Loading

 

การมีปณิธานสูง

การมีปณิธานสูง

 

มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮฺ ขอความสุขความจำเริญและศานติจงประสบแด่ศาสนทูตของพระองค์ ฉันขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺเพียงองค์เดียว ไม่มีภาคีใดๆ สำหรับพระองค์ และฉันขอปฏิญาณว่ามุหัมมัดเป็นบ่าวของอัลลอฮฺและเป็นศาสนทูตของพระองค์

แท้จริงการมีปณิธานสูงเป็นนิสัยอันดีงาม เป็นคุณลักษณะอันน่าสรรเสริญ และเป็นจรรยามารยาทอันสูงส่ง มนุษย์จะมีคุณค่าในตัวเองมากเท่าใด จะมีสถานะสูงส่งเพียงใด ขึ้นอยู่กับการที่เขามีปณิธานอันสูงส่ง อีกทั้งมีเป้าหมายในชีวิตอันมีเกียรตินั่นเอง มีผู้ให้นิยามของการมีปณิธานสูงว่า คือการมองเป้าหมายใหญ่เป็นเรื่องง่ายและมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติให้บรรลุถึงเป้าหมายที่ได้ตั้งใจไว้ หมายความว่า เมื่อมุอ์มินทำงานหนึ่งงานใดไม่ว่าจะเป็นงานของดุนยาหรือศาสนาสำเร็จลุล่วงไปงานหนึ่งแล้ว เขาจะไม่หยุดอยู่แค่งานนี้เท่านั้น แต่ทว่าเขาจะมุ่งมั่นทำงานอื่นๆต่อไปอีกเรื่อยๆโดยไม่หยุดหย่อน ดังกล่าวนี้แหละคือลักษณะของผู้มีปณิธานสูง 

อัลลอฮฺทรงส่งเสริมบ่าวของพระองค์ให้เป็นผู้มีปณิธานสูง ให้รีบเร่งไปสู่ความดีงาม และให้แข่งขันกันไปสู่การได้รับการตอบแทนขั้นสูงสุด พระองค์ตรัสว่า

﴿وَسَارِ‌عُوا إِلَىٰ مَغْفِرَ‌ةٍ مِّن رَّ‌بِّكُمْ وَجَنَّةٍ عَرْ‌ضُهَا السَّمَاوَاتُ وَالْأَرْ‌ضُ أُعِدَّتْ لِلْمُتَّقِينَ ١٣٣﴾  [آل عمران : 133]

ความว่า “และพวกเจ้าจงรีบเร่งกันไปสู่การอภัยโทษจากพระเจ้าของพวกเจ้า และไปสู่สวรรค์ซึ่งความกว้างของมันนั้น คือบรรดาชั้นฟ้าและแผ่นดิน โดยที่มันถูกเตรียมไว้สำหรับบรรดาผู้ที่ยำเกรง” (อาลอิมรอน:133)

และตรัสว่า

﴿لِمِثْلِ هَـٰذَا فَلْيَعْمَلِ الْعَامِلُونَ ٦١﴾ [الصافات : 61]

ความว่า “เพื่อเฉกเช่น (การตอบแทน) นี้ บรรดาผู้ต่อสู้ดิ้นรนจงต่อสู้ต่อไปเถิด” (อัศศอฟฟาต: 61)

และตรัสอีกว่า

﴿وَفِي ذَٰلِكَ فَلْيَتَنَافَسِ الْمُتَنَافِسُونَ ٢٦﴾ [المطففين : 26]

ความว่า “และในการนี้บรรดาผู้แข่งขัน (ที่จะให้ได้มาซึ่งความสุขสำราญนี้) จงแข่งขันกันเถิด” (อัลมุฏอฟฟิฟีน 26)

อัลลอฮฺทรงแจกแจงถึงความประเสริฐของบรรดาผู้ต่อสู้เพื่อศาสนาซึ่งมีปณิธานอันแรงกล้า เหนือกว่าบรรดาผู้นั่งเฉยๆ ซึ่งรักความสบายและการพักผ่อน ว่า

