Loading

 

ความวุ่นวายและการทดสอบแห่งโลกดุนยา

ความวุ่นวายและการทดสอบแห่งโลกดุนยา

 

มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮฺ ขอความสุขความจำเริญและศานติจงประสบแด่ศาสนทูตของพระองค์ ฉันขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺเพียงองค์เดียว ไม่มีภาคีใดๆ สำหรับพระองค์ และฉันขอปฏิญาณว่ามุหัมมัดเป็นบ่าวของอัลลอฮฺและเป็นศาสนทูตของพระองค์

การทดสอบที่ยิ่งใหญ่ประการหนึ่งที่อัลลอฮฺและศาสนทูตของพระองค์ได้เตือนไว้คือ การทดสอบแห่งโลกนี้ อัลลอฮฺ ตะอาลาตรัสว่า

﴿وَٱضۡرِبۡ لَهُم مَّثَلَ ٱلۡحَيَوٰةِ ٱلدُّنۡيَا كَمَآءٍ أَنزَلۡنَٰهُ مِنَ ٱلسَّمَآءِ فَٱخۡتَلَطَ بِهِۦ نَبَاتُ ٱلۡأَرۡضِ فَأَصۡبَحَ هَشِيمٗا تَذۡرُوهُ ٱلرِّيَٰحُۗ وَكَانَ ٱللَّهُ عَلَىٰ كُلِّ شَيۡءٖ مُّقۡتَدِرًا ٤٥﴾ [الكهف: 45]

ความว่า “และจงเปรียบอุทาหรณ์การดำรงชีวิตอยู่ในโลกนี้แก่พวกเขา ประหนึ่งน้ำที่เราหลั่งมันลงมาจากฟากฟ้า ดังนั้นพืชผลในแผ่นดินก็จะคลุกเคล้าไปกับน้ำ แล้วมันก็แห้งกรังเป็นเศษเป็นชิ้น ซึ่งลมจะพัดมันให้ปลิวว่อน และอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงอานุภาพเหนือทุกสิ่ง” (สูเราะฮฺอัลกะฮฺฟ์: 45)

และพระองค์ตรัสว่า     

﴿ٱعۡلَمُوٓاْ أَنَّمَا ٱلۡحَيَوٰةُ ٱلدُّنۡيَا لَعِبٞ وَلَهۡوٞ وَزِينَةٞ وَتَفَاخُرُۢ بَيۡنَكُمۡ وَتَكَاثُرٞ فِي ٱلۡأَمۡوَٰلِ وَٱلۡأَوۡلَٰدِۖ كَمَثَلِ غَيۡثٍ أَعۡجَبَ ٱلۡكُفَّارَ نَبَاتُهُۥ ثُمَّ يَهِيجُ فَتَرَىٰهُ مُصۡفَرّٗا ثُمَّ يَكُونُ حُطَٰمٗاۖ وَفِي ٱلۡأٓخِرَةِ عَذَابٞ شَدِيدٞ وَمَغۡفِرَةٞ مِّنَ ٱللَّهِ وَرِضۡوَٰنٞۚ
وَمَا ٱلۡحَيَوٰةُ ٱلدُّنۡيَآ إِلَّا مَتَٰعُ ٱلۡغُرُورِ ٢٠﴾ [الحديد: 20]

ความว่า “พึงทราบเถิดว่า แท้จริงการมีชีวิตอยู่ในโลกนี้มิใช่อื่นใด เว้นแต่เป็นการละเล่นและการสนุกสนานร่าเริง และเครื่องประดับและความโอ้อวดระหว่างพวกเจ้า และการแข่งขันกันสะสมในทรัพย์สินและลูกหลาน เปรียบเสมือนเช่นน้ำฝนที่การงอกเงยพืชผลยังความพอใจให้แก่กสิกรแล้วมันก็เหี่ยวแห้ง เจ้าจะเห็นมันเป็นสีเหลืองแล้วมันก็กลายเป็นเศษเป็นชิ้นแห้ง ส่วนในวันปรโลกนั้นมีการลงโทษอย่างสาหัส และมีการอภัยโทษและความโปรดปรานจากอัลลอฮ และการมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ มิใช่อื่นใดนอกจากการแสวงหาผลประโยชน์แห่งการหลอกลวงเท่านั้น” (สูเราะฮฺอัล-หะดีด: 20)

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺให้พ้นจากการทดสอบและความวุ่นวายของโลกนี้

