัติของชาวกุรอยช์ในสมัยญะฮีลียะห์

2. อะชูรอคือ วันที่ 10 ของเดือนมุหัรร็อม

3. การถือศีลอดในวันอะซูรอนั้น ท่านรอซูล(ศ็อลฯ) เคยปฏิบัติมาก่อนหน้าที่การถือศีลอดในเดือนรอมฎอนจะถูกบัญญัติขึ้นมา

4. ในช่วงต้นๆ ของการอพยพ (ฮิจญ์เราะฮ์) ท่านรอซูลยังถือศีลอดอะชูรอและยังสั่งให้บรรดาเศาะฮาบะฮ์ถือศีลอดอีกด้วย

5. แต่ในปีที่ 2 ของปีฮิจญ์เราะห์โองการเกี่ยวกับการถือศีลอดก็ถูกประทานลงมา ดังนั้น การถือศีลอดในเดือนรอมฎอน จึงถือเป็นฟัรฎูสำหรับผู้ที่มีเงื่อนไขครบถ้วนตามที่บัญญัติแล้วจะต้องถือ ปฏิบัติ ดังนั้น การถือศีลอดอะชูรอจึงกลายเป็นสุนัตที่สามารถเลือกกระทำหรือเลือกไม่กระทำก็ ได้

หะดีษบทที่ 2

ประตูสวรรค์ถูกเปิดและประตูนรกถูกปิดไว้

???? ?????? ?????????? ?????? ????? ?????? ????? ???????? ????? ?????? ????? ???????? ????????? ????? :" ????? ????? ????????? ???????? ????????? ?????????? ??????????? ????????? ???????? ??????????? ??????????????? " ???? ???????

ความว่า จากอบี ฮุรอยเราะห์ เราะฏิยัลลอฮุกล่าวว่า
“ท่านรอซูล กล่าวว่า เมื่อเดือนรอมฏอนได้เยือนมา บรรดาประตูสวรรค์ก็ถูกเปิดไว้และบรรดาประตูนรกก็จะถูกปิดไว้
และบรรดาชัยฏอนก็จะถูกล่ามโซ่ไว้”
(รายงานโดยบุคอรี 4/96-97 มุสลิม 1079)


คำอธิบายหะดีษ

การ เยือนมาของเดือนรอมฏอนนั้นเป็นสัญญาณแห่งความดีงามแก่ผู้ที่มีความศรัทธา ด้วยความเมตตาและความโปรดปรานของอัลลอฮซุบฮานะฮูวะตะอาลา พระองค์จึงได้ทรงเปิดบรรดาประตูสวรรค์เสมือนว่าพระองค์ทรงต้อนรับบ่าวที่มี ความศรัทธาแและมีความภักดีต่อพระองค์ และยินยอมที่จะปฏิบัติตามคำสั่งทุกอย่างของพระองค์ แม้ว่าจำต้องอดอาหารและเครื่องดื่ม ตลอดจนลดความรู้สึกของอารมณ์ใฝ่ต่ำ หวังเพื่อผลตอบแทนและผลบุญจากพระองค์เพียงผู้เดียวเท่านั้น ในเวลาเดียวกันอัลลอฮทรงปิดบรรดาประตูนรก เสมือนว่าได้แจ้งให้ทราบว่านรกนั้นมิใช่เป็นสถานที่สำหรับพวกเขา อัลลอฮฺยังทรงล่ามโซ่บรรดาชัยฏอนมารร้ายที่มีบทบาทสำคัญในสิ่งที่ชั่วร้าย ต่อมนุษย์ เพื่อให้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลายสามารถปฏิบัติภารกิจและประกอบอิบาดะห์ต่ออัล ลอฮอย่างอิสระและสมบูรณ์ปราศจากการรบกวนของชัยฏอนมารร้าย

บทเรียนจากหะดีษ

1. รอมฏอนเป็นเดือนอันประเสริฐยิ่งกว่าเดือนอื่นๆ

2. ในเดือนรอมฏอนอัลลอฮทรงประทานความโปรดปรานอย่างกว้างขวางด้วยการเปิดบรรดา ประตูสวรรค์ และทรงปิดบรรดาประตูนรก ขณะเดียวกันอัลลอฮยังทรงล่ามโซ่บรรดาชัยฏอนมารร้ายเพราะว่าอัลลอฮได้ให้ เกียรติแก่บรรดาผู้ศรัทธาที่ภักดีต่อพระองค์

3. รอมฏอนเป็นเดือนที่เปี่ยมล้นไปด้วยความโปรดปรานและเป็นฤดูแห่งความดีงาม

4. ส่งเสริมให้มีการประกอบความดีในเดือนรอมฏอนมากกว่าเดือนอื่นๆ ด้วยเหตุนี้เองพระองค์จึงเปิดบรรดาประตูสวรรค์และทรงปิดบรรดาประตูนรก

5. ผู้ใดที่ไม่สามารถสนองรับความดีงามในเดือนรอมฏอนแล้วนั่นก็หมายความว่าเขาผู้นั้นถูกกีดกั้นจากความดีงาม

6. พระองค์ได้ล่ามโซ่บรรดาชัยฏอนมารร้ายไว้ ทั้งนี้ก็เพื่อให้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลายสามารถประกอบอะมั้ลอิบาดะห์ในเดือน รอมฏอนอย่างเต็มความสามารถและอิสระจากการรบกวนของชัยฏอนมารร้ายทั้งหลาย

7. หาก บุคคลนั้นยังคงกระทำความชั่วหรือมะเซี๊ยตในเดือนรอมฏอนแล้ว นั่นหมายความว่าความชั่วนั้นมาจากตัวของเขาเองมิใช่มาจากการหลอกลวงของชัย ฏอนมารร้าย

 

หะดีษบทที่ 3

ปลอดภัยจากไฟนรก


???? ?????? ?????????? ?????? ????? ?????? ????? : ????? ???????? ????? ?????? ????? ???????? ????????? 
????? ????? ??????? ???????? ???? ?????? ????????? ????????? ??????????????? ?????????? ??????? ??????????? ????????? ???????? ?????? ???????? ??????? ?????? ?????????? ????????? ????????? ?????? ???????? ??????? ????? ? ?????????? ??????? : ??? ??????? ????????? ???????? ? ????? ??????? ??????? ???????? ??????? ????????? ???? ????????? ???????? ????? ????????  ???? ?????? ???? 4/311 – 312 ???????? 683 ???????? 4/130 ???? ???? 1642

ความว่า จากอบี ฮุรอยเราะห์เราะฏิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่าท่านรอซู กล่าวว่า

”เมื่อ ค่ำคืนแรกของเดือนรอมฏอนได้เยือนมา บรรดาชัยฏอนมารร้ายและบรรดาญินที่เนรคุณก็จะถูกล่ามโซ่ไว้ บรรดาประตูนรกก็จะถูกปิด จะไม่มีแม้แต่ประตูเดียวที่เปิดไว้ และบรรดาประตูสวรรค์ก็จะถูกเปิด จะไม่มีแม้แต่ประตูเดียวที่ปิดไว้ และผู้ประกาศก็จะป่าวประกาศโดยกล่าวว่า (ด้วยคำพูด) “โอ้ผู้ใฝ่หาความดีจงทำต่อไปเถิด และโอ้ผู้ใฝ่หาความชั่วจงหยุดกระทำ(ความชั่ว)เถิด และเป็นสิทธิของอัลลอฮที่จะปลดปล่อยคนจำนวนหนึ่งจากจำนวนที่มากมายจากไฟ นรก”และเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นทุกค่ำคืน (ของเดือนรอมฏอน)

(รายงานโดยอะหมัด 4/311-312 อัตติรมีซีย์ 683 อันนะซาอีย์ 4/130 และอิบนุ มาญะห์ 1642)


คำอธิบายหะดีษ

อุละมาอ์บางท่านกล่าวว่าหิกมะห์หรือวิทยปัญญาในการล่ามโซ่บรรดาชัยฏอนมารร้าย นั้น ก็เพื่อมิให้บรรดาชัยฏอนคอยกระซิบกระซาบบรรดาผู้ที่ถือศีลอด หลักฐานก็คือคนที่จมปลักในความเลวร้ายจำนวนมากได้ละและเลิกจากการกระทำความ ชั่วและได้ขออภัยโทษต่ออัลลอฮ ส่วนผู้ที่ได้ปฏิบัติเช่นดังกล่าวแล้วก็เนื่องจากผลของการหลอกลวงของชัยฏอน ยังคงมีอยู่ในหัวใจของคนที่ชั่วและเจริญงอกงามในความคิดของเขา กอฎีย์ อิยาฏกล่าวว่า หะดีษดังกล่าวนั้นเมื่อมองตามผิวเผินแล้ว จะเห็นว่า เหตุการณ์ต่างๆ ที่กล่าวในหะดีษนั้นเป็นสัญญาณบอกให้บรรดามะลาอิกะฮ์รับรู้ว่าเดือนรอมฏอน กำลังเยือนมา ขณะเดียวกันพวกเขาก็จะสรรเสริญยกย่องเกียรติของรอมฏอนและจะป้องกันมิให้ บรรดาชัยฏอนคอยรบกวนผู้ศรัทธา ขณะเดียวกันก็สามารถที่จะยึดว่าเป็นสัญญลักษณ์ของผลบุญที่มากมายและการอภัย โทษจากอัลลอฮฺ การหลอกลวงจากชัยฏอนจะลดน้อยลง เสมือนพวกมันกลายเป็นผู้ที่ถูกล่ามโซ่ไว้ ในหะดีษนี้ถือได้ว่าเป็นการเปิดประตูสวรรค์ทั้งหมดนั้นเป็นการแสดงให้เห็น ว่าอัลลอฮได้เปิดโอกาสให้บ่าวของพระองค์ทำการภักดีต่อพระองค์ อันเป็นสาเหตุสำคัญในการเข้าสรวงสวรรค์ของพระองค์ และการปิดบรรดาประตูนรก นั่นก็หมายถึงการกีดกั้นความนึกคิดที่จะทำความชั่ว อันเป็นสาเหตุสำคัญของการเข้านรก ส่วนการล่ามโซ่บรรดาชัยฏอนนั้นก็เป็นการกันไม่ให้มันคอยหลอกลวงมนุษย์ให้การ กระทำความชั่วนั่นเอง

อัล-กุรฏุบีย์กล่าวว่า หากมีคนถามว่า : ทำไมจึงมีคนจำนวนมากยังคงทำความชั่วในเดือนรอมฏอนทั้งๆ ที่ในเดือนดังกล่าวอัลลอฮได้ล่ามโซ่บรรดาชัยฏอนมารร้ายแล้ว คำตอบคือ เป็นการลดความชั่วทุกอย่างจากบรรดาผู้ถือศีลอดที่รักษาเงื่อนไขต่างๆและ มารยาทของการถือศีลอด ส่วนการล่ามโซ่นั้นเฉพาะชัยฏอนที่เลวร้ายมากๆ เท่านั้น แต่มิใช่ชัยฏอนทั้งหมด และการกระทำความชั่วนั้นอาจจะเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ที่มิใช่มาจากการกระซิบกระซาบของบรรดาชัยฏอน เช่น อาจจะมาจากมนุษย์มีจิตใจที่ชั่วร้าย ธรรมเนียมประเพณีที่ไม่ดีไม่งามซึ่งมักจะทำกันเป็นประจำทุกวัน หรืออาจจะมาจากชัยฏอนที่อยู่ในคราบของมนุษย์

นอกจากประตูสวรรค์จะถูก ปิดและประตูนรกจะถูกเปิด ซึ่งเป็นความโปรดปรานของอัลลอฮแด่บ่าวที่ต้องการทำความดีงามแล้ว ณ ที่นั่นยังมีเสียงที่เรียกร้องมาแต่ไกล อุละมาอ์บางท่านกล่าวว่า เสียงเรียกร้องนั่นเป็นเสียงของมะลาอิกะห์ หรือเป็นการดลใจแก่บรรดาผู้ที่พระองค์ประสงค์ให้ประกอบความดี “โอ้ผู้ที่ใฝ่หาความดีและผลบุญทั้งหลาย จงกราบไหว้อัลลอฮและจงภักดีต่อพระองค์เถิด จงเพิ่มความพยายามในการประกอบอิบาดะห์ต่อพระองค์ และโอ้บรรดาผู้ชอบความชั่วร้ายจงหยุดจากการกระทำความชั่วและจงกลับเข้าหาอัล ลอฮเถิด แท้จริงแล้ว นี่คือเวลาที่พระองค์จะทรงรับการขออภัยโทษ แท้จริงแล้วอัลลอฮจะทรงปลดปล่อยบ่าวของพระองค์จำนวนมากจากไฟนรก จงวิงวอนและขอดุอาอ์เพื่อให้ตัวท่าน ครอบครัว ญาติพี่น้องและเพื่อนพ้องของท่านอยู่ในกลุ่มคนที่พระองค์ทรงปลดปล่อยจากไฟ นรก” [ฟัตฮุ อัล-บารีย์ 4/114]


บทเรียนจากหะดีษ

1. ความประเสริฐของเดือนรอมฏอนตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งสิ้นสุด

2. ช่วงต้นของเดือนรอมฏอนบรรดาชัยฏอนและญินที่ชั่วร้ายจะถูกล่ามโซ่

3. ในเดือนรอมฏอนประตูนรกทั้งหลายจะถูกปิด จะไม่มีแม้แต่ประตูเดียวที่เปิดไว้ ทั้งนี้เพราะความสำคัญและเกียรติของเดือนรอมฏอน

4. เดือนรอมฏอนยังเป็นเดือนที่ประตูสวรรค์ทั้งหลายจะถูกเปิดและจะไม่มีแม้แต่ ประตูเดียวที่ปิดไว้ ทั้งนี้เป็นการส่งเสริมให้ผู้ศรัทธาประกอบความดีและอิบาดะห์อย่างเต็มที่ เปี่ยม

5. ชัยฏอนมารร้ายและญินคอยหลอกลวงมนุษย์ แต่ในเดือนรอมฏอนพวกมันจะถูกล่ามโซ่ ทั้งนี้เป็นการให้เกียรติและโอกาสแก่ผู้ศรัทธาในการประกอบอิบาดะห์และทำการ ภักดีต่ออัลลอฮอย่างเต็มความสามารถ

6. ความโปรดปรานของอัลลอฮแด่บ่าวของพระองค์นั้นกว้างขวางยิ่งนัก จนกระทั่งคนจำนวนมากที่อยู่ในนรกพระองค์ทรงปลดปล่อยพวกเขาออกมาจากนรกในทุก ค่ำคืนของเดือนรอมฏอน

 

 หะดีษบทที่ 4

บาปที่ผ่านไปได้รับการอภัยโทษ


???? ????? ?????????? ?????? ????? ?????? ????? ?????????? ?????? ????? ???????? ????????? ?????:" ???? ????? ????????? ?????????? ????????????? ?????????? ??? ????????? ???? ????????"

???? ??????? 4/221 ????? 760

 

ความหมาย จากอบีฮุรอยเราะห์ เราะฏิยัลลอฮุอันฮุ ท่านรอซูล กล่าวว่า “ผู้ใดที่ถือศีลอดเดือนรอมฏอนด้วยความศรัทธาและบริสุทธิ์ และมุ่งหวังผลบุญจากการถือศีลอดเขาจะได้รับการอภัยบาปของเขาที่ผ่านมา” (หะดีษรายงานโดยอัลบุคอรีย์ 4/221 และมุสลิม 760)


คำอธิบายหะดีษ

คำ ว่า “??????????” คือ การอี๊ติก็อดต่อหน้าที่ในการถือศีลอดอย่างเต็มเปี่ยม ส่วนคำว่า “???????????” คือ การวิงวอนขอผลบุญจากอัลลอฮ ซุบฮานะหุวะตะอาลา

อัล เคาะฏอบีย์ กล่าวว่า “???????????” หมายถึง การตั้งใจ นั่นคือ การที่เขาถือศีลอดอันเนื่องจากหวังเพื่อได้รับผลบุญที่เกิดจากจิตใจที่ บริสุทธิ์และยินยอม ขณะเดียวกันเขาจะไม่มีความรู้สึกหนักใจในการถือศีลอดและไม่รู้สึกว่าเวลาใน การถือศีลอดนั้นนานเกินไป [ฟัตฮุ อัล-บารีย์ 4/114]

อัส-สุยูฏีย์ กล่าวว่า คำว่า “??????????” หมายถึง การยินยอมให้การถือศีลอดเป็นฟัรดูเหนือเขาและเป็นสิทธิที่เป็นวาญิบและเป็น หนึ่งในรุก่นอิสลาม ยังเป็นส่วนหนึ่งของกระทำที่อัลลอฮให้คำมั่นสัญญาว่าจะให้ผลบุญและผลตอบแทน [ตุหฺฟะตุลอะห์วะซีย์ 3/361]

อิหม่ามอันนะวะวีย์กล่าวว่า อะมั้ลอิบาดะห์ทุกอย่างที่สามารถไถ่จากบาปต่างๆ เมื่อตรงกับบาปต่างๆ (ไม่ว่าจะเป็นบาปใหญ่หรือบาปเล็ก) บาปนั้นก็จะถูกลบล้างไป ซึ่งบาปเล็กก็จะถูกลบไป ส่วนบาปใหญ่ก็จะให้เบาบางลง หากอิบาดะห์ต่างๆ มิใช่เป็นสาเหตุของการยกระดับ (ดะรอญะห์) ในสวรรค์

อิบนุ มุนซิรกล่าวว่า การให้อภัยนั้นจะคลอบคลุมถึงบาปทุกอย่าง ทั้งที่เป็นบาปใหญ่และบาปเล็ก

บทเรียนจากหะดีษ

1. กล่าวถึงความประเสริฐของการประกอบอิบาดะห์คือ การถือศีลอด

2. ผู้ที่ถือศีลอดอย่างแท้จริงนั้นจะได้รับการอภัยโทษจากบาปต่างๆ ที่ผ่านไป

3. การถือศีลอดที่แท้จริงเกิดจากความศรัทธาต่อคำสั่งของอัลลอฮ และหน้าที่ในการถือศีลอด พร้อมทั้งหวังในผลบุญจากพระองค์

4. ในภาพรวมแล้ว หะดีษนี้จะกล่าวถึงบาปทั้งที่เป็นบาปใหญ่และบาปเล็กจะได้รับการอภัยจากอัล ลอฮ แต่ทัศนะของนักวิชาการเห็นว่าการอภัยโทษนั้นเจาะจงเฉพาะที่เป็นบาปเล็กเท่า นั้น ส่วนบาปใหญ่จะเบาบางลงเท่านั้น

5. การอภัยโทษจากอัลลอฮนับเป็นความโปรดปรานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแด่บ่าวของพระองค์

 

หะดีษบทที่ 5

การถือศีลอดสำหรับอัลลอฮ


???? ????? ?????????? ?????? ????? ?????? ????? : ????? ??????? ????? ?????? ????? ???????? ????????? : ????? ????? ???????????? : " ????? ?????? ????? ????? ???? ?????? ?????????? ? ?????????? ???? ??????? ??????? ???? ? ?????????? ???? ?????????? ?????? ????? ???????? ???? ?????? ????????? " ???? ???? 1151

ความหมาย จากอบี ฮุรอยเราะห์ เราะฏิยัลลอฮุกล่าวว่า“ท่าน รอซูล กล่าวว่า “อัลลอฮทรงตรัสความว่า อะมั้ลทุกอย่างของลูกอาดัม (มนุษย์) นั้นเป็นสิทธิของเขา ยกเว้นการถือศีลอดนั้นเป็นของข้าและข้าจะตอบแทน(แก่ผู้ถือศีลอด) และแท้จริงแล้วกลิ่นปากของผู้ที่ถือศีลอดสำหรับอัลลอฮนั้นหอมยิ่งกว่ากลิ่น ชะมดเชียง” (รายงานโดยมุสลิม 1151)


คำอธิบายหะดีษ

บรรดา อุละมาอ์มีทัศนะที่แตกต่างกันเกี่ยวกับความหมายของคำว่า“อะมั้ลทุกอย่างของ ลูกอาดัมเป็นสิทธิของข้า ยกเว้นการถือศีลอด” เพราะตามที่ทราบกันแล้วว่า การประกอบอะมั้ลทุกอย่างที่ทำขึ้นโดยมนุษย์นั้นก็เพื่ออัลลอฮ