﴿لَّا يَسْتَوِي الْقَاعِدُونَ مِنَ الْمُؤْمِنِينَ غَيْرُ‌ أُولِي الضَّرَ‌رِ‌ وَالْمُجَاهِدُونَ فِي سَبِيلِ اللَّـهِ بِأَمْوَالِهِمْ وَأَنفُسِهِمْ ۚ فَضَّلَ اللَّـهُ الْمُجَاهِدِينَ بِأَمْوَالِهِمْ وَأَنفُسِهِمْ عَلَى الْقَاعِدِينَ دَرَ‌جَةً ۚ وَكُلًّا وَعَدَ اللَّـهُ الْحُسْنَىٰ ۚ وَفَضَّلَ اللَّـهُ الْمُجَاهِدِينَ عَلَى الْقَاعِدِينَ أَجْرً‌ا عَظِيمًا ٩٥﴾ [النساء : 95]

ความว่า “บรรดาผู้ที่นั่งอยู่จากหมู่มุอ์มินที่มิใช่ผู้มีความเดือดร้อน และบรรดาผู้ต่อสู้และเสียสละในทางของอัลลอฮฺทั้งด้วยทรัพย์สมบัติและชีวิตของพวกเขานั่นหาได้เท่าเทียมกันไม่ อัลลอฮฺทรงให้บรรดาผู้ที่ต่อสู้และเสียสละด้วยทรัพย์สมบัติและชีวิตของพวกเขา เหนือกว่าบรรดาผู้ที่นั่งอยู่ลำดับขั้นหนึ่ง และทั้งหมดนั้น อัลลอฮฺได้ทรงสัญญาไว้ให้ซึ่งสิ่งที่ดีเยี่ยม แต่อัลลอฮฺทรงให้บรรดาผู้ที่ต่อสู้และเสียสละเหนือกว่าบรรดาผู้ที่นั่งอยู่ ด้วยรางวัลอันใหญ่หลวง” (อันนิสาอ์: 95)

และตรัสว่า

﴿لَا يَسْتَوِي مِنكُم مَّنْ أَنفَقَ مِن قَبْلِ الْفَتْحِ وَقَاتَلَ ۚ أُولَـٰئِكَ أَعْظَمُ دَرَ‌جَةً مِّنَ الَّذِينَ أَنفَقُوا مِن بَعْدُ وَقَاتَلُوا ۚ وَكُلًّا وَعَدَ اللَّـهُ الْحُسْنَىٰ﴾ [الحديد : 10]

ความว่า “ในหมู่พวกเจ้านั้นมีผู้บริจาคและต่อสู้ (ในทางของอัลลอฮฺ) ก่อนการพิชิตนครมักกะฮฺ ชนเหล่านั้นย่อมมีฐานะสูงส่งกว่าบรรดาผู้บริจาคและต่อสู้ (ในทางของอัลลอฮฺ) หลังการพิชิตนครมักกะฮฺ และอัลลอฮฺทรงสัญญาความดีงาม (สวนสวรรค์) แก่ทั้งสองฝ่าย” (อัลหะดีด: 10)

          อิมามอะหฺมัดได้บันทึกในมุสนัดของท่าน จากหะดีษที่รายงานโดยท่านอนัส บิน มาลิก เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

«إِنْ قَامَتِ السَّاعَةُ وَبِيَدِ أَحَدِكُمْ فَسِيلَةٌ ، فَإِنْ اسْتَطَاعَ أَنْ لَا يَقُومَ حَتَّى يَغْرِسَهَا فَلْيَفْعَلْ» [أحمد في المسند 20/296، برقم 12981]

ความว่า “เมื่อวันกิยามะฮฺเกิดขึ้น ในขณะที่มือของคนหนึ่งคนใดในพวกท่านถือต้นกล้าอินทผลัมอยู่ หากว่าเขาสามารถจะนั่งปลูกมันต่อไปจนเสร็จ ก็จงปลูกมันให้เสร็จ” (หมายความว่า มุสลิมจะยังคงทำความดีอยู่เสมอ และหนึ่งในความดีก็คือ การปลูกต้นไม้ แม้ว่าก่อนการเกิดกิยามะฮฺเพียงเล็กน้อยก็ตาม ซึ่งเขาก็จะได้รับผลบุญในงานที่เขาทำ) (มุสนัด อะห์มัด เล่มที่ 20 / หน้า 296 หะดีษเลขที่ 12981, ผู้วินิจฉัยได้กล่าวเกี่ยวกับหะดีษนี้ว่า สายรายงานเศาะฮีหฺ บนเงื่อนไขของอิมามมุสลิม)

            ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวแก่เศาะหาบะฮฺของท่าน ดังมีรายงานบันทึกโดยอัฏเฏาะบะรอนีย์ ในหนังสือ “อัลกะบีร” ของท่าน จากหะดีษที่รายงานโดยอัลหะสัน บิน อะลี ว่า