ท่าน อัมรฺ บิน บัยมูน อัล-เอาดีย์ กล่าวว่า ท่านสะอฺด์สอนคำต่างๆ เหล่านี้ให้กับบุตรหลานของท่าน เหมือนกับคุณครูสอนเด็กๆ ให้เขียนหนังสือ และท่านกล่าวว่า ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เคยกล่าวขอความคุ้มครองทุกๆครั้งหลังละหมาดว่า

«اللَّهُمَّ إِنِّي أعُوذُ بِكَ من الجُبْنِ، وأعُوذُ بِكَ من البُخْلِ، وأعُوذُ بِكَ من أَنْ أُرَدَّ إلى أَرْذَلِ العُمُرِ، وأعُوذُ بِكَ مِنْ فِتْنَةِ الدُّنْيَا وعذابِ القَبْرِ » [البخاري برقم 2822 ]

ความว่า “โอ้อัลลอฮฺ แท้จริงฉันขอความคุ้มครองจากพระองค์ให้พ้นจากความขลาดกลัว และขอความคุ้มครองจากพระองค์ให้พ้นจากความตระหนี่ถี่เหนียว และขอความคุ้มครองจากพระองค์ให้พ้นจากการที่ฉันจะกลับไปสู่สภาพต่ำต้อยที่สุดของอายุ ขอความคุ้มครองจากพระองค์จากการวุ่นวาย (หรือการทดสอบ) แห่งโลกนี้ และขอความคุ้มครองจากพระองค์ให้พ้นจากการลงโทษในไฟนรก” (บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ: 2822)

อัลลอฮฺทรงห้ามศาสนทูตของพระองค์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ที่จะพินิจมองความสวยงามและเพริศแพร้วแห่งโลกนี้ พระองค์ตรัสว่า

﴿وَٱصۡبِرۡ نَفۡسَكَ مَعَ ٱلَّذِينَ يَدۡعُونَ رَبَّهُم بِٱلۡغَدَوٰةِ وَٱلۡعَشِيِّ يُرِيدُونَ وَجۡهَهُۥۖ وَلَا تَعۡدُ عَيۡنَاكَ عَنۡهُمۡ تُرِيدُ زِينَةَ ٱلۡحَيَوٰةِ ٱلدُّنۡيَاۖ وَلَا تُطِعۡ مَنۡ أَغۡفَلۡنَا قَلۡبَهُۥ عَن ذِكۡرِنَا وَٱتَّبَعَ هَوَىٰهُ وَكَانَ أَمۡرُهُۥ فُرُطٗا ٢٨﴾ [الكهف: 28]

ความว่า “และจงอดทนต่อตัวของเจ้า ร่วมกับบรรดาผู้วิงวอนต่อพระผู้เป็นเจ้าของพวกเขาทั้งยามเช้าและยามเย็น โดยปรารถนาความโปรดปรานของพระองค์ และอย่าให้สายตาของเจ้าหันเหออกไปจากพวกเขา ขณะที่เจ้าประสงค์ความสวยงามแห่งชีวิตของโลกนี้” (สูเราะฮฺอัล-กะฮฺฟ์: 28)

และอัลลอฮฺตะอาลาตรัสว่า

﴿وَلَا تَمُدَّنَّ عَيۡنَيۡكَ إِلَىٰ مَا مَتَّعۡنَا بِهِۦٓ أَزۡوَٰجٗا مِّنۡهُمۡ زَهۡرَةَ ٱلۡحَيَوٰةِ ٱلدُّنۡيَا لِنَفۡتِنَهُمۡ فِيهِۚ وَرِزۡقُ رَبِّكَ خَيۡرٞ وَأَبۡقَىٰ ١٣١﴾ [طه: 131]

ความว่า “และเจ้าจงอย่าทอดสายตาของเจ้าไปยังสิ่งที่เราได้ให้ความเพลิดเพลินแก่บุคคลประเภทต่างๆ ของพวกผู้ปฏิเสธศรัทธา ซึ่งความสุขสำราญในโลกดุนยา เพื่อเราจะได้ทดสอบพวกเขาในการนี้ และการตอบแทนของพระเจ้านั้นดียิ่งกว่าและจีรังยิ่งกว่า” (สูเราะฮฺฏอฮา: 131)

และอัลลอฮฺทรงอธิบายว่าการที่พระองค์ทรงประทานความเพริศแพร้วสะดวกสบายต่างๆในโลกนี้ ให้แก่บรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธานั้น ก็เพราะว่าสิ่งเหล่านั้นไม่มีค่าใดๆ ณ ที่พระองค์ และเพื่อเป็นการทดสอบพวกเขาเหล่านั้น พระองค์ตรัสว่า