อุละ มาอ์บางท่านกล่าวว่า เนื่องจากการถือศีลอดนั้นบุคคลหนึ่งจะไม่มอบให้ผู้อื่นยกเว้นแด่อัลลอฮผู้ เดียวเท่านั้น คนกาฟิรในแต่ละยุคสมัยนั้น พวกเขามิได้กราบไหว้พระผู้เป็นเจ้าด้วยการถือศีลอด แต่พวกเขาเคยบูชาในรูปของการละหมาดหรือการสุญูดและการให้ทาน

อัล-เคาะฎอบีย์กล่าวว่า เนื่องจากผู้ที่ถือศีลอดนั้นไม่ได้รับผลบุญจากการถือศีลอด (เพราะว่าการถือศีลอดนั้นหิวและกระหาย)

อุ ละมาอ์บางท่านกล่าวว่า การไม่รับประทานอาหารนั้นเป็นคุณลักษณะหนึ่งของอัลลอฮ ดังนั้น ผู้ที่ถือศีลอดจึงอยู่เคียงข้างกับคุณลักษณะดังกล่าว แต่ (จงทราบไว้เถิดว่า) คุณลักษณะดังกล่าวไม่ได้เหมือนกับคุณลักษณะของบรรดามัฆลูกของพระองค์


บทเรียนจากหะดีษ

1. กล่าวถึงความยิ่งใหญ่และผลบุญของการถือศีลอด

2. มารยาทที่ดีงามของการถือศีลอด เนื่องจากอัลลอฮจะทรงตอบแทนด้วยผลบุญที่ยิ่งใหญ่

3. การถือศีลอดเป็นเพียงอะมั๊ลเดียวเท่านั้นที่ทำขึ้นเป้าหมายเพื่ออัลลอฮ เพราะการถือศีลอดเป็นความลับระหว่างบ่าวกับอัลลอฮ

4. ความโปรดปรานของอัลลอฮนั้นกว้างไกลมาก

5. ความประเสริฐของผู้ที่ถือศีลอดนั้นในทัศนะของอัลลอฮแล้วปากของผู้ที่ถือศีลอดจะมีกลิ่นหอมยิ่งกว่ากลิ่นชะมดเชียง

 

หะดีษบทที่ 6

การถือศีลอดเป็นโล่ห์กำบัง


???? ????? ?????????? ?????? ????? ?????? ????? ??????? ????? ?????? ????? ???????? ????????? ????? : ?????????? ??????? ????? ???????? ????? ???????? . ?????? ??????? ????????? ???? ??????? ?????????? ?????? ??????? ? ???????????
??????? ?? ????? 4/103 ????? 1151


ความหมาย จากอบี ฮุรอยเราะห์ เราะฏิยัลลอฮุอันฮุ ท่านรอซูล กล่าวว่า “การ ถือศีลอดนั้นเป็นโล่ห์กำบัง (เมื่อผู้ใดถือศีอด)
ดังนั้นเขาจงอย่าได้กล่าวคำพูดที่ชั่ว (เหมือนกับการกระทำของผู้ที่อวิชา) และหากมีผู้ใดจะสาปแช่ง หรือกล่าวเหยียดหยาม และจงพูดว่า แท้จริงแล้วฉันกำลังถือศีลอด” (2 ครั้ง) (รายงานโดยอัล-บุคอรี4/103 มุสลิม 1151)


คำอธิบายหะดีษ

คำว่า “???????” มีหะดีษหลายบทได้ให้ความหมายที่แตกต่างกันไป ดังนี้

1. การเพิ่มเติมในรายงานหะดีษของสะอีด บิน มันซูรหมายถึงการระมัดระวังจากไฟนรก

2. การเพิ่มเติมในรายงานหะดีษของอัน-นะซาอีย์ หมายถึงการถือศีลอดนั้นเป็นเสมือนโล่ห์กำบัง(ที่ถูกเตรียมไว้) โดยคนใดคนหนึ่งจากพวกท่านเพื่อป้องกันตัวในการสงคราม

บรรดาอุละมาอ์ยังได้ให้ทัศนะต่าง ๆ ดังนี้

- เจ้าของหนังสือ “อันนิฮายะห์” ระบุว่า การถือศีลอดนั้นสามารถปกป้องผู้ที่ถือศีลอดจากการรบกวนของอารมณ์ใฝ่ต่ำ

- อัลกุรฎุบีย์กล่าวว่า เป็นกำแพงกั้น ตามเป้าหมายการถือศีลอดของศีลอดนั้น ดังนั้นผู้ที่ถือศีลอดจะต้องรักษาศีลอดของเขาจากทุกสิ่งที่อาจจะทำให้การถือ ศีลอดของเขาเสียไป

- อิยาฎกล่าวว่า การถือศีลอดสามารถป้องกันจากบาปต่างๆ หรือจากไฟนรก หรือจากทั้งสองอย่างนั้น ทัศนะนี้ได้รับการสนับสนุนจากอิหม่ามอันนะวะวีย์

- อิบนุ อะเราะบีย์กล่าวว่า สาเหตุที่การถือศีลอดเป็นสิ่งที่สามารถปกป้องจากไฟนรกได้ก็เพราะว่าการถือ ศีลอดนั้นสามารถปกป้องจากการหลอกลวงของอารมณ์ใฝ่ต่ำ เพราะว่านรกนั้นจะถูกล้อมรอบด้วยอารมณ์ใฝ่ต่ำนั่นเอง


สรุป

ใน เมื่อการศีลอดสามารถปกป้องจากอารมณ์ใฝ่ต่ำของดุนยาแล้ว แน่นอนที่สุดการถือศีลอดก็สามารถปกป้องผู้ถือศีลอดจากไฟนรกในวันอะคิเราะห์ ได้เช่นกัน

ในกรณีที่ผู้ถือศีลอด ได้รับการดูถูกเหยียดหยามและถูกสาบแช่งโดยผู้อื่นนั้น เขาจงกล่าวว่าฉันกำลังถือศีลอด ไม่ว่าจะโดยทางวาจาหรือกล่าวในใจก็ได้


บทเรียนจากหะดีษ

1. ให้รักษามารยาทต่างๆ ในการถือศีลอด เพื่อจะได้รับผลของการถือศีลอดอย่างครบถ้วน

2. การกระทำต่างๆ ที่อาจทำให้ผลบุญของการถือศีลอดลงน้อยลง เช่น การพูดจาในสิ่งที่ไร้สาระ และการกระทำต่างๆ ที่เหมือนคนอวิชชา

3. ห้ามผู้ที่ถือศีลอดตอบโต้ต่อคำพูดที่เหยียดหยามตน

4.เพื่อรักษาความสมบูรณ์ของการถือศีลอด เมื่อมีคำพูดที่เหยียดหยามตัวเขาแล้ว ให้ปฏิบัติตัวอย่างมั่นคงในฐานะเป็นผู้ที่ถือศีลอด

5. การไม่ตอบโต้คำพูดที่เหยียดหยามตน อาจจะทำให้สถานการณ์ดีขึ้น โดยเฉพาะเมื่อผู้นั้นกำลังถือศีลอดอยู่

6. อิสลามสอนให้มุสลิมมีมารยาทที่ดีงามและมีความรู้มิใช่มีมารยาทอย่างคนที่โงเขล่า

 

หะดีษบทที่ 7

การถือศีลอดสามารถลดอารมณ์ใฝ่ต่ำ

???? ????? ???????? ?????? ????? ?????? ????? : ????? ??????? ????? ?????? ????? ???????? ???????? : " ??? ???????? ?????????? ???? ?????????? ???????? ????????? ??????????????? ? ????????? ??????? ?????????? ?????????? ?????????? ? ?????? ???? ?????????? ?????????? ??????????? ? ??????? ???? ??????? " ??????? 4779 ????? 1400


ความว่า จากอิบนุ มัสอูด เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า ท่านรอซูล(ศ็อลฯ) กล่าว “โอ้ บรรดาชายหนุ่มทั้งหลาย ผู้ใดจากพวกท่านที่มีความสามารถแต่งงานได้จงแต่งงานเถิด แท้จริงแล้ว (ด้วยการแต่งงานนั้น) สามารถรักษาสายตาของพวกท่าน (จากสิ่งที่หะรอม) และยังสามารถรักษาอวัยวะเพศของท่านได้ (แต่) ถ้าหากผู้ใดไม่สามารถ (แต่งงาน) ดังนั้น พวกท่านจงถือศีลอด เนื่องจากการถือศีลอดสามารถลด” (ความรู้สึกของอารมณ์ใฝ่ต่ำได้) (รายงานโดยมุสลิม 4779 และมุสลิม 1400)

 

คำอธิบายหะดีษ

ในหะดีษข้างต้นได้เชิญชวนเฉพาะในหมู่เยาวชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้มีความสามารถในการแต่งงาน

อิบ นุ หะญัร อัล-อัสเกาะลานีย์กล่าวว่า “โดยปกติแล้วความต้องการทางอารมณ์สูงนั้นจะนำไปสู่การแต่งงาน ซึ่งจะมีอยู่ในตัวของบรรดาคนหนุ่ม ซึ่งจะแตกต่างไปจากผู้ที่สูงอายุ 1

คำ เชิญชวนของท่านรอซูล (ศ็อลฯฯ) ต่อบรรดาชายหนุ่มนั้นเป็นแนวทางแก้ปัญหาทางสังคมที่สำคัญยิ่ง ความระส่ำระสายที่สังคมปัจจุบันกำลังเผชิญอยู่ในทุกวันนี้ เนื่องจากคนหนุ่มสาวจำนวนมากกำลังตกอยู่ในสภาวะที่หะรอมอันเนื่องมาจากความ ผิดพลาดในการใช้อารมณ์ใฝ่ต่ำ จึงทำให้พวกเขาต้องกระทำความชั่วก่อนการแต่งงาน

ด้วยเหตุนี้เองอิส ลามจึงส่งเสริมให้บรรดาคนหนุ่มสาวแต่งงานมีครอบครัว หลังจากที่พวกเขามีความพร้อมที่ดีไม่ว่าทางวัตถุเช่น ค่าสินสอดและความพร้อมในการมีเพศสัมพันธ์ ถ้าหากว่าพวกเขาไม่สามารถกระทำแล้ว ดังนั้นจึงส่งเสริมให้มีการถือศีลอด และด้วยการถือศีลอดสามารถลดอารมณ์ฝ่ายต่ำได้

ความหมายของหนุ่มสาวในที่นี้หมายถึงใคร ดังนั้นอุละมาอ์หลายๆ ท่านมีทัศนะ ดังนี้คือ

- อิหม่ามชาฟิอีย์มีทัศนะว่า ผู้ที่บรรลุศาสนภาวะจนมีอายุครบ 30 ปีบริบูรณ์
- อัล-กุรฏุบีย์มีทัศนะว่า นับตั้งแต่อายุ 16 ปี จนถึง 32 ปี
- ซะมัคชะรีย์มีทัศนะว่า นับจากบรรลุศาสนภาวะจนมีอายุครบ 32 ปี.
- อิบนุ อ๊าศมองว่า เริ่มตั้งแต่บรรลุศาสนภาวะจนถึงอายุ 40 ปี
- อิหม่ามอันนะวะวีย์มีทัศนะว่า ทัศนะที่ถูกต้องที่สุด และได้ถูกคัดเลือกคือ ผู้ที่บรรลุศาสนภาวะและต้องมีอายุไม่เกิน 30 ปี


บทเรียนที่ได้จากหะดีษ

1. แนะนำผู้ที่ไม่มีความสามารถแต่งงานเพราะไม่มีค่าสินสอดด้วยการถือศีลอด เนื่องจากอารมณ์ใคร่มาจากการกินอาหาร เมื่อความต้องการกินมีสูงแล้ว ทำให้มีความต้องการที่จะแต่งงานขึ้น

2. ให้มีการรักษาสายตาและอวัยวะเพศจากสิ่งที่หะรอมอย่างเคร่งครัด

3. คำสอนของอิสลามนั้นตระหนักถึงความเป็นอยู่ของมนุษย์ โดยไม่บังคับบุคคลที่ไม่มีความสามารถให้ปฏิบัติสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ศาสนาบังคับ

4. อิสลามส่งเสริมให้แต่งงานมีครอบครัว ไม่ส่งเสริมให้คนหนุ่มสาวมีชีวิตอยู่อย่างเป็นโสด

5. ความประเสริฐของการถือศีลอดสามารถแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่างๆ หลายประการในชีวิต

6. อิสลามได้ตระหนักเกี่ยวกับสภาพความเป็นอยู่ของคนหนุ่มสาว รวมทั้งแก้ไขปัญหาของพวกเขา

 

หะดีษบทที่ 8

ความสุขของผู้ที่ถือศีลอด

???? ????? ?????????? ?????? ????? ????? ????? : ????? ??????? ????? ?????? ????? ???????? ???????? : " ??????????? ??????????? ????????????? ? ????? ???????? ?????? ?????????? ??????? ?????? ??????? ?????? ?????????" ???? ???? 2/807

ความว่า จากอบี ฮุรอยเราะห์ เราะฎิยัลลอฮ กล่าวว่า ท่านรอซูลกล่าวว่า “สำหรับผู้ที่ถือศีลอดมีความสุขอยู่ 2 วาระ (หนึ่ง) มีความสุขขณะละศีลอด (สอง) ความสุขขณะพบกับพระผู้เป็นเจ้าของเขา” (ในวันอาคีเราะฮฺ) บันทึกโดยมุสลิม 2/807


คำอธิบายหะดีษ

อัล-กุรฏุบีย์กล่าวว่า ความสุขในขณะละศีลอดนั้นคือ การหายจากความหิวและการกระหายน้ำ เพราะได้ละศีลอด

อิหม่าม อันนะวะวีย์กล่าวว่า ความสุขขณะที่พบกับอัลลอฮ เนื่องจากเขาสามารถมองเห็นการตอบแทนจากพระองค์ และรำลึกถึงเนี๊ยะมัตของอัลลอฮ (ซุบฮ) อันเนื่องจากได้รับเตาฟีกจากพระองค์ส่วน (ความสุขขณะละศีลอด) นั้นเนื่องจากเขาได้รับความสมบูรณ์ในการประกอบอิบาดะห์และปลอดภัยจากสิ่งที่ ทำให้อิบะดะห์ของการถือศีลอดนั้นเสียไป ทั้งยังประสบความสำเร็จในสิ่งที่เขาคาดหวังไว้ในผลบุญ [เศาะฮีห์มุสลิม บิซัรฮุ อันนะวะวีย์ 8/31-32]


บทเรียนจากหะดีษ

1. ผู้ที่ถือศีลอดจะมีความสุขอยู่ 2 ประการ

2. กล่าวถึงเนี๊ยะมัตและผลตอบแทนของผู้ที่ถือศีลอดที่จะได้รับจากอัลลอฮ

3. เนี๊ยะมัตในดุนยาที่สามารถลิ้มรสได้ก็คือ ขณะละศีลอดหรือหลังจากผ่านการถือศีลอดเดือนรอมฎอน

4. เนียะมัตที่สามารถลิ้มรสได้วันอาคีเราะห์ก็คือ ขณะที่พบกับพระพักตร์ของอัลลอฮฺ ซึ่งเขาจะได้รับการตอบแทนความดีงามจากพระองค์

5. การถือศีลอดนั้นแม้ว่าในรูปธรรมแล้วจะหิวกระหาย แต่ในความเป็นจริงแล้วจะประกอบด้วยความสุขอันใหญ่หลวง โดยเฉพาะความสุขขณะพบกับพระพักตร์ของอัลลอฮฺ

6. ผลของการทดสอบจากอัลลอฮนั้นจะได้รับผลตอบแทนที่ดีงาม อาจได้รับขณะที่มีชีวิตอยู่บนโลกนี้หรือในวันอะคีเราะห์

 

หะดีษบทที่ 9

กลิ่นปากของผู้ถือศีลอด

???? ????? ?????????? ?????? ????? ?????? ????? : ????? ??????? ????? ?????? ????? ???????? ????????? : " ????? ????? : ?????????? ?????? ????????? ???????? ????????? ???? ?????????? ???????? ??????????? ???? ????? ???????? . ???? ???? 2/807

ความว่า ท่านรอซูล (ศ็อลฯ) กล่าวว่า “ข้า แด่พระผู้เป็นเจ้า ซึ่งชีวิตมูหัมมัดอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ แท้จริงกลิ่นปากของผู้ถือ ศีลอดในทัศนะของอัลลอฮนั้นหอมยิ่งกว่ากลิ่นชะมดเชียง” (บันทึกโดยมุสลิม 2/807)


คำอธิบาย

อัล-กอฏีย์ กล่าวว่า อุละมาอ์บางท่านกล่าวว่าอัลลอฮทรงตอบแทนผู้ที่ถือศีลอดในวันอะคิเราะห์นั้น โดยที่กลิ่นปากของเขาหอมยิ่งกว่ากลิ่นชะมดเชียง และมีความเสมอเหมือนกับเลือดของผู้ที่ตายชะฮีดซึ่งจะมีกลิ่นหอมยิ่งกว่า กลิ่นชะมดเชียง

อุละมาอ์ท่านอื่นกล่าวว่า สำหรับมะลาอีกะฮ์แล้วกลิ่นของผู้ที่ถือศีลอดนั้นจะมีกลิ่นหอมยิ่งกว่ากลิ่น ชะมดเชียง แม้ว่าสำหรับคนเราแล้วจะมีกลิ่นที่ตรงกันข้ามก็ตาม

อิหม่าม อันนะวะวีย์กล่าวว่า ที่เศาะฮีห์ก็คือ ตามที่อัด-ดาวิรีย์กล่าวว่าเหมือนอย่างที่บรรดาเศาะฮาบะฮ์ของพวกเขาพูดว่า กลิ่นปากของผู้ที่ถือศีลอดนั้นจะได้ผลบุญมากกว่าการสุนัตให้พรมน้ำหอมในพิธี ต่างๆ เช่น วันอีด หรือการรวมตัวต่างๆ หะดีษนี้เป็นการอ้างอิงของบรรดาเศาะฮาบะห์ของเราที่พูดว่ามักรูฮในการแปรง ฟันสำหรับผู้ที่ถือศีลอดหลังจากดวงอาทิตย์คล้อย เพราะอาจจะทำให้กลิ่นตามคุณลักษณะและผลบุญที่จะได้รับในหะดีษดังกล่าวหมดไป แม้ว่าการแปรงฟันนั้นจะมีข้อดีก็ตาม แต่ความประเสริฐของกลิ่นปากนั้นสำคัญเหนือกว่า พวกเขากล่าวว่ามีความเสมอเหมือนกับเลือดของคนที่ตายชะฮีด ซึ่งเป็นที่รับรองว่ามีกลิ่นหอมมาก ด้วยเหตุนี้จึงไม่มีการอาบน้ำศพสำหรับผู้ที่ตายชะฮีด แม้ว่าการอาบน้ำศพนั้นหุกมวาญิบก็ตาม การละทิ้งสิ่งที่วาญิบเพื่อรักษาเลือดที่ยอมรับว่ามีกลิ่นหอมนั้นถือว่าหุ ก่ม อนุญาตให้ทำได้ เฉกเช่นเดียวกันกับการละทิ้งการแปรงฟันซึ่งมิใช่เป็นวาญิบ เพื่อคงไว้ซึ่งกลิ่นที่ถือว่ามีกลิ่นหอม จึงเป็นเรื่องสำคัญมากกว่า [เศาะฮีห์มุสลิม ชัรฮุ อันนะวะวีย์ 8/30]


บทเรียนจากหะดีษ

1. ความประเสริฐของผู้ที่ถือศีลอด กระทั่งปากของเขา อัลลอฮยังได้ให้ความสำคัญอีกด้วย

2. กลิ่นปากที่เหม็นของผู้ที่ถือศีลอด อัลลอฮทรงเปลี่ยนให้มีกลิ่นหอม

3. อัลลอฮทรงให้เกียรติแก่ผู้ที่ถือศีลอด

4. อัลลอฮทรงอำนาจสามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งหนึ่งสิ่งใดตามความประสงค์ของพระองค์