«إِنَّ اللَّهَ يُحِبُّ مَعَالِيَ الأُمُورِ وَأَشْرَافَهَا ، وَيَكْرَهُ سِفْسَافَهَا» [الطبراني في الكبير برقم 2894]

ความว่า “แท้จริงอัลลอฮฺทรงชอบการงานที่ยิ่งใหญ่และมีเกียรติ มีคุณค่า และทรงรังเกียจการงานที่ต่ำต้อยด้อยค่า” (อัฏ-เฏาะบะรอนีย์ ใน อัล-มุอฺญัม อัล-กะบีรฺ เล่มที่ 3 / หน้า 131 หะดีษเลขที่ 2894, อัลอัลบานีย์วินิจฉัยว่าเป็นหะดีษเศาะฮีหฺ ใน “อัศเศาะฮีหะห์” เล่มที่ 3 / หน้า 384 หะดีษเลขที่ 1890)     

ท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เป็นผู้ที่มีปณิธานสูงสุดเหนือมวลมนุษย์ อัลลอฮฺตรัสว่า

﴿يَا أَيُّهَا الْمُزَّمِّلُ ١ قُمِ اللَّيْلَ إِلَّا قَلِيلًا ٢ نِّصْفَهُ أَوِ انقُصْ مِنْهُ قَلِيلًا ٣ أَوْ زِدْ عَلَيْهِ وَرَ‌تِّلِ الْقُرْ‌آنَ تَرْ‌تِيلًا ٤﴾ [المزمل : 1-4]

ความว่า “โอ้ผู้คลุมกายอยู่ จงยืนขึ้น (ละหมาด) เวลากลางคืนเว้นแต่เพียงเล็กน้อย (ไม่ใช่ตลอดคืน) ครึ่งหนึ่งของเวลากลางคืนหรือน้อยกว่านั้นเพียงเล็กน้อย หรือมากกว่านั้น และจงอ่านอัลกุรอานช้าๆเป็นจังหวะ (ชัดถ้อยชัดคำ)” (อัลมุซซัมมิล: 1-4)

            ท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เป็นผู้ที่มีบุคลิกภาพและจริยวัตรอันถือเป็นแบบฉบับที่ได้จากการชี้แนะแห่งพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงยิ่งใหญ่ ท่านยืนละหมาดกลางคืนจนกระทั่งเท้าทั้งสองของท่านแตก ในช่วงกลางวันท่านทำการต่อสู้เพื่อศาสนา เผยแผ่คำสอน เป็นผู้นำแก่ประชาชาติ อีกทั้งยังดูแลชีวิตความเป็นอยู่ตลอดจนทุกข์สุขของบรรดาภรรยาของท่านทั้งเก้าท่าน ท่านเคยวางก้อนหินบนท้องของท่านเนื่องจากความหิว คืนแล้วคืนเล่าที่บ้านของท่านไม่ได้จุดฟืนไฟในการหุงหาอาหาร มีเพียงน้ำและอินทผลัมแห้งเท่านั้น ท่านได้ผินหลังให้การนอนหลับพักผ่อน อัลลอฮฺตรัสว่า

﴿فَإِذَا فَرَ‌غْتَ فَانصَبْ ٧ وَإِلَىٰ رَ‌بِّكَ فَارْ‌غَب ٨﴾ [الشرح : 7-8]

ความว่า “ดังนั้นเมื่อเจ้าเสร็จสิ้น (จากงานหนึ่งแล้ว) ก็จงลำบาก (บากบั่น) ต่อไป และยังพระเจ้าของเจ้าเท่านั้นที่เจ้าจงมุ่งมาดปรารถนาเถิด” (อัรชัรหฺ 7-8)

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ส่งเสริมบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านให้เป็นผู้ที่มีปณิธานสูง ให้แข่งขันกันเพื่อได้รับตอบแทนขั้นที่สูงกว่า ดังหะดีษซึ่งบันทึกในเศาะฮีหฺมุสลิม จากรายงานของท่านอนัส บิน มาลิก เกี่ยวกับสงครามบัดรฺ ท่านเล่าว่า

فَانْطَلَقَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَأَصْحَابُهُ حَتَّى سَبَقُوا الْمُشْرِكِينَ ، فَقَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : «لَا يُقَدِّمَنَّ أَحَدٌ مِنْكُمْ إِلَى شَيْءٍ حَتَّى أَكُونَ أَنَا دُونَهُ» ، فَدَنَا الْمُشْرِكُونَ ، فَقَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : «قُومُوا إِلَى جَنَّةٍ عَرْضُهَا السَّمَوَاتُ وَالْأَرْضُ» ، قَالَ : يَقُولُ عُمَيْرُ بْنُ الْحُمَامِ الْأَنْصَارِيُّ :  يَا رَسُولَ اللَّهِ ، جَنَّةٌ عَرْضُهَا السَّمَوَاتُ وَالْأَرْضُ ، قَالَ : «نَعَمْ» ، قَالَ : بَخٍ بَخٍ ، فَقَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : «مَا يَحْمِلُكَ عَلَى قَوْلِكَ بَخٍ بَخٍ ؟» ،  قَالَ : لَا وَاللَّهِ يَا رَسُولَ اللَّهِ ، إِلَّا رَجَاءَةَ أَنْ أَكُونَ مِنْ أَهْلِهَا ، قَالَ : «فَإِنَّكَ مِنْ أَهْلِهَا» ، فَأَخْرَجَ تَمَرَاتٍ مِنْ قَرَنِهِ ، فَجَعَلَ يَأْكُلُ مِنْهُنَّ ، ثُمَّ قَالَ : لَئِنْ أَنَا حَيِيتُ حَتَّى آكُلَ تَمَرَاتِي هَذِهِ إِنَّهَا لَحَيَاةٌ طَوِيلَةٌ ، قَالَ : فَرَمَى بِمَا كَانَ مَعَهُ مِنَ التَّمْرِ ، ثُمَّ قَاتَلَهُمْ حَتَّى قُتِلَ. [مسلم برقم 1901]

ความว่า “ท่านเราะสูลและบรรดาเศาะหาบะฮฺได้ออกเดินทางไปยังบัดรฺ จนกระทั่งถึงที่นั่นก่อนมุชริกีนจะมาถึง ท่านเราะสูลได้กล่าวว่า 'คนหนึ่งคนใดในพวกท่านจงอย่าได้ล่วงหน้าฉันไป จนกระทั่งฉันอยู่ท้ายเขา' (เพื่อว่าจะได้ไม่เสียผลประโยชน์ที่พวกท่านอาจไม่ทราบ) แล้วพวกมุชริกก็ได้เข้ามาใกล้ ท่านเราะสูลจึงกล่าวว่า 'พวกท่านจงลุกขึ้นไปยังสวรรค์ซึ่งความกว้างขว้างของมันคือท้องฟ้าทั้งหลายและพิภพ' แล้วอุมัยรฺ บิน อัลหุมาม อัลอันศอรีย์ ก็กล่าวขึ้นว่า: ท่านเราะสูลครับ ความกว้างของสวรรค์เท่ากับท้องฟ้าทั้งหลายและพิภพอย่างนั้นหรือ? ท่านเราะสูลตอบว่าง ' ใช่แล้ว' อุมัยรฺจึงอุทาน (ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสิ่งนั้นยิ่งใหญ่เหลือเกิน) ว่า: บัค บัค ท่านเราะสูลจึงกล่าวแก่เขาว่า 'อะไรที่ทำให้ท่านอุทานว่า บัค บัค กระนั้นหรือ?' เขาตอบว่า: ท่านเราะสูลครับ ที่ฉันกล่าวเช่นนั้น เนื่องฉันปรารถนาที่จะเป็นผู้หนึ่งของชาวสวรรค์ ท่านเราะสูลกล่าวว่า 'แท้จริงท่านเป็นผู้หนึ่งจากชาวสวรรค์' แล้วเขาก็นำอินทผลัมแห้งออกมาจากกระบอกธนู แล้วก็รับประทานบางเม็ด แล้วเขาก็กล่าวว่า: ถ้าหากว่าฉันมีชีวิตจนกระทั่งรับประทานอินทผลัมพวกนี้หมด แท้จริงมันเป็นชีวิตที่ยืนยาวเกินไปแล้ว แล้วเขาก็ทิ้งอินทผลัมที่เขามี และออกสู้รบ จนกระทั่งถูกสังหาร” (มุสลิม หน้า 789 / หะดีษเลขที่ 1901)