﴿فَلَا تُعۡجِبۡكَ أَمۡوَٰلُهُمۡ وَلَآ أَوۡلَٰدُهُمۡۚ إِنَّمَا يُرِيدُ ٱللَّهُ لِيُعَذِّبَهُم بِهَا فِي ٱلۡحَيَوٰةِ ٱلدُّنۡيَا وَتَزۡهَقَ أَنفُسُهُمۡ وَهُمۡ كَٰفِرُونَ ٥٥﴾ [التوبة: 55]

ความว่า “ดังนั้นจงอย่าให้ทรัพย์สมบัติของพวกเขา และอย่าให้ลูกๆของพวกเขาเป็นที่พึงใจแก่เจ้า แท้จริงอัลลอฮฺทรงต้องการที่จะลงโทษพวกเขาด้วยสิ่งเหล่านั้นในชีวิตแห่งโลกนี้ และให้ชีวิตของพวกเขาออกจากร่างไปขณะที่พวกเขาเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธาเท่านั้น” (สูเราะฮฺ อัต-เตาบะฮฺ: 55)

และพระองค์ตรัสว่า     

﴿أَيَحۡسَبُونَ أَنَّمَا نُمِدُّهُم بِهِۦ مِن مَّالٖ وَبَنِينَ ٥٥ نُسَارِعُ لَهُمۡ فِي ٱلۡخَيۡرَٰتِۚ بَل لَّا يَشۡعُرُونَ ٥٦﴾ [المؤمنون : 55-56]

ความว่า “พวกเขาคิดหรือว่าแท้จริงสิ่งที่เราได้ให้แก่พวกเขา เช่น ทรัพย์สมบัติและลูกหลานนั้น เราได้รีบเร่งให้ความดีต่างๆ แก่พวกเขากระนั้นหรือ? เปล่าเลย แต่ทว่าพวกเขาไม่มีความรู้สึกหรือ?” (สูเราะฮฺ อัล-มุอ์มินูน: 55-56)

และอัลลอฮฺตรัสว่า         

﴿وَلَوۡلَآ أَن يَكُونَ ٱلنَّاسُ أُمَّةٗ وَٰحِدَةٗ لَّجَعَلۡنَا لِمَن يَكۡفُرُ بِٱلرَّحۡمَٰنِ لِبُيُوتِهِمۡ سُقُفٗا مِّن فِضَّةٖ وَمَعَارِجَ عَلَيۡهَا يَظۡهَرُونَ ٣٣وَلِبُيُوتِهِمۡ أَبۡوَٰبٗا وَسُرُرًا عَلَيۡهَا يَتَّكِ‍ُٔونَ ٣٤وَزُخۡرُفٗاۚ وَإِن كُلُّ ذَٰلِكَ لَمَّا مَتَٰعُ ٱلۡحَيَوٰةِ ٱلدُّنۡيَاۚ وَٱلۡأٓخِرَةُ عِندَ رَبِّكَ لِلۡمُتَّقِينَ ٣٥﴾ [الزخرف : 33-35]

ความว่า “และหากมิใช่มนุษย์ทั้งหลายจะได้เป็นประชาชาติหนึ่งเดียวกันแล้ว แน่นอนเราจะให้ผู้ที่ปฏิเสธศรัทธาต่อพระผู้ทรงกรุณาปรานีมีบ้านของพวกเขาหลังคาทำด้วยเงิน และบันไดที่พวกเขาขึ้น (ก็ทำด้วยเงิน) และบ้านของพวกเขามีประตูและเตียงนอน (ทำด้วยเงิน) ซึ่งพวกเขาจะนอนเอกเขนกบนมัน และ (เราจะให้เครื่องประดับแก่พวกเขาที่ทำด้วย) ทองคำ แต่ทั้งหมดนั้นเป็นเพียงปัจจัยชั่วคราวแห่งชีวิตในโลกนี้เท่านั้น ส่วนในปรโลก ณ ที่พระเจ้าของเจ้านั้นสำหรับบรรดาผู้ยำเกรง” (สูเราะฮฺ อัซ-ซุครุฟ: 33-35)

มีรายงานจาก หะดีษของสะฮฺล์ บิน สะอฺด์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

«لَوْ كَانَتِ الدُّنْيَا تَعْدِلُ عِنْدَ اللَّهِ جَنَاحَ بَعُوضَةٍ مِنْ خَيْرٍ ، مَا سَقَى كَافِرًا مِنْهَا شَرْبَةً مِنْ مَاءٍ»  [الترمذي برقم 2320]