 

หะดีษบทที่ 10

อัล-ร็อยยาน : ประตูสวรรค์สำหรับผู้ที่ถือศีลอด

???? ?????? ???? ?????? ??????????? ?????? ????? ?????? ????? : ???????? ??????? ????? ?????? ????? ???????? ????????? ??????? : ????? ??? ????????? ?????? ??????? ???? : ?????????? ? ??????? ????? ????? ??????????? ?????? : ?????? ????????????? ? ??????? ???????? ? ???????? ?????????????? ?????? ? ?????? ?????? ?????? ???? ??????? ???????. ???? ??????? 765 ???????? 4/168

ความว่า จากซะห์ล บิน สะอ์ด อัซซาอิดีย์ กล่าวว่า ฉันฟังท่าน รอซูล (ศ็อลฯ) กล่าวว่า “แท้ จริงแล้วในสรวงสวรรค์นั้นจะปรากฏประตูหนึ่งชื่อว่า “???????? ” ดังนั้นเมื่อวันปรโลกได้เกิดขึ้น มะลาอิกะฮ์จะถามว่า : ผู้ที่ถือศีลอดอยู่ไหน? ครั้นเมื่อผู้ที่ถือศีลอดเข้าไป ประตูก็จะปิด และพวกเขาก็จะดื่มน้ำจากสรวงสวรรค์ ผู้ใดที่ได้ดื่มน้ำจากสรวงสวรรค์แล้วเขาจะไม่รู้สึกกระหายตลอดไป” (บันทึกโดยอัต-ติรมีซี 765 และอัลนะซาอีย์ 4/168/)

 คำอธิบาย

“????????” เป็นชื่อหนึ่งของประตูสวรรค์ที่อัลลอฮได้เตรียมไว้แก่บรรดาผู้ถือศีลอด เดิมมาจากคำภาษาอาหรับว่า “อัล-ร็อยย์” หมายถึง การรดน้ำหรือการทำให้หายไปจากความกระหาย จึงเป็นสิ่งที่สมควรสำหรับผู้ที่ถือศีลอด

อัซ-ซัยน์ อิบนุ อัล-มุนีร กล่าวว่า ประตูดังกล่าวนั้นอยู่ในสรวงสวรรค์มิใช่ว่าสวรรค์นั้นมีประตูหาใช่ไม่ ซึ่งเป็นการให้ตระหนักว่าในประตูดังกล่าวนั้นจะปรากฎซึ่งเนี๊ยะมัตและการพัก ผ่อนหย่อนใจในสวนสวรรค์ ดังนั้นจึงมีความสุขสำราญและรำลึกถึงประตูดังกล่าว [ฟัตฮุล บารีย์ 4/111]

 บทเรียนจากหะดีษ

1. กล่าวถึงผลที่ดีเลิศของผู้ที่ถือศีลอดในวันอะคีเราะห์

2. เนี๊ยะมัตในสวนสวรรค์นั้นมีมากมาย เช่น อัลลอฮฺได้เตรียมประตูไว้เฉพาะสำหรับผู้ที่ถือศีลอด

3. ความพิเศษของผู้ที่ถือศีลอด อัลลอฮฺได้ให้เกียรติแก่พวกเขาด้วยความโปรดปรานที่ไม่มีกับบุคคลอื่น

4. ส่งเสริมให้มีการถือศีลอดเพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่พระองค์ทรงสัญญาไว้

5. ผลตอบแทนที่อัลลอฮฺมอบให้แก่ผู้ที่ถือศีลอด แสดงให้เห็นว่าการถือศีลอดนั้นมีความประเสริฐยิ่ง


หะดีษบทที่ 11

ห่างไกลจากไฟนรก

???? ????? ???????? ????????? ?????? ????? ?????? ????? : ???????? ??????? ????? ?????? ????? ???????? ???????? ??????? : " ???? ????? ??????? ??? ???????? ????? ??????? ????? ???????? ???? ???????? ?????????? ????????? ". ???? ???? 2/808

ความว่า จากอบี สะอีด อัลคุฎรีย์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า “ท่านรอซูล (ศ็อลฯ) กล่าวว่า ผู้ใดถือศีลอดเพื่ออัลลอฮฺหนึ่งวัน อัลลอฮฺจะทรงให้ใบหน้าของเขาห่างไกลจากไฟนรกเจ็ดสิบปี” (บันทึกโดยมุสลิม 2/808)


คำอธิบายหะดีษ

บรรดาอุลามาอ์มีทัศนะที่แตกต่างกันเกี่ยวกับคำว่า “?? ???? ????” โดยมีทัศนะดังต่อไปนี้
- อิบนุ อัลเญาซีย์ กล่าวว่า เป็นการญิฮาด (การพลีชีพในหนทางของอัลลอฮ)
- อัลกุรฏุบีย์ กล่าวว่า เป็นการภักดีต่ออัลลอฮ
- อัลฮาฟิซ กล่าวว่า เป็นคำที่มีความหมายที่กว้างกว่าทัศนะข้างต้น
- อิบนุ ดะกีก อัลอีด กล่าวว่า โดยปกติแล้วจะใช้คำว่า “?? ???? ????” กับการญิฮาด (การพลีชีพในหนทางของอัลลอฮ)


บทเรียนจากหะดีษ

1. ความประเสริฐของการถือศีลอดในหนทางของอัลลอฮฺ มิใช่เพียงแต่ให้ได้ผลบุญมาอย่างเดียวเท่านั้น แต่หวังเพื่อความปลอดภัยจากไปนรกอีกด้วย

2. อัลลอฮฺทรงรักมุสลิมที่ถือศีลอดและต่อสู้ในหนทางของพระองค์

3. ถึงแม้ว่าเวลาเพียงวันเดียวนั้นจะน้อยนิด แต่เมื่อเอาไปใช้ประโยชน์ให้แก่ตนเองและเพื่ออัลลอฮฺแล้ว มันช่างมีราคาที่แพงเหลือเกิน

4. สอนให้มุสลิมตั้งเจตนาที่บริสุทธิ์ในทุกๆ การกระทำโดยเฉพาะการถือศีลอด เพื่อน้อมรับคำสั่งจากพระองค์

5. การถือศีลอดและการญิฮาด เป็นเหตุทำให้บ่าวของพระองค์หลุดพ้นจากไฟนรก

 

 หะดีษบทที่ 12

รักษามารยาทของการถือศีลอด

???? ????? ????????? ??????? ????? ?????? ????? : ????? ??????? ????? ?????? ????? ???????? ???????? ????? ??????? ??????? ???? ????????? ???????? ??????????. ??????? ??????? ??????? ???? ????????? ?????????. ???? ???????? ?? ?????? ??????? ?? ??? ??

ความว่า จากอบี ฮุรอยเราะห์ เราฎิยัลลอฮุอันฮุ ท่านรอซูลกล่าวว่า“บาง ครั้งคนที่ถือศีลอด ผลที่ได้รับจากการถือศีลอดของเขาอาจจะเป็นเพียงแต่ความหิวและกระหายเท่านั้น และบางครั้งคนที่ยืนละหมาดในยามค่ำคืนนั้น ผลที่ได้รับอาจจะเป็นเพียงแค่การอดหลับอดนอนเท่านั้น” (รายงานโดยอัตเฏาะบะเราะนี ฟิลกะบีร วะอัสนาดิฮิ ลาบะส์ บิฮิ ให้ดู อัตตัรฆีบ วัตตัรฮีบ 2/148)


บทเรียนจากหะดีษ

1. เตือนให้คนที่ถือศีลอดให้มีเจตนาที่บริสุทธิ์ ขณะเดียวกันให้รักษามารยาทของการถือศีลอด

2. ผู้ถือศีลอดที่มีเจตนาที่ไม่บริสุทธิ์และหากเขาถือศีลอดโดยไม่ได้รักษามารยาทของการถือศีลอดแล้วถือว่าสูญเปล่า

3. การถือศีลอดและการกิยามุลลัยล์ บางครั้งได้รับผลตอบแทนและบางครั้งไม่ได้รับผลตอบแทน

4. ใช้ให้มีความพยายาม เพื่อให้อะมั๊ลที่ปฏิบัติทุกอย่างได้รับการตอบรับจากอัลลอฮ ส่งเสริมให้การกระทำอะมั๊ลทุกอย่างให้ได้รับการตอบรับโดยอัลลอฮฺ

 

หะดีษบทที่ 13

อันตรายของคำพูดและการกระทำที่โกหกขณะถือศีลอด

???? ????? ?????????? ?????? ????? ?????? ????? : ????? ??????? ????? ?????? ????? ???????? ???????? :" ???? ???? ?????? ?????? ????????? ?????????? ???? ? ???????? ??????? ???????????? ??????? ???? ?????? ????????? ??????????? " ???? ??????? 4/99 ???????? 707 ???????? 2362 ???? ???? 1689

ความว่า จากอบี ฮุรอยเราะห์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “ผู้ ใดที่ไม่ละทิ้งคำพูดต่างๆ ที่โกหก และยังประพฤติปฏิบัติเช่นสิ่งที่โกหกเหล่านั้นอยู่ ดังนั้น อัลลอฮฺจึงไม่ประสงค์ต่อการอดอาหารและการดื่มของเขา” (รายงานโดยบุคอรี 4/99 อัตติรมีซีย์ 707 อบู ดาวูด 2362 และ อิบนุ มาญะห์ 1689)


คำอธิบายหะดีษ

อิบนุ อัล-มุนีรกล่าวว่า คำว่า “อัลลอฮ (ซุบฮ) ไม่ประสงค์ต่อการอดอาหารและการดื่มของเขา” คือ อัลลอฮ (ซุบฮ) ไม่ทรงตอบรับการถือศีลอด

อัล บัยฏอวีย์กล่าวว่า เนื่องจากการถือศีลอดนั้นไม่ใช่ความหิวและความกระหายแต่ผลจากการถือศีลอด นั้นสามารถลดอารมณ์ใฝ่ต่ำและลดอารมณ์ชั่วร้าย จนทำให้อารมณ์ดังกล่าวมีความสงบและมีความสุข

อิบนุ หะญัร อัล-อัส-เกาะลานีย์ กล่าวว่า อาศัยหลักฐานจากคำกล่าวดังกล่าว เนื่องจากการกระทำอันชั่วร้ายทำให้ (มีผลกระทบ) ผลบุญของการถือศีลอดลดลง

อิบ นุ บัฏฏ็อล (หะดีษข้างต้น) มิใช่หมายความว่า สั่งให้เขาละทิ้งการถือศีลอด แต่ความหมายของหะดีษดังกล่าวเพื่อให้ความคุ้มครองจากการพูดโกหก


บทเรียนจากหะดีษ

1. ผู้ที่ถือศีลอดจะต้องละทิ้งคำพูดที่โกหกมดเท็จ

2. ผู้ที่ยังคงพูดจาโกหกมดเท็จขณะที่เขากำลังถือศีลอดนั้นในความหมายที่แท้จริงแล้ว เขามิใช่เป็นผู้ที่ถือศีลอด

3. การถือศีลอดจะไม่มีความหมาย และจะไม่ได้รับผลตอบแทนจากอัลลอฮ หากเขายังพูดโกหกมดเท็จอยู่

4. การพูดโกหกและการประพฤติเช่นนั้นเป็นตัวบ่อนทำลายผลบุญของการถือศีลอด

5. ส่งเสริมให้รักษามารยาทของการถือศีลอดเพื่อให้การถือศีลอดของเขาได้รับการตอบรับจากอัลลอฮ

 

หะดีษบทที่ 14

ความประเสริฐของอาหารซุฮุร

???? ?????? ?????? ????? ?????? ????? ?????????? ?????? ????? ???????? ???????? ????? : ??????????? ??????? ??? ?????????? ????????

ความว่า จากอนัส เราะฏิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า ท่านรอซูลกล่าวว่า “จงรับประทานอาหารซูฮูร แท้จริงแล้วในนั้นมีความประเสริฐอยู่” (หะดีษรายงานโดยอัลบุคอรี 1823 และมุสลิม 2/770)


คำอธิบาย

ความหมายของความประเสริฐก็คือ ได้รับผลบุญ ผลตอบแทน และความประเสริฐอันเนื่องจากสาเหตุ ดังนี้

- เป็นการปฏิบัติตามแบบอย่างของท่านรอซูล

- เป็นการทำให้แต่งจากชาวกิตาบ (ยิวและคริสเตียน) ซึ่งพวกเขาไม่ทานอาหารซุหูรตามที่ระบุไว้ในหะดีษที่รายงานโดยมุสลิมจากอัมรุ บิน อ๊าศ แท้จริงท่านรอซูลกล่าวว่า “ความแตกต่างระหว่างการถือศีลอดของเรากับชาวคัมภีร์คือ การทาน ซุหูร”

- สามารถประกอบอิบาดะห์ได้อย่างขันแข็ง

- เพิ่มความคล่องแคล่ว

- สามารถขจัดมารยาทที่ไม่ดีอันเกิดจากความหิวโหย

- จะนำไปสู่การวิงวอน (ดุอา) และการซิกรุลลอฮ

- ผู้ที่ลืมเนียตก่อนเข้านอน สามารถทำการเนี๊ยตได้ (ฟัตฮุลบารีย์ 4/140)


บทเรียนจากหะดีษ

1. การชี้นำของท่านรอซูลแก่บรรดาผู้ศรัทธาเกี่ยวกับความพร้อมในการถือศีลอดนั่นคือ ให้รับประทานอาหารซุหูรก่อนถึงเวลาถือศีลอด

2. ซุหูร คือ การรับประทานอาหารก่อนเวลาซุบฮ์สำหรับผู้ที่ถือศีลอดในเดือนรอมฏอนหรือในวันอื่นๆ

3. ท่านรอซูลได้อธิบายเกี่ยวกับอาหารซุหูรว่ามีความประเสริฐ ในรายงานอื่นระบุว่าซุหูรเป็นอาหารที่ได้รับการประทานความประเสริฐโดยอัลลอฮ

4. บะเราะกะฮ์หมายถึง ผลบุญเพิ่มมากขึ้น

5. หุก่มของการรับประทานอาหารซุหูร คือ สุนัต ผู้ที่กระทำจะได้รับผลบุญ ในรายงานอื่นมีอยู่ว่าอัลลอฮและบรรดามะลาอิกะห์จะเศาะละวัตแก่บรรดาผู้ที่ รับประทานอาหารซุหูร การเศาะละวัตของอัลลอฮนั้นก็คือ พระองค์จะทรงประทานความโปรดปรานแก่พวกเขา และการเศาะละวัตของบรรดามะลาอิกะห์ก็คือ พวกเขาจะขอให้อัลลอฮทรงให้อภัยแก่พวกเขา ดังนั้นเข้าใจว่าผู้ที่ไม่ได้รับประทานอาหารซุหูรจะไม่ได้รับความโปรดปราน จากอัลลอฮและการวิงวอนจากบรรดามะลาอิกะห์ในเวลานั้น

 

หะดีษบทที่ 15

สุนัตให้ล่าช้าในการรับประทานอาหารซุฮูร์

???? ?????? ???? ??????? ?????? ????? ?????? ????? : ???????????? ???? ??????? ????? ?????? ????? ???????? ???????? ????? ??????? ????? ??????????. ?????? : ???? ????? ???????????? ????? : ????????? ????

ความว่า จากเซด บิน ษาบิต กล่าวว่า “เรา เคยรับประทานซุหูร พร้อม ๆ กับท่านรอซูลหลังจาก (รับประทานอาหารซุหูรเสร็จ) เราลุกขึ้นเพื่อละหมาดซุบฮ์ เขาถูกถามว่า ระหว่างอาหารซูฮูร์กับเวลาละหมาดซุบฮ์นานเท่าใด? เซดตอบว่า (อ่านอัลกุรอานประมาณ) 50 อายะห์” (รายงานโดยบุคอรี 4/118-119 และมุสลิม 1097)


คำอธิบายหะดีษ

ใน รายงานบุคอรีย์ระบุว่า คำว่านานเพียงใดระหว่างการอะซานและอาหารซุหูร คือ การอ่านอัลกุรอานประมาณ 50 อายะห์ (อ่านตามปกติ) ไม่ช้าหรือเร็วเกินไป

อัลมะฮ์ ลับและคนอื่น ๆ กล่าวว่า โดยคิดเวลาอะมั้ลทางกายเหมือนกับการคิดของคนอาหรับ โดยปกติแล้วคนอาหรับจะคิดอะมั๊ลของเขา เช่น พวกเขาจะกล่าวว่าใช้เวลาประมาณรีดนมแพะและเชือดอูฐ

อิบนุ อะลีย์ ฮัมซะห์ กล่าวว่า ในหะดีษดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าเวลาของบรรดาเศาะฮะบะห์หมดไปวัน ๆ กับการทำอะมั้ล อิบาดะฮ์จนเห็นดวงดาวบนท้องฟ้า


บทเรียนจากหะดีษ

1. ท่านรอซูลและบรรดาเศาะฮาบะห์ของท่านจะรับประทานอาหารซุหูรกระทั่งใกล้ ๆ กับเวลาศุบหิ
2. ส่งเสริมให้มีการรับประทานอาหารซุหูรรวมกันเป็น ญะมาอะห์ (ร่วมกัน)
3. ระยะห่างระหว่างเวลาซุหูรกับวักตูซุบฮ์คือ การอ่านอัลกุรอานอย่างปกติประมาณ 50 อายะห์

 

หะดีษบทที่ 16

ให้ละศีลอดทันทีเมื่อถึงเวลา


???? ????? ?????????? ?????? ????? ?????? ????? : ????? ??????? ????? ?????? ????? ???????? ???????? : " ??? ??????? ????????? ???????? ??? ??????? ???????? ????????". ????? ????????? ?????? ???? ?????? ????? ??????? ???? ?????? ????? ???????? ???????? ?????: " ??? ??????? ???????? ???????? ??? ????????? ????????".