อีกตัวอย่างของการมีปณิธานสูง ดังเช่นที่มีบันทึกไว้ในเศาะฮีหฺของอิมามอัล-บุคอรีย์และอิมามมุสลิม จากหะดีษที่รายงานโดยท่านอนัส เล่าว่า ลุงของฉัน คือ อนัส บิน อันนัฎรฺ ได้พลาดจากการต่อสู้ในสงครามบัดรฺ ท่านจึงกล่าวว่า “โอ้ ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ฉันได้พลาดจาการต่อสู้ครั้งแรกที่ท่านต่อสู้กับมุชริกีน หากว่าอัลลอฮฺให้ฉันได้สู้รบกับมุชริกีน พระองค์จะทรงเห็นว่าฉันสู้รบอย่างไรอย่างแน่นอน” จนกระทั่งถึงสงครามอุหุด และบรรดามุสลิมได้เพลี่ยงพล้ำ ท่านก็กล่าวว่า “ข้าแต่อัลลอฮฺ ฉันขอประทานอภัยในสิ่งที่พวกเขา (เศาะหาบะฮฺ) ทำ และขอให้พ้นมลทินจากสิ่งที่พวกเขา (มุชริกีน) ทำ” แล้วเขาก็รุดหน้าไป แล้วท่านก็พบสะอฺด์ บิน มุอาซ ท่านกล่าวว่า “สะอฺด์เอ๋ย ฉันขอสาบานต่อพระเจ้าของอันนัฎรฺ ว่าแท้จริงฉันได้กลิ่นสวนสวรรค์จากข้างใต้อุหุดนี้” แล้วสะอฺดฺก็เล่าว่า “ท่านเราะสูลครับ ผมไม่สามารถบรรยายได้เลยว่าเขาได้ต่อสู้เยี่ยงไร” อนัส (ผู้รายงานหะดีษ) กล่าวว่า “เราได้พบร่องรอยของบาดแผลจากดาบ ธนู หรือหอกที่ตัวเขาประมาณ 80 กว่าแผล เราพบว่ามุชริกีนได้สังหารเขาแล้ว และได้ทารุณศพเขา (ด้วยการตัดปาก จมูก อวัยวะต่างๆของร่างกาย) ไม่มีใครสามารถบอกได้ว่าร่างนั้นคือใคร ยกเว้นน้องสาวของเขา ที่จำได้ว่าเป็นเขาด้วยลักษณะที่ปลายนิ้วของเขา

อนัส (ผู้รายงานหะดีษ) กล่าวว่า เราคิดว่าเขาและผู้ร่วมอุดมการณ์เดียวกับเขา คือสาเหตุของการประทานอายะฮฺนี้  

﴿مِّنَ الْمُؤْمِنِينَ رِ‌جَالٌ صَدَقُوا مَا عَاهَدُوا اللَّـهَ عَلَيْهِ ۖ فَمِنْهُم مَّن قَضَىٰ نَحْبَهُ وَمِنْهُم مَّن يَنتَظِرُ‌ ۖ وَمَا بَدَّلُوا تَبْدِيلًا ٢٣﴾ [الأحزاب : 23]

ความว่า “ในหมู่ผู้ศรัทธามีเหล่าบุรุษผู้มีสัจจะต่อสิ่งที่พวกเขาได้สัญญาต่ออัลลอฮฺไว้ ดังนั้นในหมู่พวกเขามีผู้ปฏิบัติตามสัญญาของเขา และในหมู่พวกเขามีผู้ที่ยังคอย (การตายชะฮีด) และพวกเขามิได้เปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด” (อัลอะหฺซาบ: 23)

(เศาะฮีหฺ-อัล-บุคอรีย์ หน้า 542 เลขที่ 2805 , และเศาะฮีหฺมุสลิม หน้า 790 เลขที่ 1903)

            ปณิธานแบ่งเป็น 2 ประเภท

ประเภทที่หนึ่ง บุคคลที่สำนึกตนว่ามีศักยภาพคู่ควรกับงานอันยิ่งใหญ่ และมองงานอันยิ่งใหญ่นั้นเป็น เป้าหมายที่จะต้องบรรลุให้จงได้ เช่นนี้เรียกว่า ปณิธานอันยิ่งใหญ่ หรือปณิธานอันแน่วแน่

ประเภทที่สอง บุคคลที่มีศักยภาพเหมาะกับงานอันยิ่งใหญ่ แต่เขากลับดูถูกตนเอง ไม่มุ่งมั่นทำงานให้บรรลุเป้าหมาย แต่กลับมองว่าเป้าหมายนั้นเป็นเรื่องไร้สาระ ไม่สำคัญ เช่นนี้เรียกว่า ปณิธานต่ำ