ความว่า “หากว่าโลกนี้มีค่าเทียบเท่ากับปีกของยุง ณ ที่อัลลอฮฺ ผู้ปฏิเสธศรัทธาก็คงไม่ได้ดื่มน้ำจากโลกนี้เลยแม้เพียงอึกเดียว” (บันทึกโดยอัต-ติรมีซีย์ ในสุนันของท่าน เลขที่หะดีษ 2320 ท่านอัต-ติรมีซีย์ กล่าวว่าเป็นหะดีษเศาะฮีหฺเฆาะรีบ จากการรายงานในสายนี้)

ท่านญาบิร เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เดินผ่านตลาดจากทางเนินสูง โดยมีผู้คนมากมายอยู่รอบข้างท่าน เมื่อท่านเดินผ่านซากศพแพะซึ่งมีใบหูเล็กตัวหนึ่ง ท่านก็จับหูของมันขึ้นมาและกล่าวว่า “มีผู้ใดในหมู่พวกท่านต้องการมันในราคาหนึ่งดิรฮัมไหม?” พวกเขากล่าวว่า “พวกเราไม่ต้องการมันเลย เราจะเอามันไปทำอะไรเล่าครับ?” ท่านกล่าวว่า “พวกท่านชอบที่จะให้มันเป็นของพวกท่านไหม?” (ให้ไปฟรีๆ เลยเอาไหม- ผู้แปล) พวกเขากล่าวว่า “ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ หากว่ามันยังมีชีวิตอยู่ตัวมันก็มีส่วนที่เป็นตำหนิเพราะว่ามันหูเล็ก แล้วเมื่อมันเป็นซากศพแล้วจะไม่เลวร้ายกว่าหรือครับ?!” ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จึงกล่าวว่า

«فَوَاللِّه! لَلدُنْيَا أهونُ عَلى اللّهِ، مِن هَذَا عَلَيْكُم» [مسلم برقم  2957]

ความว่า “ดังนั้นแหละ ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ โลกนี้ไร้ค่า ณ ที่อัลลอฮ ยิ่งกว่าความไร้ค่าของสิ่งนี้ (ซากศพของแพะหูเล็ก) ในความคิดของพวกท่านเสียอีก” (บันทึกโดยมุสลิม หะดีษเลขที่ 2957)

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เตือนให้ประชาชาติของท่านระวังการทดสอบและความเพริศแพร้วของโลกนี้ ดังรายงานหะดีษจาดท่านอัมรฺ บิน เอาฟฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

«فَوَاللّهِ مَا الفَقْرَ أَخْشَى عَليكُمْ، ولكنِّي أَخْشَى أَنْ تُبْسَطَ الدُّنْيا عَليكُمْ كما بُسِطَتْ على مَنْ كانَ قبلَكُم، فَتَنافَسُوها كَما تَنافَسُوها، فتُهْلِكَكُمْ كما أهلَكَتْهُم» [البخاري برقم 4015 ، ومسلم برقم 2961]

ความว่า “ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ มิใช่ความยากจนที่ฉันเกรงว่าจะประสบกับพวกท่าน แต่ฉันเกรงว่าโลกดุนยาจะถูกเปิดแผ่ให้กับพวกท่าน เหมือนกับที่เคยถูกเปิดแผ่ให้กับประชาชาติก่อนหน้าพวกท่าน แล้วพวกท่านจะแก่งแย่งชิงโลกนี้กัน เหมือนกับที่พวกเขาเคยแก่งแย่งชิงโลกนี้มาก่อนแล้ว และมันจะทำลายพวกท่านดุจเดียวกับที่เคยทำลายผู้คนก่อนหน้าท่านมาแล้ว" (บันทึกโดย อัล-บุคอรียฺ เลขที่หะดีษ 4015 และมุสลิม เลขที่หะดีษ 2961)

ท่าน อัช-ชาฟิอีย์ (ขอพระองค์ทรงเมตตาท่าน) กล่าวว่า “แท้จริงสำหรับอัลลอฮฺมีบ่าวผู้ชาญฉลาด ละทิ้งโลกนี้และเกรงกลัวความวุ่นวาย พวกเขาพิจารณาถึงโลกนี้แล้วพบว่า ... มันมิใช่ที่พักพิงอันถาวร พวกเขาจึงให้โลกนี้เป็นคลื่นแห่งทะเล เป็นสิ่งนำพา ให้การงานที่ดีล่องผ่านไป”