ความว่า จากอบี ฮุรอยเราะห์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า ท่าน รอซูล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) กล่าวว่า “ศาสนา (อิสลาม) นั้นสูงส่งและประสบชัยชนะอยู่เสมอ หากมุสลิมยังคงละศีลอดทันที (เมื่อถึงเวลา) และรายงานจากซะฮ์ล บิน ซะอัด ท่านรอซูลกล่าวว่า “มนุษย์จะยังคงประสบกับความดี (ในทุกๆ เรื่อง) หากพวกเขา (มุสลิม) รีบละศีลอดทันทีเมื่อถึงเวลา” (บันทึกโดยบุคอรี 1860 และมุสลิม 2/771)

คำอธิบาย

จาก หะดีษข้างต้นชี้ให้เห็นว่าครั้นเมื่อคำสอนของศาสนา อิสลามอุบัติขึ้น โดยมีความชัดแจ้งกว่าคำสอนของศาสนาอื่น จึงเป็นที่แน่นอนว่า ความดีต่างๆ จะคงต่อไป ในเรื่องการให้รีบละศีลอด จึงเป็นความสุขประเสริฐในหลักคำสอนอิสลามที่ต่างจากหลักคำสอนของศาสนาอื่นๆ เช่น ยิวและคริสต์ และศาสนาอิสลามส่งเสริมให้มุสลิมมีคุณลักษณะแตกต่างไปจากผู้ที่นับถือใน ศาสนาคริสต์และยิว ในเรื่องนี้อบู ฮุรอยเราะห์ก็ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “เพราะว่าบรรดาชาวยิวและคริสต์นั้นจะล่าช้าในการละศีลอด”

ในรายงาน อิบนุ ฮิบบาน และอัลหะกีมระบุว่าประชาชาติของฉันจะอยู่บนสุนนะฮของฉันตราบใด พวกเขาไม่รอคอยการละ ศีลอดกระทั่งดวงดาวโผล่ออกมา

อัล-มะฮ์ลับกล่าว ว่า วิทยปัญญาดังกล่าวเพื่อมิให้การเพิ่มเวลากลางวันในเวลากลางคืน และละศีลอดทันทีซึ่งเป็นการเพิ่มอ่อมน้อมแก่ผู้มีศีลอด ขณะเดียวกันเป็นการเพิ่มพลังในการประกอบอิบาดะห์ (ฟัตหุล บารีย์ 4/194)

ใน รายงานบทหนึ่งของอบี ฮุรอยเราะห์ กล่าวว่า ท่านรอซูล กล่าวว่า “บ่าวของฉันที่รักฉันมากที่สุดก็คือผู้ที่ละศีลอดทันที” (เมื่อถึงเวลา) อัตติรมีซีย์มีทัศนะว่า เป็นหะดีษหะสันเฆาะรีบ) อัฏฏีบีย์กล่าวว่า “หวังว่ากรุณาปราณีจากอัลลอฮนั้น อันเนื่องมาจากการเจริญรอยตามสุนนะฮของท่านรอซูลและห่างไกลจากบิดอะฮ์ และเป็นการขัดแย้งกับชาวคัมภีย์ อัลกอรีย์กล่าวว่า ในหะดีษข้างต้นชี้ให้เห็นว่า ความประเสริญของประชาชาติของท่านรอซูล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) การเจริญรอยตามหะดีษ (ซุนนะฮฺ) เป็นการยืนยันว่าจะได้รับความกรุณาปราณีจากอัลลอฮ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ตามที่พระองค์ได้ตรัสความว่า“จงกล่าวเถิดมุหัมมัดหากเจ้ารักใคร่อัลลอฮอย่าง แท้จริงแล้วดังนั้นจงตามฉัน แน่แท้อัลลอฮรักใคร่สูเจ้า”

อัมรู บิน ไมมูน อัล-เอาดีย์กล่าวว่า แท้จริงบรรดาเศาะหาบะฮของท่านนบีนั้น จะละศีลอดทันที (เมื่อถึงเวลาละศีลอด) และเป็นผู้ที่ล่าช้าที่สุดในการรับประทานอาหารซุหูร (ตุห์ฟะตุล อะห์วะซีย์ 3/386)

 บทเรียนจากหะดีษ

ศาสนา อิสลามยังคงเป็นศาสนาที่สูงส่งและประสบชัยชนะเหนือศาสนาอื่น ด้วยความสัจธรรมและการยอมรับจากอัลลอฮฺอันเป็นศาสนาที่พระองค์ทรงโปรดปราน (ริฎอ)

1. อิสลามยังคงเป็นศาสนาแห่งสัจธรรม ตราบใดที่ผู้ที่นับถืออิสลามยังคงยึดมั่นในหลักคำสอนอิสลามอย่างมั่นคง ประการหนึ่งคือ ด้วยการรักษาเวลาในการละศีลอด (ละทันทีเมื่อถึงเวลา)

2. ฝึกฝนให้มุสลิมมีความเคยชินกับระเบียบและการตรงต่อเวลาในการประกอบอิบาดะฮฺ

3. อิสลามเอาใจใส่ต่อผู้ที่ถือศีลอดและส่งเสริมให้ประกอบอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺ (ศุบห)

4. ท่านรอซูลจะไม่พึงพอใจหากประชาชาติของท่านล่าช้าในการละศีลอด ฉะนั้นด้วยเหตุการล่าช้าในการละศีลอดจะนำไปสู่ความเสียหายต่อศาสนาได้

5. เพื่อให้เกิดความแตกต่างไปจากการดำเนินชีวิตของชาวยิวและคริสต์ โดยเฉพาะวิธีการละศีลอด ซึ่งหลักฐานจาก หะดีษพบว่าพวกเขา (ชาวยิวและคริสต์) จะล่าช้าในการละศีลอด

6. การละศีลอดทันทีในเดือนรอมฎอนนั้นเป็นซุนนะห์ของท่านรอซูล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม)

7. การละศีลอดทันทีจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ถือศีลอด

 

หะดีษบทที่ 17

ละศีลอดด้วยอินทผลัม

???? ????????? ???? ??????? ????????? ?????? ????? ?????? ????? : ????? ??????? ????? ?????? ????? ???????? ???????? : " ????? ???????? ?????????? ???????????? ????? ?????? ? ?????? ???? ?????? ???????????? ????? ????? ????????? ???????? ????? ?????? : ????????? ???? ???????? . ????? ?????? ????? : ??????? ??????? ????????

ความว่า จากซัลมาน บิน อามิร อัฎฎอบบีย์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “เมื่อผู้ใดจากพวกท่านจะละศีลอด ก็จงละศีลอดด้วยผลอินทผลัม หากไม่มีอินทผลัม ก็จงละศีลอดด้วยน้ำ แท้จริงน้ำนั้นเป็นสิ่งบริสุทธิ์” (บันทึกโดยอะห์มัด 4/17–18 อบู ดาวูด 2355 อิบนุ มาญะห์ 1699 และอัตติรมีซีย์ 694 กล่าวว่า: เป็นหะดีษเศาะฮี๊ห์)


คำอธิบายหะดีษ

บรรดา อุละมาอ์มีทัศนะว่า วิทยปัญญาในการส่งเสริมให้มีการละศีลอดด้วยผลอินทผลัมนั้น เนื่องจากความหวานของมันสามารถทำให้เกิดพละกำลัง อุละมาอ์บางท่านกล่าวว่า เนื่องจากความหวานนั้นจะสอดคล้องกับความศรัทธา และสามารถทำให้หัวใจมีความอ่อนโยน ด้วยเหตุนี้ตาบิอีนบางท่านเห็นว่า ผู้ที่ถือศีลอดสามารถที่จะละศีลอดด้วยของหวานอย่างอื่นก็ได้ เช่น น้ำผึ้ง

อิบ นุ หะญัร อัล-มักกีย์ กล่าวว่า ความประเสริฐต่างๆ ของลูกอินทผลัมคือ เมื่อลูกอินทผลัมเข้าไปในกระเพาะขณะที่ท้องว่างนั้นจะกลายเป็นอาหาร โดยที่ร่างกายจะได้รับสารอาหารจากลูกอินทผลัมนั่นเอง

ส่วนวิทย ปัญญาในการละศีลอดด้วยน้ำนั้น เนื่องจากน้ำเป็นสิ่งที่มีความบริสุทธิ์ และสามารถบรรเทาความกระหายอันเป็นสิ่งที่คอยรบกวนการประกอบอิบาดะห์ เกี่ยวกับเรื่องนี้ท่านรอซูลแนะนำให้อ่านดุอาอ์ในการละศีลอด ความว่า “ความกระหายได้หายไปและหวังว่าด้วยการดื่มน้ำสามารถทำให้ร่างกายและใจมีความ สะอาด”

 บทเรียนจากหะดีษ

1. ท่านรอซูล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ได้สอนสิ่งที่ดีงามและมีประโยชน์ต่อประชาชาติของท่าน

2. สุนัตให้ละศีลอดด้วยผลอินทผลัมที่สุกใหม่ๆ เนื่องจากมีหลักฐานจากหะดีษ ว่าท่านรอซูลละศีลอดด้วยลูกอินทผลัมสดที่เรียกว่า รุฏ๊อบ หากไม่มี ท่านก็จะละศีลอดด้วยลูกอินทผลัมแห้ง หากไม่มีท่านให้ละศีลอดด้วยน้ำ

3. เพื่อเป็นการเจริญรอยตาม (อิตติบาอฺ) ตามซุนนะห์ของท่าน โดยเริ่มละศีลอดด้วยอินทผลัมสุกใหม่ๆ หากไม่มีจึงจะละศีลอดด้วยอินทผลัมแห้งหรือด้วยน้ำ

4. ท่านรอซูลกำชับให้ประชาชาติของท่านละศีลอดด้วยลูกอินทผลัม

 

 หะดีษบทที่ 18

ความเป็นมาของการละหมาดตะรอวีห์

???? ????????? ?????? ????? ??????? ????? ??????? ????? ?????? ????? ???????? ???????? ?????? ???? ?????? ????????? ???????? ???? ??????????? ???????? ??????? ?????????? ???????? ??????????????? ???????? ??????????? ???????? ???????? ? ???????? ???????? ????? ?????? ????? ???????? ????????? ???? ??????????? ???????????? ????????? ??????????? ?????????? ???????? ???????????? ?????? ? ???????? ?????? ??????????? ???? ??????????? ???????????? ???????? ????????? ??????????? ???????? ??????? ??????????? ???????????? ?????? ??????????? ???? ???????? ? ?????? ???????? ?????????? ???????? ????? ?????? ????? ???????? ????????? ???????? ??????? ???????? ???????????? : " ?????????? " ?????? ???????? ?????????? ??????? ????? ?????? ????? ???????? ????????? ?????? ?????? ????????? ????????? ? ???????? ????? ???????? ???????? ????? ???????? ????? ????????? ??????? : ?????? ?????? ? ????????? ???? ?????? ??????? ?????????? ???????????? ?????????? ???????? ???? ???????? ?????????? ??????? ????????? ????????????? ???????.


ความหมาย จากท่านหญิงอะอีชะห์ เราะฏิยัลลอฮุอันฮา กล่าวว่า “ท่าน รอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ออกไปในเวลากลางคืน (ในค่ำคืนของเดือนรอมฏอน) ท่านปฏิบัติละหมาด (ตะรอวีห์) ในมัสยิดของท่าน (คือมัสยิดอันนะบะวีย์ในนครมะดีนะห์) ซึ่งมีคนเป็นจำนวนมากละหมาดตามท่าน

ใน วันต่อมา บรรดาเศาะฮาบะห์จึงพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว (คือเกี่ยวกับการละหมาดตะรอวีห์ ซึ่งก่อนหน้านั้นไม่เคยมี) ในคืนที่สองบรรดาเศาะฮาบะห์มีการชุมนุมจำนวนมากขึ้นกว่าคืนที่ผ่านมาและท่าน รอซูลก็เดินออกไปยังมัสยิด พวกเขาจึงละหมาด (ตะรอวีห์) ตามท่านรอซูล และในวันต่อมา มีคนจำนวนมากพูดถึงเรื่องดังกล่าว ในคืนที่สามบรรดาเศาะฮาบะห์จึงออกไปยังมัสยิดมากยิ่งขึ้น และท่านรอซูลก็เดินออกไปยังมัสยิด พวกเขาจึงละหมาด (ตะรอวีห์) ตามท่านรอซูล

เมื่อถึงคืนที่สี่ ภายในมัสยิดนั้นเต็มไปด้วยบรรดาเศาะฮาบะฮ คืนนั้นท่านรอซูลไม่ได้ออกไปยังมัสยิดพร้อมๆ กับพวกเขา ดังนั้น ในจำนวนพวกเขาจึงพูดขึ้นว่า “ละหมาด” (เป้าหมายเพื่อให้ท่านรอซูลได้ยิน) แต่ท่านรอซูลก็ไม่ได้ออกไปยังพวกเขา (พวกเขาคอยท่านรอซูลกระทั่งเวลาซุบฮ) ท่านรอซูลจึงออกมาเพื่อละหมาดซุบฮ์ หลังจากละหมาดซุบฮ์แล้ว ท่านรอซูลจึงหันมา (เป็นการเริ่มต้นในการกล่าวคำพูด) และท่านรอซูลจึงกล่าวว่า แท้จริงแล้วมิใช่ฉันไม่รู้เกี่ยวกับพวกท่านเมื่อคืนนี้ แต่ฉันเกรงว่าจะเป็นการฟัรดูเหนือพวกท่านในการละหมาดกลางคืน (ตะรอวีห์) ซึ่งจะทำให้พวกท่านอ่อนแอที่ปฏิบัติ” (มุตตะฟะกุน อะลัยห์)

 บทเรียนจากหะดีษ

1. ส่งเสริมให้มีการละหมาดกิยามุลลัยล์หรือละหมาดตะรอวีห์ในเดือนรอมฏอน เพราะในการละหมาดตะรอวีห์มีความประเสริฐที่ยิ่งใหญ่มาก

2. ท่านรอซูลในฐานะเป็นผู้นำของประชาชาติมุสลิม ท่านเองได้ประกอบการละหมาดตะรอวีห์ในเดือนรอมฏอน

3. หะดีษนี้บ่งบอกถึงความจริงจังของบรรดาเศาะฮาบะฮ์ และความตั้งใจในการปฏิบัติอะมั้ลอิบาดะห์ตามรอซูล

4. ท่านรอซูลมีความโอบอ้อมอารีต่อประชาชาติของท่าน

 

หะดีษบทที่ 19

ความประเสริฐของการละหมาดตะรอวี๊ห์

???? ?????? ?????????? ?????? ????? ?????? ????? : ????? ???????? ????? ?????? ????? ???????? ????????? : " ???? ????? ????????? ?????????? ????????????? ?????????? ??? ????????? ???? ????????"

ความว่า จากอบี ฮุรอยเราะห์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่าท่านรอซูล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม)กล่าวว่า “ผู้ ใดที่ละหมาดในเดือนรอมฎอนด้วยความศรัทธา (ต่อคำสั่งและสัญญาของอัลลอฮฺ)รวมทั้งคาดหวังผลตอบแทนจากพระองค์ แน่แท้พระองค์จะทรงอภัยโทษต่อบาปต่างๆ ที่ผ่านมา” (มุตตะฟะกุน อะลัยห์ : บุคอรี 2/252 และมุสลิม 1/523)


คำอธิบาย

การ งานที่ศาสนาอิสลามส่งเสริมให้บรรดามุสลิมกระทำในเดือนรอมฎอน คือ การละหมาดในเวลากลางคืน ซึ่งเป็นที่รู้จักว่าเป็นการละหมาดตะรอวี๊ห์ และผลการตอบแทนในการปฏิบัตินั้นยิ่งใหญ่ไม่น้อยไปกว่าการประกอบอิบดะฮ์ ประเภทอื่นๆ ที่ใช้ให้ปฏิบัติในเดือนรอมฎอน เช่น การถือศีลอด เพราะต่างได้รับการสัญญาว่าจะได้รับการอภัยโทษในบาปที่กระทำมา เฉกเช่นเดียวกับการตอบแทนที่ได้สัญญาแก่คนที่ปฏิบัติอะมัลอิบาดะฮ์ในค่ำคืน อัลเกาะดัรในด้านการได้รับอภัยโทษ ทั้งหมดนั้นขึ้นอยู่กับความมั่นใจของเราต่อคำสั่งของอัลลอฮ์ รวมทั้งความบริสุทธิใจในการปฏิบัติอะมัลดังกล่าวด้วย

ส่วนหุก่มของ การละหมาดตะรอวีห์นั้น บรรดาอุลามาอ์ได้ลงความเห็นเป็นเอกฉันท์ว่า เป็นสุนัตสำหรับชายและหญิง และใช้ให้ปฏิบัติทั้งในรูปแบบญะมาอะห์หรือในลักษณะต่างคนต่างทำ แต่การปฏิบัติในรูปแบบญะมาอะห์จะมีความประเสริฐมากกว่า


บทเรียนจากหะดีษ

1. ความประเสริฐของเดือนรอมฎอนและอิบาดะฮฺกิยามุลลัยล์ในเดือนรอมฎอน

2. มีความมั่นใจต่อคำสั่งของอัลลอฮฺ และความบริสุทธิ์ใจในการประกอบอิบาดะฮฺนั้นถือว่าเป็นเงื่อนไขหลักของการได้ มาซึ่งการตอบแทนจากอัลลอฮฺ (หมายถึงอัลลอฮฺจะทรงพิจารณาถึงความบริสุทธิ์ใจในการประกอบอิบาดะฮฺของบ่าว)

3. เราะมัตของอัลลอฮฺ ซึ่งพระองค์จะให้อภัยต่อบาปต่างๆ ที่ผ่านมาแก่ผู้ที่ดำรงละหมาดในค่ำคืนเดือนรอมฎอน

 

 หะดีษบทที่ 20

ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ในเดือนรอมฏอน


???? ?????? ???????? ?????? ????? ????????? ????? : ????? ??????? ????? ?????? ????? ???????? ????????? ???????? ???????? ? ??????? ???????? ??? ???????? ???? ????????? ?????? ????????? ?????????? . ??????? ????????? ?????????? ???? ????? ???????? ???? ????????? ????????????? ????????? ? ???????????? ????? ?????? ????? ???????? ????????? ?????? ????????? ?????????? ???????? ??????????? ???? ????????? ?????????????


ความว่า จากอิบนุ อับบาส เราะฏิยัลลอฮุอันฮุมา กล่าวว่า “ท่าน รอซูลเป็นคนที่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ที่สุด (ในการให้ทาน) และท่านยังเป็นคนที่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่อย่างที่สุดในเดือนรอมฏอน ขณะที่ท่านพบกับญิบรีล และท่านญิบรีลจะพบกับท่านรอซูลทุกค่ำคืนของเดือนรอมฏอน เพื่อสอนอัลกุรอาน แท้จริงแล้วท่านรอซูลขณะที่ท่านญิบรีลพบกับท่านนั้น ท่านจะมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ด้วยการทำความดียิ่งกว่าลมรำเพย” (บันทึกโดยบุคอรี 6 และมุสลิม 2308)

 

คำอธิบายหะดีษ

ท่าน อิบนุหะญัร อัล-อัสเกาะลานีย์ กล่าวว่า “อัล-ญูด” เป็น ความเอื้อเฟื้อในความหมายทางศาสนา คือ การให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เหมาะสมแก่คนที่มีสิทธิในสิ่งนั้น ซึ่งจะมีความหมายกว้างกว่าการให้ทาน (เศาะดะเกาะฮ) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเดือนรอมฏอนเป็นฤดูแห่งการประกอบคุณความดี เพราะอัลลอฮจะประทานความโปรดปรานลงมาแก่บ่าวของพระองค์อย่างมากมายในเดือน นี้

ท่านอัซ-ซัยน์ บิน อัลมุนีร์ กล่าวว่า ลักษณะการเปรียบเทียบระหว่างความเอื้อเฟื้อของท่านรอซูลลุลอฮด้วยความดีงาม และความเอื้อเฟื้อของลมรำเพยลมในที่นี้ก็คือ ลมแห่งความโปรดปรานที่อัลลอฮประทานไว้ในการลงฝนทั่วฟ้า อันเป็นสาเหตุที่ทำให้ฝนตกลงมาบนพื้นดินทั้งที่แห้งแล้งหรืออุดมสมบูรณ์ ซึ่งหมายถึง ความดีงามของท่านรอซูลจะครอบคลุมถึงคนที่มีความขัดสนและร่ำรวย ซึ่งมีมากกว่าฝนตกที่เกิดจากลมแรง (ฟัตฮุลบารีย์ 4/611)

อิหม่ามอันนะวะวีย์ กล่าวว่า ในหะดีษดังกล่าวนั้นมีข้อคิดอยู่หลายประการ เช่น

- ส่งเสริมให้ความเอื้อเฟื้ออยู่ตลอดเวลา
- ให้เพิ่มความเอื้อเฟื้อในเดือนรอมฏอน
- อยู่ร่วมกับผู้ที่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
- ให้มีการเยี่ยมเยียนผู้ที่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
- สุนัตให้อ่านอัลกุรอานในเดือนรอมฏอนมากๆ
- หลักฐานชี้ให้เห็นว่าอัลกุรอานถูกประทานลงมาในเดือนรอมฏอน

 บทเรียนจากหะดีษ

1. แบบอย่างของท่านรอซูลในหะดีษนี้ก็คือ การมีจิตใจที่เอื้อเฟื้อในการใช้จ่ายในหนทางของอัลลอฮ

2. ท่านมีจิตที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ที่เกินกว่าผู้คนอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนรอมฏอนขณะที่ท่านญิบริลพบกับท่านรอซูลในทุกคืน

3. เชิญชวนประชาชาติมุสลิมทุกคนให้มีความเอื้อเฟื้อเพื่อ เจริญรอยตามแบบอย่างของท่านรอซูลและหวังเพื่อได้รับผลบุญเท่าทวีคูณ

4. ส่งเสริมให้มีการศึกษาอัลกุรอาน ในเดือนรอมฏอนโดยการสลับการอ่านและฟัง ขณะเดียวกันส่งเสริมให้มีการตะดับบุร (ใคร่ครวญ) ในขณะอ่านอัล-กุรอาน

5. อัลกุรอานและรอมฏอนได้ปลูกฝังบุคลิกภาพมุสลิมเพื่อให้มีจิตใจที่เอื้อเฟื้อและใช้จ่ายในหนทางของอัลลอฮ

6. ความประเสริฐของการมีจิตใจที่เอื้อเฟื้อและการให้ทาน (เศาะดะเกาะฮ)

7. การมีจิตใจที่เอื้อเฟื้อยิ่งของท่านรอซูลนั้นเปรียบ เสมือนลมรำเพย

 

--------------- หะดีษที่ 21 ถูกระงับเผยแพร่เนื่องจากมีข้อผิดพลาดในการแปล จึงต้องขอตรวจสอบก่อนอีกครั้ง --------------

 

หะดีษบทที่ 22

ศีลอดและอัลกุรอานสามารถช่วยเหลือท่านได้

???? ??????????? ???? ??????? ???? ??????? ?????? ????? ????????? : ????? ?????????? ?????? ????? ???????? ????????? ????? : ?????????? ???????????? ??????????? ?????????? ?????? ??????????? . ???????? ?????????? : ???? ????? ?????????? ?????????? ?????????????? ???????????? ???????????? ?????? ?????????? ????????? : ???? ????? ?????????? ????????? ??????????? ???????????? ?????? . ????? ??????????????