อัลมุตะนับบีย์ กล่าวว่า

وَمَا أَرَى فِي عُيُوبِ الناسِ عيبًا     كنقصِ القادرين عَلَى التمامِ

ฉันเห็นว่าไม่มีสิ่งใดน่าตำหนิ เท่ากับคนที่มีความสามารถ แต่ไม่ทำจนสุดกำลัง ไม่พยายามทำให้สำเร็จ

            ตัวอย่างของการมีปณิธานสูง

มัสรูก เล่าว่า อับดุลลอฮฺ บิน มัสอูด กล่าวว่า “ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ ไม่มีอัลกุรอานอายะฮฺใดที่ถูกประทานลงมา เว้นแต่ฉันจะต้องรู้ว่าถูกประทานลงมาเกี่ยวกับเหตุการณ์ใด ถูกประทานลงมา ณ ที่ใด และหากฉันรู้ว่ามีผู้ใดรู้เกี่ยวกับคัมภีร์ของอัลลอฮฺมากกว่าฉันแล้วละก็ ฉันจะต้องไปหาเขาอย่างแน่นอน  ถ้าอูฐไปถึงเขาได้ (หากฉันสามารถไปหาเขาได้ ฉันก็จะไปอย่างแน่นอน)”

อิมามอัล-บุคอรีย์เคยตื่นขึ้นมาในคืนหนึ่งถึงประมาณ 20 ครั้ง เพื่อบันทึกหะดีษหรือความคิดที่ผุดขึ้นมา

อิมามอะหฺมัด บิน หันบัล กล่าวว่า “ฉันได้เดินทางไปยังเมืองชายแดน แคว้นชาม เมืองชายฝั่ง เมืองโมร็อกโค เมืองแอลจีเรีย มักกะฮฺ มะดีนะฮฺ เยเมน คุรอซาน และเปอร์เชีย เพื่อแสวงหาหะดีษ” ท่านได้กล่าวอีกว่า “ฉันได้ทำหัจญ์ 5 ครั้งด้วยกัน ซึ่ง 3 จาก 5 ครั้งเป็นการเดินเท้าจากแบกแดดไปมักกะฮฺ” อิบนุ อัลเญาซีย์ กล่าวว่า “อิมามอะหฺมัดได้เดินทางไปทั่วโลกถึง 2 ครั้ง จนสามารถรวบรวมหนังสือมุสนัดของท่าน ซึ่งมีหะดีษเป็นจำนวนถึง 30,000 หะดีษ”

อิบนุ อัลเญาซีย์ ได้กล่าวอีกว่า “ถ้าหากฉันพูดว่าฉันอ่านหนังสือมากกว่า 20,000 เล่ม แต่ถึงกระนั้นฉันก็ยังแสวงหาความรู้เพิ่มอีก ฉันได้รับคุณประโยชน์จากการอ่าน และได้รู้เรื่องราวของกลุ่มชน พลังปณิธาน พลังความจำ กำลังการทำอิบาดะฮฺของพวกเขา และเรื่องราวความรู้เฉพาะทาง ความรู้แปลกใหม่ ที่ผู้ไม่ได้อ่านก็จะไม่รู้ แล้วฉันก็คิดติงมนุษย์ในเรื่องการมีปณิธาน และเห็นว่าปณิธานของนักศึกษานั้นน้อยนิดเหลือเกิน" (ศอยด-อัลคอฏิร หน้า 402)

อิบนุ อัลเญาซีย์กล่าวไว้ในชีวประวัติของอัฏเฏาะบะรอนีย์ว่า ท่านคือนักปราชญ์ผู้มีชื่อว่า สุลัยมาน อิบนฺ อะหฺมัด ผู้รวบรวมหะดีษแห่งดุนยา ท่านมีผลงานหนังสือมากกว่า 75,000 เล่ม ท่านถูกถามถึงการรวบรวมหะดีษที่มากมายว่าทำได้อย่างไร ท่านตอบว่า “เพราะฉันนอนแต่บนเสื่อถึง 30 ปี” (เป็นการบ่งบอกถึงความมุ่งมั่นในการแสวงหาความรู้)