และท่านอิบนุ อบี หะศีนะฮฺ กล่าวว่า “ดุจความฝันเมื่อยามนอน หรือดั่งเช่นเงาที่ต้องลบเลือนไป ... แท้จริงผู้ที่ฉลาดจะไม่ถูกหลอกกับสิ่งเหล่านี้เป็นอันขาด”

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เป็นผู้ที่ห่างไกลจากโลกนี้และความสวยงามของมัน ท่านอับดุลลอฮฺ บิน มัสอูด เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม นอนบนเสื่อ เมื่อท่านลุกขึ้นพบว่ามีร่องรอยเสื่อบนสีข้างของท่าน พวกเรากล่าวว่า “โอ้ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ พวกเราจะหาที่นอนมาให้กับท่านสักผืนหนึ่ง” ท่านกล่าวว่า

«مَالِي وَمَا لِلدُنْيَا ؟! مَا أَنَا في الدُنْيَا إلا كَرَاكِبٍ اسْتَظَلَّ تَحْتَ شَجَرَةٍ ثُمَّ رَاحَ وَتَرَكَهَا» [الترمذي برقم 2377]

ความว่า “โลกนี้ไม่เกี่ยวข้องกับฉัน ฉันกับโลกนี้เป็นเหมือนกับผู้ขี่พาหนะที่แสวงหาร่มเงาอยู่ใต้ต้นไม้ หลังจากนั้นก็จากไปและทิ้ง(ต้นไม้นั้น) ไว้เบื้องหลังเขา” (บันทึกโดย อัต-ติรมีซีย์ เลขที่หะดีษ 2377 ท่านอัต-ติรมีซีย์กล่าวว่า เป็นหะดีษหะสันเศาะฮีหฺ)

ท่านอุมัร เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านขึ้นไปยังห้องที่เป็นระเบียงของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เมื่อครั้งที่ท่านทำการอีลาอ์บรรดาภรรยาของท่าน (คือการสาบานว่าจะไม่ร่วมหลับนอนกับภรรยาเพื่อเป็นการสั่งสอนและดัดนิสัย – ผู้แปล) เมื่อท่านอุมัรฺเห็นว่าฝุ่นทรายบนเสื่อทำให้เกิดร่องรอยบนสีข้างของท่าน สองนัยน์ตาของท่านจึงเอ่อล้นร้องไห้ และกล่าวว่า “โอ้ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ ในขณะที่กิสรอ (คุสโรแห่งเปอร์เซีย) และก็อยศ็อรฺ (ซีซาร์แห่งโรม) ใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางความสุขสำราญและสะดวกสบาย แต่ท่านซึ่งเป็นถึงผู้ที่อัลลอฮฺทรงเลือกจากสิ่งที่พระองค์สร้างกลับอยู่ในสภาพเช่นนี้!” ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ซึ่งนอนตะแคงอยู่จึงลุกขึ้นนั่งและกล่าวว่า

«أَوَفِي شَكٍّ أَنْتَ يَا ابْنَ الخَطَّابِ ؟! ثم قال: أُولئِكَ قومٌ عُجِّلتْ لَهُمْ طَيِّبَاتُهُمْ فِي الحَياةِ الدُنْيَا»

 

ความว่า “ท่านมีความสงสัยในตัวฉันหรือ โอ้บุตรของอัล-ค็อตตอบ!?” และกล่าวต่อว่า “พวกนั้นคือกลุ่มชนที่ถูกเร่งให้ได้รับความดีในชีวิตของโลกนี้ต่างหาก”

และในบางสายรายงานระบุว่า

«أمَا تَرضَى أنْ تكونَ لَهُمْ الدُنْيَا ولَنَا الآخرةُ ؟!» [البخاري برقم 4913 ومسلم برقم 1479]

ความว่า “ท่านไม่พอใจที่จะให้ความสุขสบายเป็นของพวกเขาในโลกนี้ และเป็นของเราในโลกหน้ากระนั้นหรือ?” (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ หะดีษเลขที่ 4913 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 1479)