ความว่า จากอับดุลลาฮฺ บิน อัมรู (บินอัล-อาศ)เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “การ ถือศีลอดและอัลกุรอานจะให้ความช่วยเหลือแก่บ่าวในอาคิเราะห์ ศีลอดจะกล่าวว่า “โอ้พระผู้อภิบาลของฉัน! ฉันทำให้เขาต้องอดอาหารและอดทนจากอารมณ์ใฝ่ต่ำในตอนกลางวัน ดังนั้น (อนุญาต) ให้ฉันให้ความช่วยเหลือแก่เขาเถิด”และอัลกุรอานกล่าวว่า “โอ้พระผู้อภิบาลของฉัน! ฉันทำให้เขาต้องอดหลับอดนอนในตอนกลางคืน ดังนั้น (อนุญาต) ให้ฉันให้ความช่วยเหลือแก่เขาเถิด” ท่านรอซูล กล่าวว่า จากนั้นทั้งสองก็ได้รับอนุญาตจากอัลลอฮฺเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่เขา”(ผู้ ที่ถือศีลอดและอ่านอัลกุรอาน) (บันทึกโดยอะห์มัด 2/174 อัตเตาะบะรอนี มัจญ์มะอฺ อัซซะวาอิด 3/1818: ริญาล อัตเตาะบะรีย์ ริญาลุ อัศ-เศาะหี๊ห์)

 บทเรียนจากหะดีษ

1. หะดีษนี้อธิบายถึงความประเสริฐของการถือศีลอดและการอ่านอัลกุรอาน

2. การถือศีลอดของบ่าวนั้น ก็เพื่อที่เขาจะได้มีความอดทนจากการกิน การดื่ม และควบคุมอารมณ์ใฝ่ต่ำ เนื่องจากแสวงหาความโปรดปรานของอัลลอฮฺ

3. การอ่านอัลกุรอานทำให้บ่าวของอัลลอฮฺมีความอดทนจากการหลับนอนในยามค่ำคืน เพื่อใช้เวลาในการอ่านอัลกุรอาน ทำความเข้าใจเนื้อหาและท่องจำด้วยความซาบซึ้ง

4. อัลลอฮฺทรงอำนาจในการเปลี่ยนแปลงสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่นอกเหนือกฏธรรมชาติ เช่น ถือศีลอด และอัลกุรอานสามารถพูดกับอัลลอฮฺได้

5. ไม่มีผู้ใดมีอำนาจและสามารถให้ความช่วยเหลือใดๆ แก่บ่าวของพระองค์ นอกจากจะได้รับการอนุมัติจากพระองค์

6. ใช้ให้ถือศีลอดและอ่านอัลกุรอานอย่างเต็มความหมาย พร้อมกับรักษามารยาทในขณะอ่านอัลกุรอานเพื่อได้รับความช่วยเหลือในอาคิเราะฮฺ

7. เวลาที่ประเสริฐที่สุดในการอ่านอัลกุรอานคือ เวลากลางคืน

8. ใช้ให้ระลึกถึงอาคิเราะฮฺ และความน่าสะพรึงกลัวของอาคิเราะฮฺ พร้อมกับให้เตรียมความพร้อมสำหรับวันนั้น

 

หะดีษบทที่ 23

การให้อาหารละศีลอดแก่ผู้อื่น

???? ????????? ????? : ????????? ???????? ????? ?????? ????? ???????? ????????? ???? ????? ?????? ???? ????????? ? ??????? : ???????? ???????? ???? ??????????? ?????? ???????? ? ?????? ????????? ? ?????? ?????? ???????? ?????? ???? ?????? ?????? ? ?????? ????? ????????? ?????????? ????????? ???????? ?????????? . ???? ????????? ?????? ?????????? ???? ????????? ????? ?????? ?????? ?????????? ??????? ??????? ? ??? ??? ??? ????? ??? ??? ??? ????? ????? ???? ???? ?????? ?????? ?????????? ??????????? ????????? ????????? ???????? ???????????? ???????? ????????? ?????? ?????? ?????????? .???? ??????? ?????? ???????? ????? ?????????? ????????????? ???????? ?????????? ???? ???????? . ??????? ???? ?????? ???????? ???? ?????? ???? ???????? ???? ???????? ?????? . ??????? : ?????? ???????? ?????? ??? ????????? ?????????? . ??????? : ??????? ????? ????? ?????????? ???? ??????? ???????? ????? ???????? ???? ???????? ????? ???? ???????? ?????? ?????? ?????? ????????? ???????? ???????????? ?????????? ????????? ?????? ???? ????????


“จาก ซัลมานกล่าวว่า : ท่านรอซูล (ศ็อล) ได้คุตบะห์แก่พวกเราในวันสุดท้ายของเดือนชะอ์บาน ท่านกล่าวว่า : โอ้มนุษย์ทั้งหลาย แท้จริงได้เยือนมาถึงพวกเจ้าซึ่งเดือนที่ยิ่งใหญ่ เดือนแห่งความบะเราะกะห์ เดือนที่มีค่ำคืนอัลเกาะดัรซึ่งมีความประเสริฐกว่าหนึ่งพันเดือน พระองค์อัลลอฮทรงบัญญัติการถือศีลอดเป็นฟัดูและการกิยาม (ละหมาดในค่ำคืน) เป็นสุนัต ผู้ใดที่อยู่เคียงข้างอัลลอฮด้วยความดีงามแล้ว เขาจะได้รับผลบุญเหมือนผู้ที่กระทำอะมั๊ลฟัรดูในเดือนอื่น ๆ และผู้ใดที่กระทำอะมั๊ลฟัรดู เขาจะได้รับความประเสริฐเหมือนผู้ที่กระทำอะมั๊ล ฟัรดูจำนวนเจ็ดสิบอย่างในเดือนอื่น และเดือนรอมฎอนเป็นเดือน (ผู้ที่ถือศีลอดมีความอดทน มีความเห็นอกเห็นใจ เป็นเดือนแห่งการเพิ่มพูนริซกีย์สำหรับผู้ศรัทธาผู้ใดที่ให้อาหารสำหรับละ ศีลอดแก่ผู้ที่ถือศีลอดในเดือนรอมฎอน แท้จริงเขาจะได้รับการอภัยโทษ คอของเขาจะปลอดภัยจากไฟนรก และเขาจะได้รับผลบุญเหมือนอย่างคนที่ถือศีลอดไม่ลดแม้แต่น้อย บรรดาเศาะฮาบะห์จึงถามว่า : พวกเราทุกคน ไม่ม่ส่งของที่จะให้ละศีลอดแก่ผู้ที่ถือศีลอด ท่านรอซูลจึงตอบว่า อัลลอฮทรงให้ผลบุญ (อันยิ่งใหญ่) นี้ให้แก่ผู้ที่ให้ละศีลอดแก่ผู้ที่ถือศีลอด แม้จะเป็นลูกอินทผลัมเพียงเม็ดเดียวก็ตาม หรือน้ำเพียงอึกเดียว หรือนมที่ผสมน้ำหนึ่งแก้ว และรอมฎอนยังเป็นเดือนที่ในช่วงต้นเป็นเราะห์มัต ในช่วนกลางเป็นการอภัยโทษ และช่วงท้านเป็นการหลุดพ้นจากไฟนรก” (รายงานโดยอัตติรมีซีย์ 807 กล่าวว่าเป็นหะดีษหะสันเศาะหีห์)

???? ?????? ???? ??????? ?????????? ????? : ????? ???????? ????? ?????? ????? ???????? ????????? : ???? ??????? ???????? ????? ???? ?????? ???????? ?????? ??????? ??? ???????? ???? ?????? ?????????? ???????

ความหมาย : จากซัยด์ บิน คอลิด อัลญุห์นีย์ เล่าว่า ท่านรอซูล (ศ็อล) กล่าวว่า ผู้ใดที่ให้อาหารละศีลอดแก่ผุ้ที่ถือศีลอดแล้ว แท้จริงเขาจะได้รับผลบุญเสมือนกับผู้ที่ถือศีลอด โดยไม่ได้ลดแม้แต่น้อย”


บทเรียนที่ได้จากหะดีษ

1. ความประเสริฐของเดือนรอมฎอน ซึ่งเป็นเดือนที่มีเกียรติสูงส่งและมีความบะเราะกะห์

2. ความยิ่งใหญ่ของเดือนรอมฎอนนั้น อันเนื่องจากมีสาเหตุที่สำคัญคือ ในเดือนนี้จะมีค่ำคืนอัลเกาะดัร ซึ่งมีความประเสริฐกว่าหนึ่งพันเดือน และยังเป็นเดือนที่บัญญัติให้มุสลิมทุกคนถือศีลอด อันเป็นหนึ่งในห้าของรุก่นอิสลาม นอกจากนั้นแล้วยังส่งเสริมให้มีการกิยาม (ละหมาดตะรอวีห์) ซึ่งการละหมาดนี้จะไม่มีในเดือนอื่นๆ ยกเว้นในเดือนรอมฎอนเท่านั้น

3. การประกอบความดีงามในเดือนรอมฎอน ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่เป็นฟัรดูหรือที่เป็นสุนัต ก็จะได้รับผลบุญที่เท่าทวีคูณ

4. การประกอบอิบาดะห์ถือศีลอดจะเป็นการหล่อหลอมจิตใจให้มีความอดทน และผลของการอดทนเขาจะได้รับการตอบแทนจากอัลลอฮด้วยสวรรค์

5. นอกจากนั้นแล้ว การถือศีลอดยังสามารถทำให้จิตใจมีความเห็นอกเห็นใจ และมีความรักใคร่ซึ่งกันและกันในหมู่ชาวมุสลิมด้วยกัน

6. ในเดือนรอมฎอนอัลลอฮจะทรงเพิ่มพูนริซกีย์แก่ผู้ศรัทธา ด้วยเหตุนี้เขาจึงสามารถที่จะมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่พี่น้องของเขาได้

7. ความประเสริฐของผู้ที่ที่ให้ละศีลอดแก่ผู้ถือศีลอด เขาจะได้รับผลบุญอย่างเต็มเปี่ยม เหมือนคนที่ถือศีลอด โดยไม่ได้ลดแม้แต่น้อย

8. ส่งเสริมให้มีการยอกย่องสรรเสริญแก่ผู้ที่ถือศีลอด ไม่ว่าเขาจะเป็นคนที่ร่ำรวยหรือยากจน

9. นอกจากพระองค์จะให้ผลบุญแล้ว บาปต่างๆ ก็จะได้รับการอภัยโทษ และเขาตจะถูกปลดปล่อยจากความทรมานของไฟนรกอีกด้วย

10. อาหารหรือเครื่องดื่มที่จัดเตรียมให้แก่ผู้ที่ถือศีลอดนั้น จะ ต้องมาจากทรัพย์สินที่หะลาล

11. ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่นั้นเป็นลักษณะของผู้ที่เป็นมุสลิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนรอมฎอน

12. สังคมอิสลามเป็นสังคมที่มีความรักใคร่ปรองดองกัน มีการเคารพและให้เกียรติซึ่งกันและ


 หะดีษบทที่ 24

ความประเสริฐของการเศาะดาเกาะฮฺในเดือนรอมฎอน

???? ?????? ????? : ?????? ?????????? ?????? ????? ???????? ????????? ????? ????????? ???????? ?????? ????????? ? ????? : ????????? ???????????? ????????? . ??????? ??????????? ???????? ? ????? : ???????? ??? ?????????

ความว่า จากอนัส (เราฎิยัลลอฮุอันฮุ) กล่าวว่า ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ถูกถามว่า การถือศีลอดประเภทใดที่ประเสริฐที่สุดรองลงมาจากการถือศีลอดในเดือนรอมฎอน? ท่านรอซูลตอบว่า การถือศีลอดสุนัตในเดือนชะบาน เพื่อเป็นการให้เกียรติเดือนรอมฎอน ท่านรอซูลถูกถามอีกว่าเศาะดะเกาะฮฺประเภทใดดีที่สุด? ท่านตอบว่าเศาะดะเกาะฮฺในเดือนรอมฎอน” (บันทึกโดยอัตติรมีซีย์ 657 กล่าวว่าเป็นหะดีษเฆาะรีบ)


บทเรียนจากหะดีษ

1. กล่าวถึงความประเสริฐของการถือศีลอดในเดือนรอมฎอน

2. ส่งเสริมให้ต้อนรับเดือนรอมฎอนอย่างสมเกียรติ ด้วยการถือศีลอดสุนัตในเดือนชะบาน

3. ส่งเสริมให้มีการเศาะดาเกาะฮฺให้ทานในเดือนรอมฎอน

4. การเศาะดาเกาะฮฺในเดือนรอมฎอนประเสริฐกว่าเศาะดาเกาะฮฺในเดือนอื่นๆ

 

หะดีษบทที่ 25

ดุอาอฺของผู้ที่ถือศีลอดจะไม่ถูกปฏิเสธ

???? ?????? ?????????? ?????? ????? ?????? ????? : ????? ??????? ????? ?????? ????? ???????? ???????? : ????????? ??? ??????? ???????????? ? ????????? ????????? ???????????? ?????? ???????? ?????????? ????????????


ความว่า จากอบีฮุรอยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า : ท่านรอซูล กล่าวว่า “คน สามจำพวก ที่ดุอาอฺของเขาจะไม่ถูกปฏิเสธคือ อิหม่าม (ผู้ปกครอง) ที่ยุติธรรม คนที่ถือศีลอดจนกระทั่งเขาละศีลอด และดุอาอฺของผู้ที่ถูกอธรรม" (บันทึกโดยอิบนุ มาญะห์1752 อัลบัยหะกีย์ 8/163 อัตติรมีซีย์ 5/578 กล่าวว่า : เป็นหะดีษหะซัน)

บทเรียนจากหะดีษ

1. หะดีษกล่าวถึง คนสามจำพวกที่อัลลอฮฺจะไม่ปฏิเสธดุอาอฺของพวกเขา
- ดุอาอฺของอิหม่ามที่ยุติธรรม
- ดุอาอฺของผู้ถือศีลอดที่รักษามารยาทที่ดีงามมีเจตนาที่บริสุทธิ์
- ดุอาอฺของคนที่ถูกอธรรม

2. ความช่วยเหลือของอัลลอฮฺจะยังคงอยู่กับคนที่กระทำความดี

3. ความประเสริฐของผู้ถือศีลอด อิหม่ามที่ยุติธรรม และผู้ที่ถูกอธรรม

4. คุณลักษณะของอัลลอฮมีความสูงส่ง(อิซซะห์) และอัลลอฮจะทรงปกป้องบ่าวของพระองค์

5. การปกป้องที่แท้จริงมาจากอัลลอฮฺเพียงผู้เดียวเท่านั้น

6. ความโปรดปรานของอัลลอฮฺจะครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่าง

7. ส่งเสริมให้มีการขอดุอาอฺในขณะที่ถือศีลอดและเมื่อละศีลอด

 

หะดีษบทที่ 26

ดุอาละศีลอด

???? ????? ?????? ?????? ????? ????????? ????? : ????? ??????? ????? ?????? ????? ???????? ???????? ????? ???????? ????? : ?????? ????????? ???????????? ?????????? ???????? ???????? ???? ????? ????? ????? ????????


ความว่า จากอิบนุ อุมัร เราะฏิยัลลอฮุอันฮุมา กล่าวว่า ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมนั้น เมื่อท่านละศีลอดท่านจะกล่าวดุอาว่า "ซะฮะบัซเซาะมะอ์ วับตัลละติลอุรูก วะษะบะตัลอัจญ์รุ อินชาอัลลอฮุ อัซซะวะญัล" (ความกระหายได้หมดไป (ร่างกาย) ถูกเปียกชื้นด้วยเหงื่อและได้รับผลบุญ อินชาอัลลอฮ) (บันทึกโดยอบูดาวูด 2357 ดารุกุฏนีย์ 2/185 อัล-ฮากัม 1/422 และอิบนุ ซุนนีย์ 273)


คำอธิบายหะดีษ

หะ ดีษบทนี้ถือว่าเป็นหะดีษที่เศาะฮีห์ที่สุดจากท่านรอซูลที่เกี่ยวกับการขอดุ อาขณะละศีลอดและไม่มีดุอาใดๆ ในการละศีลอด เว้นแต่มาจากหะดีษนี้ แต่ผู้ที่ถือศีลอดสามารถขอดุอาได้ด้วยการขอดุอาอื่นๆ ที่คิดว่าสามารถให้ประโยชน์แก่ตัวเขา ทั้งในดุนยาและอะคิเราะห์ (บทเรียนเกี่ยวกับรอมฏอน โดย สุลัยมาน อัล-เอาดะฮ์ หน้า 26)

???? ?????? ???? ?????? ?????? ????? ?????? ????? : ????? ??????? ????? ?????? ????? ???????? ???????? ????? ???????? ????? : ??????????? ???? ??????? ??????? ???????? ??????????

ความหมาย หะดีษจาก มุอาซ บิน ญะบัล เราะฏิยัลลอฮุ กล่าวว่า แท้จริงท่านรอซูลเมื่อละศีอดท่านจะขอดุอา “โอ้พระผู้เป็นเจ้าของฉัน ข้าถือศีลอดเพื่อพระองค์ และด้วยริซกีย์ของพระองค์ข้าละศีลอด” (บันทึกโดย อบู ดาวูด 2358 อิบนุ ซุนนีย์ 273 : หะดีษมุรซัล)

 บทเรียนจากหะดีษ

1. ส่งเสริมให้อ่านดุอาเมื่อละศีลอด

2. เป้าหมายในการขอดุอาก็เพื่อให้ผู้ที่ถือศีลอดวิงวอนขอความดีและความโปรดปราน จากอัลลอฮอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องที่เกี่ยวกับการถือศีลอดเพื่อพระองค์ทรงตอบรับ

3. ส่งเสริมให้ปฏิบัติตามซุนนะห์ของท่านรอซูล ในการประกอบอิบาดะห์ทุกอย่าง

4. แท้จริงดุอานั้นสามารถทำให้ความยำเกรงและความยะกีนเพิ่มมากขึ้น

 

หะดีษบทที่ 27

การแปรงฟันสำหรับผู้ถือศีลอด

???? ???????? ???? ??? ??????? ????? ????????? ???? ???????? ????? : ???????? ??????? ????? ?????? ????? ???????? ???????? ????????? ?????? ??????? . ??????? ????????? : ?????? ??????? ????? ???????