อิมามอัชชาฟีอีย์ กล่าวบทกลอนว่า

تَغَرَّبْ عَنِ الأَوْطَانِ في طلبِ العُلَا    وسافِرْ ففي الأسفارِ خمسُ فوائدِ

تَفْـرِيْجُ هَـمٍّ واكتسـابُ معيشــةٍ    وعلـمٌ وآدابٌ وصحبـةُ مـاجــدِ

จงนิรเทศตนเองออกจากบ้านเมืองเพื่อแสวงหาความสูงส่ง

จงออกเดินทางไป เพราะการเดินทางมีห้าผลดี

คือปลดเปลื้องความทุกข์  ได้รับความสุข ความมั่นคง

ได้ความรู้ วัฒนธรรม ทั้งยังได้รู้จักสหายที่มีเกียรติ

ตัวอย่างของคนที่มีปณิธานสูงในยุคสมัยของเรา (ผู้เขียนเล่าความว่า) “มีผู้เล่าให้ฉันฟังว่า มีชายคนหนึ่งตาบอด หูหนวก เป็นใบ้ แต่ไม่เคยพลาดตักบีเราะตุ้ลอิหฺรอมเลยสักครั้ง และเป็นที่น่าแปลกดีแท้ ผู้ที่พาเขาไปยังมัสญิด ก็คือลูกชายของเขา ซึ่งหูหนวกและเป็นใบ้ ถึงแม้จะมีสภาพเช่นนั้น อีกทั้งได้รับการอนุโลมทางศาสนา แต่ทั้งสองก็ยังมีความมุ่งมั่นตั้งใจอันแรงกล้าที่จะออกไปยังบ้านของอัลลอฮฺ และร่วมละหมาดพร้อมญะมาอะฮฺ

อัลมุตะนับบีย์ กล่าวบทกลอนว่า

وَإِذَا كَانَتِ النُّفُوسُ كِبارًا       تَعِبَتْ فِي مُرَادِهَا الأَجْسَامُ

หากเมื่อจิตใจหวังสูงแล้วไซร้

ร่างกายจำต้องเหนื่อยล้าเพื่อให้ได้สิ่งที่ปรารถนา

 

และกล่าวว่า

إِذَا غَامَرْتَ فِي شَرَفٍ مرور      فَلَا تَقْنَعْ بِمَـا دُوْنَ النُّجُوْمِ

فَطَعْمُ المَوْتِ فِي أمرٍ حقيرٍ      كَطَعْمِ المَوْتِ في أمرٍ عظيمٍ

หากท่านเปี่ยมล้นไปด้วยปณิธานอันสูงส่ง

จงอย่าปรารถนาในสิ่งที่ต่ำต้อยกว่าดวงดาว

เพราะถึงอย่างไรรสชาติของความตายในงานที่ต่ำต้อย

ก็ไม่ต่างจากรสชาติของความตายในงานที่ยิ่งใหญ่

อบูฟิรอส อัลหะมะดานีย์ กล่าวว่า

        ونَحْنُ أُنَـاسٌ لا تَوَسُّطُ عِنْدَنَـا    لَنَا الصَدْرُ دُوْنَ العالمِيْـنَ أو القبرِ

تَهونُ عَلَيْنَا في المَعَالِي نُفُوسُنَا     ومَنْ خَطَبَ الحَسْنَاءَ لم يُغلِه المهرُ

พวกเราคือกลุ่มชนที่ไม่มีลักษณะครึ่งๆกลางๆ

สำหรับเราคือความสูงสุดเหนือผู้ใดหรือสุสาน

ต่อให้งานยิ่งใหญ่แค่ไหน ใจของเราก็ว่าง่ายดาย

ผู้ใดที่อยากหมั้นหมายกับหญิงดี มะฮัรก็ไม่ใช่สิ่งที่เกินเอื้อมสำหรับเขา

อิบนุลก็อยยิม เราะฮิมะฮุลลอฮฺ กล่าวเกี่ยวกับปณิธานว่า "เป็นการสมควรแล้วหรือ สำหรับผู้ที่อัลลอฮฺทรงให้เขารู้จักตัวของเขาเอง ทรงให้เขารู้จักความสุขและความทุกข์ แล้วเขาพอใจจะเป็นเพียงสัตว์ ทั้งที่อัลลอฮฺทรงให้เขาเป็นมนุษย์ แล้วเขาก็พอใจจะเป็นเพียงมนุษย์ธรรมดาๆคนหนึ่ง ทั้งๆที่พระองค์ทรงให้เขาสามารถจะเป็นกษัตริย์ได้ แล้วเขาก็พอใจจะเป็นเพียงกษัตริย์ธรรมดาๆ ทั้งที่พระองค์ทรงให้เขาสามารถเป็นกษัตริย์ในสถานที่อันทรงเกียรติ (สวรรค์) ณ ที่พระเจ้าผู้ทรงอานุภาพ ซึ่งบรรดามะลาอิกะฮฺจะรับใช้พวกเขา และมาหาพวกเขาจากทุกประตู อัลลอฮฺตรัสว่า