ท่านอะลี เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวถึงดุนยาไว้ว่า “เป็นความเหน็ดเหนื่อยในตอนต้น สุดท้ายเป็นการสูญสลาย สิ่งที่อนุมัติให้ทำได้มีการคิดบัญชี สิ่งที่ถูกห้ามไม่ให้ทำมีการลงโทษ ผู้ใดทำถูกต้อง (ในโลกนี้) เขาปลอดภัย ผู้ใดโลภเขาจะเสียใจ ผู้ใดพอเพียงเขาจะเพลิดเพลิน ผู้ใดที่ไม่พอเพียงเขาจะเศร้าโศก ผู้ใดแสวงหามันจะสร้างความวุ่นวายให้เขา ผู้ใดหลีกห่าง มันจะมาหา ผู้ใดที่จับจ้อง มันจะทำให้เขาตาบอด ผู้ใดที่มองอย่างพิจารณา มันจะทำให้เขามองเห็น”

อบุลหะสัน อัต-ตะฮามีย์ กล่าวถึงโลกดุนยาว่า “มันถูกสร้างขึ้นให้มีความสกปรกขุ่นหมอง แต่ท่านกลับปราถนาที่จะได้ครอบครองมันในสภาพที่บริสุทธิ์สวยงาม ปราศจากความสกปรกใดๆทั้งสิ้น"

และท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม สั่งเสียบรรดาสหายของท่านให้มีความสมถะกับโลกนี้และความสวยงามของมัน ดังมีรายงานหะดีษจากท่านอับดุลลอฮฺ บิน อุมัร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา กล่าวว่า ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จับบ่าทั้งสองของฉันและกล่าวว่า

«كُنْ فِي الدُّنْيَا كَأَنَّكَ غَرِيبٌ أَوْ عَابِرُ سَبِيلٍ» [البخاري برقم  6416]

ความว่า “ท่านจงอยู่ในโลกนี้เสมือนว่าท่านเป็นคนแปลกหน้าหรือผู้ผ่านทาง”

ท่านอิบนุอุมัร เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า “เมื่อถึงเวลาเช้าจงอย่ารอจนถึงตอนเย็น เมื่อถึงตอนเย็นอย่ารอจนถึงเช้า และจงฉกฉวยเวลาขณะที่ท่านยังมีสุขภาพดีก่อนที่จะเจ็บป่วย และขวนขวายขณะที่ยังมีชีวิตเพื่อชีวิตหลังความตาย” (บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ ในหนังสือเศาะฮีหฺของท่าน เลขหะดีษ 6416)

บรรดาสหายของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ต่างยึดถือคำแนะนำแห่งนบีผู้ทรงเกียรติ ดังรายงานจากหะดีษของท่าน อนัส บิน มาลิก เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า

เมื่อครั้งที่ท่านสัลมานล้มป่วยลง ท่านสะอฺด์จึงเข้าไปเยี่ยมท่าน และเห็นท่านร้องไห้ ท่านสะอฺด์จึงกล่าวกับท่านว่า “อะไรที่ทำให้ท่านร้องไห้หรือ โอ้พี่น้องของฉัน! ท่านไม่ได้เคยอยู่ร่วมกับท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมหรอกหรือ?”

ท่านสัลมานกล่าวว่า “ฉันไม่ได้ร้องไห้เพราะอย่างหนึ่งอย่างใดที่ท่านกล่าวเลย ฉันไม่ได้ร้องเพราะความโลภในโลกนี้ หรือว่ารังเกียจโลกหน้า แต่ว่าท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม สั่งเสียฉันไว้อย่างหนึ่ง ซึ่งฉันเห็นว่าฉันได้ละเมิดคำสั่งเสียนั้นแล้ว"

ท่านสะอฺด์ก็ถามว่า “แล้วท่านสั่งเสียอะไรแก่ท่านหรือ?” ท่านสัลมานกล่าวว่า “ท่านสั่งเสียฉันว่า ให้คนหนึ่งคนใดในหมู่พวกท่านมีความพอเพียงกับสิ่งที่เสมือนเสบียงของผู้เดินทาง ซึ่งฉันเห็นว่าฉันได้ละเมิดคำสั่งเสียนั้นแล้ว” ท่านษาบิตผู้รายงานหะดีษกล่าวว่า “ฉันทราบมาว่าเขาไม่ได้ทิ้งอะไรไว้เลยนอกจากยี่สิบกว่าดิรฮัมเท่านั้นที่เป็นทรัพย์สินที่อยู่กับเขา” (บันทึกโดยอิบนุมาญะฮฺ ในเศาะฮีหฺของท่าน เลขหะดีษ 3312)

.................................................

แปลโดย : อัฟนาน เพ็ชรทองคำ

ตรวจทานโดย : อัสรัน นิยมเดชา

คัดลอกจาก  http://IslamHouse.com/405884

 

 

Maintained by: e-Daiyah Group (1429 H - 2008).