จาก อุบัยดิลลาห์ บิน อามิร บิน เราะบีอะห์ จากบิดาของท่านกล่าวว่า “ฉันเห็นท่านรอซูลแปรงฟันขณะที่ท่านถือศีลอด” มุซัดดัดเพิ่มเติมว่าฉันไม่สามารถที่จะนับจำนวนครั้งได้ (แสดงให้เห็นว่าท่านรอซูลทำบ่อยครั้ง) (บันทึกโดยอัต-ติรมีซีย์ 725 อะหมัด 3/245 และอบู ดาวูด 2364 )


คำอธิบายหะดีษ

บรรดา อุละมาอ์เห็นตรงกันว่า การแปรงฟันถือเป็นเรื่องสุนัตที่ส่งเสริมให้กระทำ แต่พวกท่านมีทัศนะที่แตกต่างกันในกรณีการแปรงฟันหลังจากตะวันคล้อยสำหรับผู้ ที่ถือศีลอดในเดือนรอมฏอน

อัล-เคาะฏอบีย์กล่าวว่า การแปรงฟันสำหรับผู้ที่ถือศีลอดและไม่ถือศีลอดนั้นเป็นสิ่งที่สุนัต ยกเว้นที่อุละมาอ์บางท่านได้กำหนดหุก่มว่าเป็นมักรูห์สำหรับผู้ที่ถือศีลอด แปรงฟันในเวลาตะวันคล้อย ทั้งนี้เพื่อคงไว้กลิ่นปากของเขา (ซึ่งกลิ่นปากของเขาในทัศนะของอัลลอฮนั้นหอมยิ่งกว่ากลิ่นชะมดเชียง) อุลามะอ์เหล่านั้นได้แก่ อิหม่ามอัซซาฟิอีย์และอัล-เอาซาอีย์

ส่วน ท่านอื่นๆ ส่วนใหญ่แล้วมีทัศนะว่าสุนัตให้แปรงฟันตลอดวัน ท่านอิหม่ามอัล-บุคอรีย์กล่ววว่า อิบนุ อุมัรกล่าวว่า “การแปรงฟันนั้นสามารถกระทำได้ตั้งแต่กลางวันจนถึงตอนเย็น”

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

????????? ??????????? ???????? ????????? ?????????

"การแปรงฟันนั้นเป็นการทำความสะอาดปากและยังจะได้รับความโปรดปรานจากอัลลอฮอีกด้วย" (เอานัลมะอ์บูด 6/491)


บทเรียนจากหะดีษ

1. อิสลามตระหนักถึงความสำคัญในการทำความสะอาดปากและฟัน

2. ส่งเสริมให้มีการแปรงฟัน เพราะเป็นการปฏิบัติตาม ซุนนะห์ของท่านรอซูลและบรรดาเศาะฮาบะห์

3. การแปรงฟันเป็นการสุนัตสำหรับทั้งชายและหญิง แม้ว่ากำลังถือศีลอดหรือไม่ก็ตาม

 

หะดีษบทที่ 28

ค่ำคืนอัล-เกาะดัร

???? ????????? ???? ?????????? ?????? ????? ?????? ????? : ??????????? ??????? ????? ?????? ????? ???????? ???????? ???? ???????? ???????? ????? : ???? ?????? ????????? ??? ???????? ??????????? ???????? ??????? ???????????? ???? ??????? ???????????? ???? ?????? ???????????? ???? ?????? ???????????? ???? ????? ???????? ???? ????????? ? ???? ???????? ???????????? ?????? ???? ??? ????????? ???? ????????


จากอุบาดะฮฺ บิน อัล-ซอมัต เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ โดยกล่าวว่า ท่านรอซูลได้บอกให้พวกเราทราบเกี่ยวกับค่ำคืนอัลเกาะดัร กล่าวว่า “ค่ำ คืนนั้นมีอยู่ในสิบคืนสุดท้ายของเดือนรอมฎอน นั่นคือในคืนที่ยี่สิบเอ็ด หรือ คืนที่ยี่สิบสาม หรือคืนที่ยี่สิบห้า หรือคืนที่ยี่สิบเจ็ด หรือคืนที่ยี่สิบเก้า หรือคืนของเดือนรอมฏอน ผู้ใดดำรงไว้ซึ่งอิบาดิอะฮฺในค่ำคืนอัลเกาะดัร โดยประสงค์ที่จะได้รับผลบุญจากอัลลอฮฺ แท้จริงเขาผู้นั้นจะได้รับการอภัยโทษจากบาปต่าง ๆ ที่ผ่านมา”


บทเรียนจากหะดีษ

1. ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม แนะนำประชาชาติของท่านเกี่ยวกับค่ำคืนอัล-เกาะดัร

2. ค่ำคืนอัล-เกาะดัรเกิดขึ้นในเดือนรอมฎอน ซึ่งจะเกิดขึ้นในช่วงสิบคืนสุดท้าย โดยไม่ได้กำหนดชัดว่าเกิดในคืนไหน

3. การที่ไม่ได้กำหนดแน่ชัดว่าค่ำคืนอัลเกาะดัรคือคืนใดนั้น เพื่อให้บรรดาผู้ศรัทธาพยายามแสวงหาค่ำคืนอัลเกาะดัร

4. ความประเสริฐของเดือนรอมฎอนและสิบคืนสุดท้ายของเดือน

5. ความประเสริฐของจำนวนนับเลขคี่ ซึ่งเกิดขึ้นในค่ำคืนที่จำนวนเลขคี่

6. ส่งเสริมให้มีกิจกรรมต่าง ๆ ในค่ำคืนอัล-เกาะดัร เช่น การละหมาดในยามค่ำคืน การอ่านอัลกุรอาน การรำลึกถึงอัลลอฮ และการดุอาอ์ขออภัยโทษและการเตาบัต

7. ส่งเสริมให้มีการตั้งเจตนาที่บริสุทธิ์ในการประกอบอิบาดะฮ์ มุ่งหวังผลตอบแทนจากอัลลอฮฺ

8. อะมัลอิบาดะฮฺในค่ำคืนอัล-เกาะดัรจะได้รับผลบุญตลอดจนการอภัยโทษในบาปต่างๆ ที่ผ่านมา

9. ความโปรดปรานของอัลลอฮ์นั้นยิ่งใหญ่มหาศาล และพระองค์ทรงอภัยแก่บ่าวของพระองค์เสมอ

10. คนที่ประสบชัยชนะในการปฏิบัติอะมั๊ลในคืนอัลเกาะดัรเขาคือ ผู้ที่บริสุทธิ์ใจ เพราะจิตใจของเขาหมั่นพึ่งพาความโปรดปรานและการอภัยโทษจากอัลลอฮ์

 

หะดีษบทที่ 29

ความประเสริฐของการทำอะมัล ในค่ำคืนอัล-เกาะดัร

???? ????? ?????????? ?????? ????? ????? ?????????? ?????? ????? ???????? ???????? ????? :"???? ????? ???????? ???????? ?????????? ????????????? ?????? ???? ??? ????????? ???? ????????

ความว่า จากอบี ฮุรอ็ยเราะห์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า ท่าน รอซูลกล่าวว่า “ผู้ใดดำรงไว้ (การอิบาดะฮฺ) ในค่ำคืนอัล-เกาะดัรด้วยความศรัทธา (ต่ออัลลอฮฺและคำสั่งของพระองค์) และหวังผลบุญจากอัลลอฮฺ แท้จริงพระองค์จะทรงอภัยโทษต่อบาปต่างๆ ที่ผ่านมา”
(รายงานโดยบุคอรี 4/221 และมุสลิม 760)


คำอธิบาย

อุ ละมาอ์บางท่านกล่าวว่า เหตุที่ตั้งชื่อว่าเป็นคืนอัล-เกาะดัร เพราะว่าในคืนนั้นบรรดามะลาอิกัตเขียนเกาะดัร(สิ่งที่อัลลอฮกำหนด) เกี่ยวกับบรรดาริซกีย์และอะญัลของมวลมนุษย์ในปีนั้น ๆ

บางท่านกล่าว ว่า เนื่องจากสถานภาพและความส่งเกียรติของค่ำคืนอัล-เกาะดัร และอุละมาอ์มีมติเป็นเอกฉันท์ว่าค่ำคืนอัลเกาะดัรจะปรากฏตลอดไปจนถึงวันกิยา มะห์

ท่านอัล-กอฏีย์ อิยาฏ กล่าวว่า บรรดาอุละมาฮมีทัศนะที่ไม่สอดคล้องกันเกี่ยวกับค่ำคืนอัลเกาะดัร บางท่านมีทัศนะว่า ค่ำคืนอัล-เกาะดัรจะมีการเปลี่ยนแปลงในเดือนรอมฏอน จากปีหนึ่งไปยังอีกปีหนึ่ง

 บทเรียนจากหะดีษ

1. ความประเสริฐของผู้ที่ประกอบอะมั๊ลอิบาดะฮฺในค่ำคืนอัลเกาะดัร
2. ส่งเสริมให้มีการกิยาม (ดำรงไว้) ในค่ำคืนอัล-เกาะดัร ด้วยอะมั๊ลอิบาดะห์ต่าง ๆ ที่ถูกกำหนดไว้
3. การ ปฏิบัติกิยามในค่ำคืนอัลเกาะดัรต้องกระทำเพื่อสนองตามคำสั่งของอัลลอฮ์เท่า นั้น และมีความเชื่อมั่นในสัญญาผลตอบแทนที่จะได้รับ และต้องปราศจากการโอ้อวดอื่นๆ

 

หะดีษบทที่ 30

ประกอบอิบาดะห์อย่างจริงจังช่วงสิบวันสุดท้ายของรอมฏอน

???? ????????? ?????? ????? ??????? : ????? ?????????? ?????? ????? ???????? ???????? ????? ????? ?????? ???????? ??????? ????????? ?????????? ???????? ??????? ????????? . ??????? ????????? : ??????? ??????? ?????????

ความหมาย จากท่านหญิงอะอีชะ เราะฏิยัลลอฮุอันฮา เล่าว่าท่านรอซูลลุลลอฮเมื่อสิบวันสุดท้ายของเดือนรอมฏอนได้เยือนมาท่านได้ ปลุกสมาชิกในครอบครัวของท่าน และได้ผูกมัดกางเกงของท่านจนแน่น (เพราะมีความจริงจังกับการทำอิบาดะฮ์ต่ออัลลอฮ์) มุสลิมเพิ่มเติมว่า “ท่านมีความจริงจังและผูกกางเกงของท่าน” (รายงานโดยบุคอรีย์ 1920 และมุสลิม 1174)


คำอธิบายหะดีษ

ท่านอัล-เคาะฎอบี ย์ กล่าวว่า “????? ?????????” หมายถึง ความจริงจังในการประกอบอิบาดะฮ์ หรือหมายถึง การปลีกตัวห่างจากภรรยาและประกอบอิบาดะฮ์อย่างจริงจัง เนื่องจากมีปรากฏอยู่ในรายงานของอาซิม บิน ฎอมเราะฮ์ว่า" ????? ????????? ??????????? ????????? " ผูกกางเกงและปลีกตัวออกห่างจากภรรยา ส่วนความหมายของการดำรงไว้ซึ่งค่ำคืนนั้น คือ การอดหลับในเวลากลางคืน ด้วยการประกอบอะมั๊ลอิบาดะห์ต่ออัลลอฮ เนื่องจากการนอนหลับนั้นเป็นส่วนหนึ่งของความตาย และรายงานโดยอัตติรมีซีย์ จากซัยนับ บินติ อุมมุ สะลามะห์ ความว่า ท่านรอซูลเมื่อเดือนรอมฏอนเหลืออีกสิบวัน ท่านก็จะปลุกสมาชิกครอบครัวของท่านทั้งหมดที่สามารถประกอบ กิยามุลลัยล์ได้ (ตุห์ฟะตุลอะห์วะซีย์ 3/508)

ท่านอิหม่ามอันนะวะวีย์ กล่าวว่า สุนัตเพิ่มการประกอบอะมั๊ลในช่วงสิบเดือนสุดท้ายของรอมฏอนให้มาก และสุนัตดำรงไว้ซึ่งค่ำคืนนั้นด้วยการประกอบอิบาดะห์ (ชัรฮุ เศาะเฮียะห์มุสลิม 8/71)

บทเรียนจากหะดีษ

1. ความประเสริฐของสิบวันสุดท้ายของเดือนรอมฏอนและความประเสริฐของค่ำคืนดังกล่าว
2. อะมั๊ลของท่านรอซูลในช่วงสิบวันสุดท้ายของรอมฏอนคือการประกอบอิบาดะห์ในยามค่ำคืนและพยายามใกล้ชิดอัลลอฮ (ด้วยการประกอบอิบาดะห์)
3. ท่านรอซูลจะปลุกสมาชิกครอบครัวเพื่อร่วมกันประกอบ อะมั๊ลอิบาดะห์ อันเป็นภาระหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้นำครอบครัวมุสลิม
4. มีความกระตือรือร้น อันเป็นสัญญลักษณ์ของอะมั๊ล อิสลามีย์และเป็นคุณลักษณะของมุสลิมที่มีความกระตือรือร้น
5. การร่วมกันระหว่างสามีภรรยาในการประกอบอิบาดะห์ต่ออัลลอฮนั้น เป็นสิ่งที่อิสลามส่งเสริมให้มุสลิมปฏิบัติ

 

 หะดีษบทที่ 31

คำสั่งให้แสวงหาคืนอัล-เกาะดัรช่วงสิบวันสุดท้ายในเดือนรอมฎอน

???? ????????? ?????? ????? ??????? ??????? : ????? ??????? ????? ?????? ????? ???????? ???????? ????????? ??? ???????? ??????????? ???? ????????? ?????????? : " ????????? ???????? ???????? ??? ???????? ???????????"


ความว่า จากท่านหญิงอาอีชะ เราะดิยัลลอฮูอันฮา เล่าว่า ท่านรอซูล (ศ็อลฯ)ได้ทำการเอี๊ยะติกาฟในช่วงสิบวันสุดท้ายของเดือนรอมฎอนและท่านรอซูล กล่าวว่า : จงแสวงหาค่ำคืนอัล-เกาะดัรในสิบวันสุดท้าย (ของเดือนรอมฎอน) (รายงานโดยติรมีซีย์ 789)

คำอธิบายหะดีษ

คำว่า “?????????” หมายถึง การตั้งเจตนาพร้อมการมุ่งมั่นในการกระทำบางสิ่งบางอย่างเป็นการเฉพาะ

ใน หะดีษข้างต้นในขณะที่ท่านรอซูล (ศ็อลฯ) เอี๊ยะติกาฟสิบคืนสุดท้ายของเดือนรอมฏอนนั้น ท่านสั่งให้บรรดา เศาะหาบะฮ์ใช้ความพยายามในการค้นหาคืนอัล-เกาะดัร เพื่อที่จะได้มาซึ่งความประเสริฐของค่ำคืนอัล-เกาะดัรในสิบวันสุดท้ายของ เดือนรอมฏอน โดยการเสียสละเวลาเอี๊ยะติกาฟในมัสยิด

ดังมีรายงานโดยมุสลิมและอัตติรมีซีย์

?? ????? ???? ???????? ????? : ???????? ??????? ???????? ??????????????? . ?????????????? ??? ???????? ??????????? ?????? ???????? ?????? ???????? ????????

ความว่า “ท่านรอซูล (ศ็อลฯ) กล่าวว่าฉันได้เห็นค่ำคืนอัล-เกาะดัร หลังจากนั้นฉันลืม ดังนั้น เจ้าจงแสวงหามันเถิดในช่วงสิบวันสุดท้ายของเดือนรอมฏอน ในคืนนั้นจะปรากฎลมพัด ฝนตกและฟ้าผ่า (ตุหฟะฮอัล-อัฮวะซีย์ 3/504) ทัศนะที่ถูกต้องที่สุดมีว่า ค่ำคืนอัล-เกาะดัรจะปรากฎในเดือนรอมฏอนก่อนสิบวันสุดท้าย และจะปรากฏคืนเลขคี่โดยมิได้ระบุจะเกิดขึ้นคืนใด

ท่านอิบนุ หะญัร อัล-อัสเกาะลานีย์กล่าวในฟัตหุลบารีย์ว่า บรรดาอุละมาอ์มีทัศนะที่ไม่สอดคล้องเกี่ยวกับค่ำคืนอัลเกาะดัรมากกว่าสี่สิบ ทัศนะ ทัศนะที่ถูกต้องที่ถูกคือ ค่ำคืนที่เป็นเลขคี่ของสิบคืนสุดท้ายที่คาดว่าใกล้เคียงความถูกต้องที่สุด นั่นคือ คืนที่ยี่สิบเอ็ดหรือยี่สิบสามตามทัศนะของอัซ-ชาฟีอีย์ และคืนที่ยี่สิบเจ็ดตามทัศนะของอุละมาฮฺส่วนใหญ่ (ตุห์ฟะตุล-อัล-อะห์วะซีย์ 3/505)

บทเรียนจากหะดีษ

1. ส่งเสริมให้มีการเอี๊ยะติกาฟในสิบวันสุดท้ายของเดือนรอมฎอนเพื่อเป็นการเจริญรอยตามซุนนะฮ์ท่านรอซูล
2. เป้าหมายของการเอี๊ยะติกาฟได้แก่ เพื่อให้ได้มาซึ่งความบะรอกะฮ์ และความประเสริฐของค่ำคืนอัล-เกาะดัร
3. ให้มีความตั้งใจเข้มแข็ง จริงจังในการประกอบอะมัลที่ ศอและห์ในช่วงสิบวันสุดท้ายของเดือนรอมฎอน
4. ความ ประเสริฐของสิบวันสุดท้ายของเดือนรอมฎอน ซึ่งจะเกิดค่ำคืนอัล-เกาะดัรในค่ำคืนใดค่ำคืนหนึ่ง และท่านรอซูลตระหนักอย่างเฉพาะเจาะจงด้วยการเอี๊ยะติกาฟ และท่านได้สั่งเพื่อให้บรรดาเศาะฮาบะฮ์ค้นหาค่ำคืนอัล-เกาะดัรอย่างจริงจัง
5. ความประเสริฐของการเอี๊ยะติกาฟในสิบวันสุดท้ายของเดือนรอมฎอนและความประเสริฐของการค้นหาค่ำคืนอัล-เกาะดัรอย่างจริงจัง

 

หะดีษที่ 32

การเอี๊ยะติกาฟในสิบวันสุดท้ายของรอมฏอน

???? ????????? ?????? ????? ??????? : ????? ????????? ?????? ????? ???????? ???????? ????? ?????????? ??? ???????? ??????????? ???? ????????? ?????? ?????????? ????? ????? ????????? ??????????? ???? ????????

ความ หมาย จากท่านหญิงอะอีชะ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา กล่าวว่า “แท้จริงท่านรอซูลทำการเอี๊ยะติกาฟในสิบวันสุดท้ายของเดือนรอมฏอนตลอดมา กระทั่งท่านเสียชีวิต ต่อมา(ได้รับการสืบทอด)การเอี๊ยะติกาฟโดยบรรดาภรรยาของท่าน”(รายงานโดยอัลบุคอรีย์ 2/255 และมุสลิม 2/831)

คำอธิบายหะดีษ

ความ หมายของคำว่า “??????????” อิบนุ ฮะญัร อัลอัสเกาะลานีย์กล่าวว่า การเอี๊ยะติกาฟทางภาษาหมายถึง การกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างสม่ำเสมอและจำกัดตัวเองในความสม่ำเสมอดังกล่าว ส่วนความหมายทางวิชาการคือ การพำนักอยู่ในมัสยิดด้วยการกระทำที่เฉพาะเจาะจง บรรดาอุลามะอ์มัซฮับทั้งสี่และมุสลิมทุกคนมีความเห็นที่สอดคล้องกันว่า หุก่มของการเอี๊ยะติกาฟในช่วงสิบวันสุดท้ายของเดือนรอมฏอนนั้นเป็นสุนัตมุ อักกะดะห์ เนื่องจากเป็นการเจริญรอยตามซุนนะห์ของท่านรอซูลและเป็นการเชิญชวนเพื่อค้น หาค่ำคืนอัล-เกาะดัร (อธิบายหะดีษโดยมุสลิม 8/67)


บทเรียนจากหะดีษ

1. การเอี๊ยะติกาฟในสิบวันสุดท้ายของรอมฏอนเป็นอะมัลเฉพาะของท่านรอซูล ซึ่งท่านปฏิบัติกระทั่งท่านเสียชีวิตลง
2. ส่งเสริมให้ทำเอี๊ยะติกาฟตลอดทั้งสิบวันสุดท้ายของเดือนรอมฏอน
3. มีการกำหนด วัน เวลา และเดือนสำหรับการเอี๊ยะติกาฟ คือ สิบวันสุดท้ายของรอมฏอน
4. หุ ก่ม (สุนัต) ในการเอี๊ยะติกาฟนั้นชัดเจน และไม่มีการโมฆะกระทั่งท่านรอซูลเสียชีวิตไป ยังได้รับการเจริญรอยตามโดยบรรดาภรรยาของท่าน และด้วยการเอี๊ยะติกาฟในสิบวันสุดท้ายของรอมฏอน
5. เอิ๊ยะติก๊าฟสำหรับ เหล่าสตรีนั้น จะมีเงื่อนไขเฉพาะ เช่น การได้รับอนุญาตจากผู้เป็นสามีหรือจากวะลีย์ของเธอ หากการเอี๊ยะติก๊าฟภายในมัสยิดญาแมะอ์สตรีจะต้องอยู่ในบริเวณที่เฉพาะต่าง หากจากผู้ชายและสถานที่ที่ไม่ก่อความแออัดแก่ผู้ที่มาละหมาด ตลอดจนเงื่อนไขอื่น ๆ เกี่ยวกับสตรีขณะอยู่ในมัสยิด

 

หะดีษบทที่ 33

ดุอาในค่ำคืนอัล-เกาะดัร

???? ????????? ?????? ????? ??????? ???????? ??????? ????? ?????? ????? ???????? ???????? ?????????? ???? ???????? ???? ???????? ???????? ? ??? ???????? ???????? ????? : ??????? : ?????????? ??????? ??????? ??????? ???????? ??????? ??????.