﴿سَلَامٌ عَلَيْكُم بِمَا صَبَرْ‌تُمْ ۚ فَنِعْمَ عُقْبَى الدَّارِ‌ ٢٤﴾ [الرعد : 24]

ความว่า “(พร้อมกับกล่าวว่า) ความศานติจงมีแด่พวกท่านเนื่องด้วยพวกท่านได้อดทน ที่พำนักบั้นปลายนี้มันช่างดีเสียนี่กระไร” (อัรเราะอฺด์: 24)

ความสำเร็จนี้ จะได้มาด้วยความรู้ การเอาใจใส่ต่อการแสวงหาความรู้ และขวนขวายให้ได้มาซึ่งความรู้ และสิ่งที่น่าตำหนิมากที่สุดคือ การที่ผู้หนึ่งมีความสามารถแต่ไม่ได้ทำจนสุดความสามารถของตน แล้วก็มัวแต่เสียดายในสิ่งที่ได้ผ่านพ้นไปแล้ว เพราะไม่ได้ทำให้ดีที่สุด ไม่มีอะไรที่น่ารังเกียจยิ่งไปกว่าการที่บุคคลละเลยเพิกเฉยต่อการงานที่เป็นสุนนะฮฺ ความรู้ที่เป็นประโยชน์ และการงานที่ดีงาม ผู้ใดเป็นเช่นนั้น เขาก็เป็นเช่น อนารยชน คนเสเพล ผู้กวนน้ำให้ขุ่น ทำตัวไร้ค่า เขาจึงมีชิวิตที่ไม่น่ายกย่อง หากเขาตายจากไป เขาก็ตายจากไปโดยไม่มีผู้อาลัยอาวรณ์  การจากไปของเขาทำให้แผ่นดินเบา ผู้คนรอบข้างเขาสบายขึ้น ท้องฟ้าก็ไม่ร้องไห้ให้เขา ฝุ่นดินก็ไม่คิดถึงเขา" (จากญามิอฺ อัลอาดาบ มิน กะลาม อิบนฺ อัลก็อยยิม ตรวจสอบหนังสือโดย ยุสรี อัสสัยยิด มุหัมมัด เล่ม1 / หน้า 218-219)  

        สรุป มุอ์มินจำเป็นต้องมีปณิธานสูง ต้องมุ่งมั่นทำการงานอันยิ่งใหญ่ ที่เป็นประโยชน์ต่อเขาทั้งงานดุนยาและงานศาสนา ซึ่งต้องเสียสละทั้งแรงกาย แรงใจ และทรัพย์สมบัติอันมีค่า อย่าเป็นผู้ที่มีปณิธานต่ำ ขาดความมุ่งมั่น รักความสบาย เกียจคร้าน เพราะหากตรากตรำ พยายามมากเพียงใด ก็จักได้ความสำเร็จและมีเกียรติสูงมากเพียงนั้น และผู้ใดปรารถนาความยิ่งใหญ่ จักต้องอดนอนยามค่ำคืน (จากหนังสือ อุลุวุลฮิมมะฮฺ ของ ชัยคฺ อิสมาอีล อัลมุก็อดดัม)

นักกวีกล่าวว่า

وَمَنْ رَاَمَ العُلَا مِنْ غَيْرِ كَدٍّ    أَضَاعَ العُمْرَ فِي طَلَبِ الُمحَـالِ

تَرُوْمُ العِزَّ ثُمَّ تَنَـامُ لَيْـــلًا    يَغُوْصُ البَحْرَ مَنْ طَلَبَ اللآلِي

ผู้ใดปรารถนาความยิ่งใหญ่และมีเกียรติ  โดยไม่มุมานะบากบั่น 

ย่อมทำให้อายุขัยสูญไปกับการปรารถนาสิ่งที่ไม่มีวันเป็นไปได้

หากผู้ใดปรารถนาความมีเกียรติสูงส่ง จักไม่หลับใหลลุ่มหลง

ผู้ใดปรารถนาไข่มุกย่อมต้องลงไปใต้ท้องทะเลเพื่องมหามัน

 

 .......................................................

แปลโดย : รีมา เพชรทองคำ

ตรวจทานโดย : อัสรัน นิยมเดชา

คัดลอกจาก http://IslamHouse.com/405882

 

 

 

Maintained by: e-Daiyah Group (1429 H - 2008).