ความว่า จากท่านหญิงอาอิชะห์กล่าวว่าฉันได้ถามท่านรอซูลว่า ท่านจะว่าอย่างไร หากฉันรับทราบว่าค่ำคืนไหนเป็นค่ำคืนอัล-เกาะดัร แล้วฉันจะกล่าวอะไรในคืนนั้นๆ ท่านรอซูลตอบว่าจงกล่าวเถิด (เป็นการดุอาอ์ต่ออัลลอฮ)
(รายงานโดยอัตติรมีซีย์ 3513 และอิบนุมาญะฮ์ 3850)

?????????? ??????? ??????? ??????? ???????? ??????? ??????

หมายถึง “โอ้พระผู้เป็นเจ้าของข้า แท้จริงพระองค์ทรงให้อภัย พระองค์ทรงชอบการให้อภัย ดังนั้นพระองค์จงให้อภัย (บาป) ของฉันเถิด”


คำอธิบายหะดีษ

ค่ำ คืนอัล-เกาะดัรเป็นคืนที่มีความประเสริฐและมีเกียรติยิ่ง ความประเสริฐของค่ำคืนนี้ยิ่งใหญ่กว่าเดือนอื่นเป็นพันๆ เท่า บางครั้งทั้งผู้ที่เป็นชายและหญิงไม่ทราบว่าในค่ำคืนนั้นควรอ่านอะไรกันบ้าง หรือว่าไม่มีคำสอนจากท่านรอซูลบ้างเลยหรือ? ด้วยเหตุนี้ท่านหญิงอะอีชะห์อุมมุลมุมินีน ขอให้ท่านรอซูลสอนดุอาในค่ำคืนอัล-เกาะดัร เนื่องจากดุอาของท่านรอซูลนั้นเป็น ดุอาที่ดีที่สุด หากเราสังเกตแล้ว จะเห็นว่าดุอาที่ท่านรอซูลวอนขอต่ออัลลอฮนั้นเป็น ดุอาที่เกี่ยวข้องกับการขออภัยต่อัลลอฮผู้ทรงให้อภัย ตรงนี้จะเห็นได้ว่าเป็นการขอให้อัลลอฮลบล้างบาปต่างๆ ให้หมดไปนั้นเป็นสิ่งที่ จำเป็นยิ่ง เนื่องจากบาปนั้นเป็นสิ่งที่กีดกั้นมิให้บุคคลเข้าในสรวงสวรรค์และห่างไกล จากนรกของพระองค์ ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่เหมาะสมยิ่งที่เราทุกคนควรมีการขอดุอาต่ออัลลอฮในค่ำ คืนที่ทรงประเสริฐยิ่ง หวังเพื่อจะได้เป็นผู้ที่มีความบริสุทธิ์ผุดผ่องจากบาปทั้งหลาย แท้จริงแล้วอัลลอฮทรงรักผู้ที่ขออภัยโทษและบริสุทธิ์จากบาปต่าง ๆ

 บทเรียนจากหะดีษ

1. ความกระตือรือร้นของท่านหญิงอะอีชะห์ ซึ่งเข้าใจถึงภาระหน้าที่ของมุสลิมและมุสลีมะห์ เมื่อเผชิญกับค่ำอัลเกาะดัร
2. มุสลิมะฮ์ก็มีสิทธิที่จะได้รับความดีและความประเสริฐของค่ำคืนอัลเกาะดัร
3. บัญญัติให้มีการขอดุอาในค่ำคืนอัลเกาะดัร เมื่อปรากฎซึ่งสัญญาณต่าง ๆ
4. ดุอาในค่ำคืนอัลเกาะดัรที่ดีที่สุดคือดุอาที่ท่านรอซูลได้สอนไว้ในหะดีษข้างต้น
5. ดุอาเพื่อขออภัยโทษต่ออัลลอฮนั้นสำคัญกว่าดุอาอื่นๆ
6. คุณลักษณะของอัลลอฮนั้นพระองค์เป็นผู้ที่ทรงให้อภัยแก่บ่าวของพระองค์

 

 หะดีษบทที่ 34

ฟัรดูซะกาตฟิตเราะห์

???? ????? ?????? ?????? ????? ???????? ????? : ?????? ???????? ????? ?????? ????? ???????? ????????? ??????? ???????? ?????? ???? ?????? ??? ?????? ???? ???????? ????? ??????? ?????????? ??????????? ???????????? ? ????????????? ???????????? ???? ?????????????? . ???????? ????? ???? ???????? ?????? ???????? ???????? ????? ?????????? .


ความ ว่า จากอับดุลเลาะ บิน อุมัร เราฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า : “ท่านรอซูล(ศ็อลฯ)ได้ฟัรดูบัญญัติให้ออกซะกาตฟิตเราะห์ 1 กันตังด้วยลูกอินทผลัม หรือ 1 กันตังด้วยแป้งสาลีแก่มุสลิมที่เป็นเสรีชนและทาส ชายและผู้หญิง คนแก่และเด็ก และท่านรอซูลได้สั่งให้จ่ายซะกาตก่อนที่ผู้คนจะออกไปเพื่อละหมาดวันอีด”
(มุตตะฟะกุน อะลัยฮ์ : บุคอรี 3/291-292 และมุสลิม 983)


คำอธิบาย

อิมามอันนะวะวีย์กล่าวว่า อุละมาอ์มีทัศนะที่ขัดแย้งกันเกี่ยวกับความหมายของคำว่า “???” ญุมฮุรอุละมาฮจากซะลัฟและเคาะลัฟให้ความหมายว่า “ลาซิมและวาญิบ” เพราะซะกาตฟิตเราะห์สำหรับพวกเขามีหุกมวาญิบ เนื่องจากเข้าอยู่ในภาพรวมคำสั่งของอัลลอฮ และเนื่องจากการใช้คำ “???” มี อุละมาอ์บางท่านเห็นว่าซะกาตฟิตเราะฮ์นั้นสุนัตไม่ใช่วาญิบ

ท่านอิบ นุ กุตัยบะฮ์กล่าวว่า ที่หมายถึงซะกาตฟิตเราะห์นั้นคือ ซะกาตสำหรับตนเอง ซึ่งมาจากคำว่า “ฟิตเราะห์” (อัล-ฟัตหุ อัร-ร็อบบานีย์ มะอาซัรฮิฮี 9/138)

หะดีษข้างต้นชี้ให้เห็นว่า ซะกาตฟิตเราะห์ไม่เป็นเงื่อนไขของถึงนิศอบ (เกณฑ์) ทั้งนี้วาญิบสำหรับผู้ยากจนและผู้ร่ำรวย

อัล-อิ มาม อัช-ชาฟิอีย์กล่าวว่าหากมีเหลือจากค่าใช้จ่ายสำหรับตนเองและครอบครัวในเช้าตรู่ของวันอีดและกลางคืนของวันอีด จึงเป็นวาญิบสำหรับเขาในการจ่ายซะกาตฟิตเราะห์ (ชัรหุ อัส-สุนนะห์ ลิล-บะเฆาะวีย์ 6/71)

ที่ถูกต้องตามสุนนะของรอซูล (ศ็อลฯ) คือ ซะกาต ฟิตเราะห์จะต้องจ่ายฟิตเราะห์ในวันอีดก่อนออกไปสู่มุซัลลา แต่ถ้าหากว่าการให้ฟิตเราะห์ทันทีหลังจากเข้ารอมฏอนก่อนวันอีดถือว่าควร (ฮารุส) เพราะท่านอุมัรเคยฝากซะกาตฟิตเราะห์ให้แก่ผู้จัดเก็บฟิตเราะห์ ก่อนวันอีดสองวันหรือสามวัน (อัล-มุวัฏเฏาะอ์ 1/285 ออกโดยอัซ-ซาฟีอีย์ 1/248 สะนัตเศาะฮีห์ ให้ดูในซัรหุอัส-สุนนะ 6/76)


บทเรียนจากหะดีษ

1. กำหนดให้จ่ายซะกาตฟิเราะฮ์ในเดือนรอมฎอน เพื่อให้ผู้ที่ถือศีลอดมีความบริสุทธิ์ และเป็นการช่วยเหลือคนยากจน
2. การจ่ายซะกาตฟิตเราะห์ถูกบัญญัติขึ้น (ฟัรฎู) ในปีที่ 2 หลังจากฮิจญ์เราะฮ์ไปยังนครมะดีนะฮ์
3. มุสลิม ที่วาญิบต้องจ่ายซะกาตได้แก่ ผู้ชาย ผู้หญิง มุสลิมที่เสรีชน คนแก่ หนุ่มสาว จนถึงเด็กทารกที่เพิ่งเกิดในช่วงปลายรอมฎอนก็จะต้องจ่ายซะกาตเช่นเดียวกัน
4. ประเภทซะกาต ได้แก่ ลูกอินทผลัมหรือแป้งสาลี ส่วนข้าวสารนั้นเป็นการกิยาสกับแป้งสาลีที่เป็นอาหารหลัก
5. อัตราซะกาตที่จะต้องจ่าย คือ 1 ศออฺ ( กันตังของชาวมะดีนะห์เท่ากับ 3 ลิตร กับ 1 กระป๋องนมของบ้านเรา)
6. ซะกาตจะต้องจ่ายให้เสร็จสิ้นก่อนละหมาดอีด
7. ผู้ที่มีสิทธิรับซะกาตฟิตเราะห์ คือ 8 จำพวก (เหมือนกับจำพวกที่สามารถรับซะกาตทั่วไป)
8. เวลาที่สามารถจ่ายซะกาตคือ เริ่มตั้งแต่ต้นรอมฎอนจนถึงเช้าวันอีดก่อนละหมาดอีด
9. ศาสนา อิสลามเป็นศาสนาที่สอนให้ประชาชาติมีการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะคนที่มีฐานะร่ำรวยจะต้องช่วยเหลือคนที่ยากจน เพื่อให้เกิดความรักใคร่ เอื้ออาทรซึ่งกันและกัน


หะดีษบทที่ 35

เป้าหมายของการจ่ายซะกาตฟิตเราะห์

???? ????? ???????? ?????? ????? ????????? ????? : " ?????? ??????? ?????? ????? ???????? ????????? ??????? ???????? ???????? ??????????? ???? ???????? ??????????? ?????????? ?????????????? ?????? ???????? ?????? ?????????? ?????? ??????? ??????????? ?????? ???????? ?????? ?????????? ?????? ???????? ???? ????????????


ความว่า จากอิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุกล่าวว่า:ท่านรอซูล (ศ็อลฯ) ได้กำหนดฟัรฎูซะกาตฟิตเราะห์เพื่อเป็นการชำระผู้ถือศีลอดให้สะอาดบริสุทธิ์ จาก (ทั้งคำพูดและการกระทำ) ที่ไร้สาระและซากาต จะเป็นอาหารของคนยากจน ดังนั้น ผู้ใดที่จ่ายซะกาตก่อนละหมาดวันอีด จึงเป็นซะกาตที่อัลลอฮฺทรงตอบรับ และผู้ใดที่จ่ายซะกาตหลังจากละหมาดอีดแล้วถือว่าเป็นเศาะดาเกาะฮฺทั่วๆ ไป (มิใช่เป็นซะกาต) (รายงานโดย อิบนุ มาญะห์ 1827)


บทเรียนจากหะดีษ

1. หุก่มของการจ่ายซะกาตฟิตเราะห์คือ วาญิบ

2. วิทยปัญญาของการจ่ายซะกาตฟิตเราะห์ที่หะดีษกล่าวไว้ คือ
• ทำให้ผู้ถือศีลอดสะอาดจากคำพูดและการกระทำที่ชั่วร้ายและไม่มีประโยชน์
• เป็นอาหารแก่คนยากจน

3. ระยะเวลาในการจ่ายซะกาตฟิตเราะห์คือตั้งแต่ต้นรอมฎอนจนถึงเช้าวันอีด (ก่อนละหมาดอีด)

4. เวลาที่ดีที่สุดในการจ่ายซะกาตฟิตเราะห์คือ เช้าของวันอีด

5. ผู้ ที่จ่ายซะกาตฟิตเราะห์ก่อนละหมาดวันอีดนั้นเป็น ซะกาตที่อัลลอฮรับฺ แต่หากจ่ายหลังจากละหมาดวันอีดแล้ว จะไม่ถือว่าเป็นซะกาต แต่จะเป็นการทำทานทั่วไป ดังนั้น เขายังคงมีภาระต้องจ่ายซะกาตอยู่

 

 หะดีษบทที่ 36

วันอีดในอิสลาม

???? ?????? ?????? ????? ?????? ????? : ?????? ??????? ????? ?????? ????? ???????? ????????? ??????????? ??????? ????????? ???????????? ????????? ??????? : ??? ??????? ?????????? ? ??????? : ??? ??????? ????? ?????? ???????? ????????? ???????????????? ??????? : ???? ???????????? ????? ??????? ?????????: ????? ????????? ????????? ????????"


ความ ว่า จากอนัส เราฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า : ขณะที่ท่านรอซูล (ศ็อลฯ) อพยพจากนครมักกะฮฺมาถึงนครมะดีนะห์ ชาวนครมะดีนะห์ขณะนั้นมีวันสำคัญอยู่สองวัน ซึ่งพวกเขามีการละเล่นอย่างสนุกสนานในวันดังกล่าว ท่านรอซูลถามว่า สองวันนี้คือวันอะไร? พวกเขาจึงตอบว่า เป็นวันที่พวกเรามีความสนุกสนานในทั้งสองวันในสมัยญะฮีลียะห์ จากนั้นท่านรอซูลกล่าวว่า แท้จริงแล้วอัลลอฮฺทรงทดแทนแก่พวกท่าน สองวันอื่นที่ดีกว่าสองวัน สำคัญของพวกท่านนั้นคือวันอิดิลอัฎฮาและอิดิลฟิตรี”
(รายงานโดยอบู ดาวูด 1/295 อิสนาดเศาะเหี๊ยะ นะซาอีย์ 3/179-180)


บทเรียนจากหะดีษ

1. ท่านรอซูลเคยอพยพจากมักกะฮฺไปยังมะดีนะห์เพื่อเผยแผ่ศาสนาของอัลลอฮ

2. คนในสมัยญะฮีลียะห์ก็มีวันสำคัญสำหรับพวกเขา

3. ทุกชาติและทุกศาสนาในโลกนี้ต่างก็มีวันสำคัญของ พวกเขา

4. วันอีดในอิสลามมีเพียง 2 วัน คือ วันอิดิลฟิตรีและวัน อิดิลอัฎหา

5. วันอิดิลฟิตรีและวันอิดิลอัฎฮามีเกียรติยิ่งกว่าวันอีดใดๆ ของมวลมนุษยชาติในโลกนี้

6. อัลลอฮฺประสงค์ดีต่อประชาชาติมุสลิมเสมอ

7. การส่งเสริมวันอีดอันนอกเหนือจากวันอิดิลฟิตรีและ อิดิลอัฏฮาถือว่าเป็นการผิดต่อซุนนะห์และหลักคำสอนของอัลลอฮฺและรอซูล

 

 หะดีษบทที่ 37

การแต่งกายในวันอีด

???? ??????????? ????? ????? ????? : " ?????? ?????? ??????? ???? ?????????? ??????? ??? ???????? ??????????? ? ??????? ??????? ????? ?????? ????? ???????? ???????? ??????? : ??????? ?????? ? ???????? ????? ?????????? ???????????? ??????? ???? ??????? ????? ?????? ????? ???????? ???????? : ???????? ?????? ??????? ??? ??? ??????? ???? . ???????? ?????? ??? ????? ???? ??????? ? ????? ???????? ???????? ??????? ????? ?????? ????? ??????? ???????? ????????? ????????? ? ?????????? ????? ?????? ??????? ????? ??????? ????? ?????? ????? ???????? ???????? ??????? : ??? ??????? ???? ? ??????? ????? ???????? ?????? ??????? ???? ??? ??????? ???? ???????????? ????? ???????? ????????? . ??????? ???? ??????? ????? ?????? ????? ???????? ???????? : ??????????? ??? ???????? ????? ?????????.


ความว่า จากอับดุลลอฮ อิบนุ อุมัร เราะฏิยัลลอฮุอันฮุมา กล่าวว่า ท่านอุมัร (บินอัลค็อฏฏอบ) ได้หยิบเสื้อคลุมตัวหนึ่ง (ที่ทำมาจาก) เส้นไหมหยาบ และได้ (ซื้อ) เสื้อตัวนั้น หลังจากนั้นท่านเข้าพบท่านรอซูล (ศ็อลฯ) พร้อมกล่าวว่า โอ้ท่านรอสูล (ศ็อลฯ) ท่านจงซื้อเสื้อชุดนี้เพื่อสวมใส่ในวันอีดและเพื่อสวมใส่ในการต้อนรับคณะ (แขก) ท่านรอซูล (ศ็อลฯ) จึงได้กล่าวแก่อุมัรว่า แท้จริงเสื้อดังกล่าว จะไม่มีผลบุญ (ในวันอะคิเราะห์) ท่าน อุมัรจึงนั่งลง หลังจากนั้นท่านรอสูล (ศ็อลฯ) ฝากเสื้อที่ทำมาจาก ดิบาจญ์ (เส้นไหมละเอียด) ท่านอุมัรจึงรับเสื้อดังกล่าว พร้อมทั้งนำเสื้อดังกล่าวไปยังรอซูล (ศ็อลฯ) ท่าน อุมัร กล่าวว่า โอ้ท่านรอซูล (ศ็อลฯ) แท้จริงท่านได้กล่าวว่า เสื้อดังกล่าวเป็นเครื่องประดับของคนที่ไม่มีผลบุญ และ (ทำไม) ท่านจึงฝากเสื้อดังกล่าวให้แก่ฉัน ท่านรอซูล (ศ็อลฯ) ตอบว่า ท่านขายเสื้อดังกล่าวหรือท่านได้มา (ราคา) เพื่อ (สนอง) ความจำเป็นของท่าน”(รายงานโดย บุคอรีย์ มะอา อัลฟัตฮี 2/439)

บทเรียนจากหะดีษ

1. ส่งเสริมให้ใส่เสื้อที่สวยงามในวันอีด

2. เครื่องแต่งตัวในวันอีดนั้นจะต้องไม่ขัดกับหลักการอิสลาม

3. ห้ามผู้ชายสวมใส่เสื้อที่ทำจากเส้นไหม

4. ผู้ที่ใส่เสื้อที่ทำจากเส้นไหมถูกตราว่าเป็นผู้ที่โชคร้ายในวันอะคีเราะห์

5. ส่งเสริมให้มีการพบปะกับคนที่มีเกียรติและเป็นที่นับถือ

 

หะดีษบทที่ 38

รับประทานเล็กน้อยก่อนออกไปละหมาดวันอีด

???? ?????? ?????? ????? ?????? ????? : ????? ??????? ????? ?????? ????? ???????? ???????? ??? ???????? ????? ???????? ?????? ???????? ???????????? ??????????????? ???????

ความว่า จากอนัส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า: ท่านรอซูล (ศ็อลฯ) จะไม่ออกจากบ้านในวันอีด(ฟิตรีย์) เว้นแต่ท่านได้รับประทานลูกอินทผลัมเล็กน้อยและรับประทานจำนวนที่เป็นเลข คี่” (เศาะเหี๊ยะห์บุคอรี มะอัล ฟัตฮุ 2/1446)

 คำอธิบายหะดีษ

อัล-มัะฮ์ ลับกล่าวว่า วิทยปัญญาของการส่งเสริมให้รับประทานก่อนละหมาดอีด (ฟิตรีย์) ก็เพื่อมิให้คนอื่นเข้าใจว่าวันดังกล่าวเป็นวันถือศีลอด บางท่านกล่าวว่า วันดังกล่าวเป็นวันที่ต้องละศีลอดหลังจากวาญิบให้ถือศีลอด ดังนั้น จึงสุนัตให้รับประทานอาหารเล็กน้อย หากมิใช่เป็นการเคารพภักดีต่ออัลลอฮ ก็ไม่จำเป็นต้องรับประทานอาหารก็ได้

อุละมาอ์บางท่านจากพวกเขากล่าว ว่า เนื่องจากซัยฏอนถูก ล่ามโซ่ในเดือนรอมฏอนและชัยฏอนจะไม่ถูกปลดปล่อยเว้นแต่หลังจากละหมาดอีด (ฟิตรีย์) ด้วยเหตุนี้ จึงสุนัตให้ละศีลอดทันที (รับประทาน) เพื่อให้เกิดความปลอดภัยจากการถูกหลอกลวงของชัยฏอนมารร้าย


บทเรียนจากหะดีษ

1. หะดีษกล่าวถึงเรื่องของ “การกระทำที่สุนัต” หรือการกระทำของท่านรอซูลก่อนออกจากบ้านไปสู่ยังสถานที่ละหมาดอีด
2. ท่านรอซูลจะรับประทานลูกอินทผลัมสักเล็กน้อยก่อน ไปละหมาดอีด
3. ข้อดีและประโยชน์ของลูกอินทผลัม ซึ่งท่านรอซูลจะรับประทานอยู่เสมอ
4. วิธีรับประทานอินทผลัม คือ รับประทานเป็นจำนวนเลขคี่
5. ความประเสริฐของจำนวนเลขคี่ในอิสลาม อิบาดะห์หลายอย่างปฏิบัติเป็นจำนวนเลขคี่


หะดีษบทที่ 39

ให้พาครอบครัว สตรี ในเช้าวันอีด

???? ????? ????????? ??????? : ????????? ??????? ????? ?????? ????? ???????? ???????? ???? ????????????? ??? ???????? ??????????? ??????????? ????????????? ????????? ?????????? . ???????? ????????? ?????????????? ?????????? ???????????? ???????? ?????????? ??????????????. ?????? : ??? ??????? ????? ?????????? ??? ??????? ????? ?????????. ????? ????????????? ????????? ???? ????????????

ความว่า จากอุมมุ อะตียะห์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา กล่าวว่า : ท่านรอซูลได้สั่งให้เราพาบรรดาหญิงสาว สตรีที่กำลังมีประจำเดือนไปยังมุศ็อลฯลาในวันตรุษอีดิลฟิตรีและวันตรุษอิ ดิลอัฎฮา โดยจะแยกสตรีที่มีประจำเดือนจากสถานที่ละหมาดในขณะเดียวกันจะให้พวกเธอได้ รับฟังความดีงามและร่วมในการขอดุอาอฺของมุสลิม อุมมุอะตียะห์กล่าวว่า: โอ้ท่านรอซูล ! ในบรรดาพวกเรามีสตรีที่ไม่มียิลบาบ (เครื่องแต่งกายที่ใช้ปกปิดเอาเราะห์) ท่านรอซูลตอบว่า : ญาติพี่น้องควรให้เขายืมญิลบาบ” (รายงานโดยมุสลิม 883)


บทเรียนจากหะดีษ

1. กล่าวถึงเกียรติและความยิ่งใหญ่ของวันอีดในอิสลาม
2. ท่านรอซูลได้ส่งเสริมให้สตรีทุกคนออกมาเพื่อร่วมในวันอีดิลฟิตรีและอิดิลอัฎฮา ซึ่งจะรวมถึงบรรดาหญิงสาวที่มีประจำเดือน
3. วัตถุประสงค์ที่ให้บรรดาหญิงสาวออกมาก็เพื่อให้เขาสามารถร่วมในกิจกรรมการทำความดีและร่วมในการขอดุอาอฺ
4. สตรีที่ออกจากบ้านจะต้องสวมใส่หิญาบ หมายถึง ห้ามออกจากบ้านโดยไม่ปกปิดเอาเราะห์ (สิ่งพึงสงวน)
5. ส่งเสริมให้มีการให้หยิบยืมฮีญาบแก่เพื่อน ๆ ที่ยังไม่มี
6. ส่งเสริมให้มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อให้ความดีงามเกิดขึ้นเพื่อจะได้ปฏิบัติตามคำสั่งของอัลลอฮฺและรอซูล

 

 หะดีษบทที่ 40

ส่งเสริมทำทานในวันอีดให้มาก

???? ??????? ???? ?????????? ?????? ????? ?????? ????? : ???????? ???? ??????? ????? ?????? ????? ???????? ???????? ?????????? ?????? ???????? ???????? ???????????? ?????? ?????????? ???????? ??????? ????? ????????? ? ????? ????? ?????????? ????? ??????? ? ???????? ????????? ????? ??????? ????? ????????? ???????? ???????? ????? ????????? ???????????? ? ????? ????? ?????? ????? ?????????? ????????????? ????????????? ??????? : ??????????? ? ??????? ????????????? ?????? ???????? . ????????? ???????? ???? ?????? ?????????? ????????? ??????????? ????????? : ???? ?????????? ????? ? ?????: ??????????? ?????????? ?????????? ???????????? ??????????. ????? : ?????????? ????????????? ???? ???????????? ?????????? ??? ????? ??????? ???? ??????????????? ????????????????

ความ ว่า จากญะบีร บิน อับดิลลาฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า : ฉันได้ละหมาดอีดพร้อม ๆ กับท่าน รอซูล ท่านได้เริ่มละหมาดก่อนการคุฏบะฮฺโดยไม่มีอะซานและอิกอมะฮฺ จากนั้นท่านยืนขึ้น (อ่านคุตบะฮฺ) โดยจับที่บิลาล (เนื้อหาคุตบะฮฺได้แก่)เพื่อยำเกรงและภักดีต่ออัลลอฮ ตักเตือนผู้ที่มาละหมาด (ด้วยคำสอนที่ดี) (หลังจากเสร็จสิ้นจากคุฏบะฮ์) ท่านเดินไปข้างหน้าจนถึงที่ของฝ่าย มุสลีมะฮฺ และตรงนั้นท่านได้ตักเตือนพวกเธอ กล่าวว่าพวกท่านจงทำทานเถิด แท้จริงแล้วผู้หญิงส่วนใหญ่จะเป็นเหยื่อไฟนรกญะฮันนัม (เมื่อฟังดังกล่าวแล้ว) มีผู้หญิงที่มีเกียรตินางหนึ่งยืนขึ้นพร้อมกล่าวว่า : ทำไมต้องเป็นเช่นนั้นโอ้ท่านรอซูล ? ท่านรอซูลตอบว่า : เพราะผู้หญิงส่วนใหญ่ชอบฟ้องและลืมบุญคุณสามีง่าย ญะบีรกล่าวว่าจากนั้นเหล่าผู้หญิงจึงได้ทำทานด้วยเครื่องประดับต่าง ๆ ของพวกเขา เช่น ตุ้มหู แหวน โดยที่พวกเธอใส่สิ่งของต่าง ๆ เหล่านั้นลงไปในเสื้อของบิลาล” (รายงานโดยมุสลิม 884)


บทเรียนจากหะดีษ

1. ญะบีร บิน อับดิลละฮฺ เป็นเศาะหาบะฮ์คนหนึ่งที่เคยละหมาดวันอีดร่วมกับท่านรอซูล (ศ็อลฯ)

2. วิธีละหมาดวันอีดในอิสลาม เริ่มต้นด้วยการละหมาด (จำนวน 2 เราะกะอ๊าต) จากนั้นจึงอ่านคุตบะฮฺ

3. ละหมาดวันอีดมีวิธีที่เฉพาะ ได้แก่ จะไม่มีการอะซานและอิกอมะฮฺ การคุตบะฮฺจะอ่านหลังจากละหมาดเสร็จ

4. อิหม่ามหรือผู้ที่อ่านคุตบะฮฺสามารถจะพิงผู้อื่นได้

5. สิ่งที่จำเป็นต่อการปลูกฝังในวันอีดคือ การตักวาและการภักดี (เชื่อฟัง) ต่ออัลลอฮฺ ขณะเดียวกันให้ความรู้และบทเรียนในขณะคุตบะฮฺ

6. ท่านรอซูลให้ความสำคัญเกี่ยวกับสตรี

7. ส่งเสริมให้สตรีทำการบริจาคทานมากๆ โดยเฉพาะในวันอีด เพราะสตรีจำนวนมากจะเป็นเหยื่อของไฟนรก

8. ชอบฟ้องและไม่รู้บุญคุณของสามี เป็นสาเหตุประการหนึ่งที่ทำให้พวกเขาต้องเข้านรก (ขอให้พระองค์อัลลอฮฺทรงห่างไกลจากสิ่งเหล่านี้)

9. ความประเสริฐของการบริจาคทาน ซึ่งเป็นอะมั๊ลเฉพาะที่ท่านรอซูลได้สั่งไว้ เพื่อให้สตรีปฏิบัติในวันอีด

10. ความพิเศษของบรรดาเศาะหาบะฮฺสตรีคือ การน้อมรับคำสั่งของอัลลอฮฺด้วยความชื่นใจ

11. บรรดาเศาะฮาบะฮฺสตรีจะบริจาคทานด้วยการมอบเครื่องแต่งกายและเครื่องประดับ

 

หะดีษบทที่ 41

ไปทางหนึ่งกลับอีกทางหนึ่ง

???? ????? ????????? ?????? ????? ????? ????? : ????? ??????? ????? ?????? ????? ??????? ???????? ????? ?????? ????? ???????? ??????? ???????????


ความ ว่า จากอบี ฮุรอยเราะฮฺ เราฎิยัลลอฮุอันฮุกล่าวว่าท่านรอซูล (ศ็อลฯ) เมื่อออกจากบ้านไปยังมุศ็อลลาในวันอีด ท่านจะไปทางหนึ่งและกลับอีกทางหนึ่ง (รายงานโดยบุคอรี 2/472)

บทเรียนจากหะดีษ

1. ในวันอีดให้ออกไปสถานละหมาดโดยใช้เส้นทางหนึ่งและกลับโดยใช้อีกเส้นทางหนึ่ง
2. การกระทำที่สุนัตในวันอีด ได้แก่ การเดินทางไปทางหนึ่งและกลับอีกทางหนึ่ง


หะดีษบทที่ 42

ออกไปในวันอีดด้วยการเดินเท้า

??? ????? ???? ????? ?????? ?????? ????? ?????? ????? : " ???? ?????????? ???? ???????? ????? ???????? ???????? ?????? ??????? ??????? ?????? ???? ????????".


ความว่า จากอะลีย์ บิน อบีตอลิบ กล่าวว่า “เป็นการสุนัตในวันอีด หากท่านออกไปสู่สถานที่ละหมาดด้วยการเดินเท้า และรับประทานอาหารเล็กน้อยก่อนออกไป” (รายงานโดยติรมีซีย์ 2/410 ว่าเป็นหะดีษหะซัน)

บทเรียนจากหะดีษ

1. กล่าวถึงการใช้ชีวิตในวันอีดที่ถูกต้องตามซุนนะห์ของท่าน รอซูล (ศ็อลฯ)

2. ให้ออกไปยังสถานที่ละหมาดด้วยการเดินเท้า

3. ก่อนที่จะออกไปละหมาดอีด (ฟิตรีย์) ให้รับประทานอาหารเล็กน้อยเพื่อเตือนให้ทราบว่าวันอีดเป็นวันละศีลอดมิใช่เป็นวันถือศีลอด


หะดีษบทที่ 43

สุนัตให้ละหมาดอีดในมุศ็อลฯลา

???? ????? ??????? ????????? ?????? ????? ????? ????? : ????? ??????? ????? ?????? ????? ???????? ???????? ???????? ????? ???????? ??????????? ????? ?????????? . ????????? ????? ???????? ???? ?????????? ????? ?????????? ?????????? ????????? ???????? . ?????????? ??????? ????? ??????????? ???????????? ???????????? ????????????? ... ????? ??????????


ความ ว่า จากอบี สะอีด อัลคุฏรีย์ เราะฏิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า “แท้จริงท่านรอซูลจะออกไปละหมาดยังมุศ็อลฯลา(สถานที่ละหมาด) ในวันอีดิลฟิตรีย์ และอีดิลอัฏฮาโดยที่สิ่งแรก ๆ ที่ท่านรอซูล กระทำคือ การละหมาด (วันอีด) จากนั้นท่านยืนขึ้นหันหน้าไปยังผู้คน ซึ่งพวกเขากำลังนั่งอยู่เป็นแถว ท่านรอซูลจึงนำเสนอ (คุตบะห์) ด้วยการให้บทเรียนและคำสั่งเสีย (วะเซี๊ยต) แก่พวกเขาและสั่งเสียบางอย่างแก่พวกเขา…จากนั้นท่านก็ออกไป” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮ์ : บุคอรี 2/3 และมุสลิม 2/605)

คำอธิบายหะดีษ

ใน การให้คำอธิบายหะดีษดังกล่าว ท่านอิบนุ ฮะญัร อัล-อัศเกาะลานีย์ได้กล่าวว่า จากหลักฐานหะดีษนี้ ถือว่าสุนัตให้ออกไปสู่สนามเพื่อทำการละหมาดอีด แท้จริงแล้วสิ่งนั้นมีความประเสริฐกว่าการทำละหมาดอีดในมัสยิด เนื่องจากท่านรอซูล (ศ็อลฯ) คงไว้การกระทำดังกล่าว

ส่วนความหมายของ “??????” ในหะดีษนี้เป็นสนามแห่งหนึ่งหรือเป็นพื้นที่กว้างที่ห่างออกไปจากมัสยิดอัน นะบะวีย์ ประมาณ 1,000 ศอก (ฟัตหุลบารีย์ 2/449-450)

อัล-อิมาม อัชชาฟิอีย์ กล่าวว่า “เราได้รับ (รายงานมาว่า) แท้จริงท่านรอซูล (ศ็อลฯ) ออกไปในทั้งสองวันอีดไปยัง มุศ็อลลาในบริเวณนครมะดีนะมุเนาว์วะเราะห์ เฉกเช่นเดียวกับ (การกระทำ) ของบรรดาเหล่าเศาะฮาบะฮ์ หลังจากท่านรอสูลยกเว้นเมื่อมีเหตุขัดข้องบางประการ เช่น ฝนตก เป็นต้น ทั้งนี้รวมถึงประเทศอื่นๆ ด้วย ยกเว้นชาวมักกะฮเท่านั้น ดังนั้นไม่มีคำยืนยันว่าชาวสะลัฟสมัยก่อนที่มีทำการละหมาดอีดพร้อมๆ กันกับคนจำนวนมาก ยกเว้นในมัสยิดอัลหะรอม และหากว่ามัสยิด (ในประเทศหรือหมู่บ้านมีความคับแคบ) ไม่สามารถที่จะบรรจุผู้คน (เมื่อทำการละหมาดอีด) แต่อิหม่าม (ในสถานที่นั่น) ยังให้มีการทำละหมาดในสถานที่ดังกล่าว ดังนั้นข้าพเจ้า (มีความเห็นว่า) การกระทำดังกล่าวนั้นเป็นสิ่งที่มักรูฮ์สำหรับพวกเขา แม้ว่าพวกเขาจะไม่ต้องละหมาดซ้ำก็ตาม (อัล-อุมม อัช-ชาฟิอีย์ 1/234)

บทเรียนจากหะดีษ

1. ท่านรอซูล (ศ็อลฯ)ได้แสดงแบบอย่างในการต้อนรับ วันอีด

2. มีการละหมาดวันอีด ณ มุศ็อลลา (ในสนามหรือที่ลานกว้าง) เป็นซุนนะห์ของท่านรอซูลและบรรดาเศาะหาบะฮ์ได้ดำเนินรอยตามท่าน

3. การ ร่วมกันออกไปยังท้องสนามหรือที่ลานกว้างนั้น นับเป็นสัญญลักษณ์ของอิสลาม และเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่และพลังของประชาชาติอิสลาม

4. สิ่ง แรกที่ท่านรอซูลทำหลังจากรวมตัว ณ มุศ็อลลา คือ การละหมาดวันอีด อันเป็นการทำความภักดีต่ออัลลอฮและการขอขอบคุณต่อเนี๊ยะมัตของพระองค์

5. ศาสนาอิสลามได้บัญญัติให้มีการอ่านคุตบะห์หลังจากละหมาดอีด เพื่อเป็นการตักเตือนแก่ผู้ร่วมละหมาด

6. ผู้เข้าร่วมละหมาดอีดควรนั่งเป็นแถวอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย พร้อมที่จะรับฟังคำสอนและคำตักเตือนจากอิหม่าม

 

 หะดีษบทที่ 44

ความประเสริฐของการถือศีลอดหกวันในเดือนเชาววาล

???? ????? ???????? ????????????? ?????? ????? ?????? ????? : ???????? ??????? ????? ?????? ????? ???????? ???????? ??????? : " ???? ????? ????????? ? ????? ?????????? ?????? ???? ???????? ? ???????? ????????? ?????????

ความว่า จากอบีอัยยูบ อัล-อันศอรีย์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า : ฉันได้ยินท่านรอซูล (ศ็อลฯ) กล่าวว่า “ผู้ใดถือศีลอดครบหนึ่งเดือนในเดือนรอมฎอน จากนั้นตามด้วยศีลอดหกวันในเดือน เชาวาลการกระทำดังกล่าวนั้น (ผลตอบแทนของการถือศีลอด) เสมือนถือศีลอดตลอดปี” (รายงานโดยมุสลิม 1164 อะห์มัด 5/417-419 อบู ดาวูด 2433 และติรมีซีย์ 759)


บทเรียนจากหะดีษ

1. การถือศีลอดในเดือนรอมฎอนเป็นวาญิบและการถือ ศีลอดในเดือนเชาวาลเป็นสุนัต

2. ความประเสริฐของการถือศีลอดในเดือนเชาวาล

3. การถือศีลอดในเดือนรอมฎอนและตามด้วยการถือศีลอดหกวันในเดือนเชาวาล อัลลอฮทรงให้ผลบุญเสมือนถือศีลอดเป็นเวลา 1 ปี

4. หลัก ทั่วไปเกี่ยวกับการให้ผลตอบแทนต่อการกระทำที่ดี คือ หนึ่งความดี ตอบแทนด้วย10 เท่า การถือศีลอดในเดือนรอมฎอน 30 วัน พร้อมกับการถือศีลอดเดือนเชาวาล 6 วัน รวมกันเป็น 36 วัน จากนั้นคูณด้วย 10 เท่ากับ 360 วัน ก็เท่ากับว่าถือศีลอดเป็นเวลา 1 ปี

5. ถือศีล อดสุนัตในเดือนเชาวาล ควรเริ่มจากวันที่ 2 ของเดือนเชาวาล และถือศีลอดติดต่อกัน แต่หากไม่ได้เริ่มจากต้นเดือนเชาวาล และถือศีลอดไม่ติดต่อกันก็ถือว่าทำได้


วัลลอฮุ อะอ์ลัม


ผู้เขียน :อาหมัด ฮูเซน อัลฟารีตีย์

ผู้แปล : ฮาเรส เจ๊ะโด

ผู้ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน

ลิ้งก์ที่มา: http://www.islamhouse.com/gp/321222

Maintained by: e-Daiyah Group (1429 H - 2008).