Loading

 

ความวิบัติจงประสบแด่ผู้ที่อ่าน แต่ไม่ใคร่ครวญ

ความวิบัติจงประสบแด่ผู้ที่อ่าน แต่ไม่ใคร่ครวญ

 

عَنْ عَطَاءٍ، قَالَ: دَخَلْتُ أَنَا وَعُبَيْدُ بْنُ عُمَيْرٍ، عَلَى عَائِشَةَ، فَقَالَتْ لِعُبَيْدِ بْنِ عُمَيْرٍ: قَدْ آنَ لَكَ أَنْ تَزُورَنَا؟، فقَالَ: أَقُولُ يَا أُمَّهْ كَمَا قَالَ الْأَوَّلُ: زُرْ غِبًّا تَزْدَدْ حُبًّا، قَالَ: فَقَالَتْ: دَعُونَا مِنْ رَطَانَتِكُمْ هَذِهِ، قَالَ ابْنُ عُمَيْرٍ: أَخْبِرِينَا بِأَعْجَبِ شَيْءٍ رَأَيْتِهِ مِنْ رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ، قَالَ: فَسَكَتَتْ ثُمَّ قَالَتْ: لَمَّا كَانَ لَيْلَةٌ مِنَ اللَّيَالِي، قَالَ: «يَا عَائِشَةُ ذَرِينِي أَتَعَبَّدُ اللَّيْلَةَ لِرَبِّي» قُلْتُ: وَاللَّهِ إِنِّي لَأُحِبُّ قُرْبَكَ، وَأُحِبُّ مَا سَرَّكَ، قَالَتْ: فَقَامَ فَتَطَهَّرَ، ثُمَّ قَامَ يُصَلِّي، قَالَتْ: فَلَمْ يَزَلْ يَبْكِي حَتَّى بَلَّ حِجْرَهُ، قَالَتْ: ثُمَّ بَكَى فَلَمْ يَزَلْ يَبْكِي حَتَّى بَلَّ لِحْيَتَهُ، قَالَتْ: ثُمَّ بَكَى فَلَمْ يَزَلْ يَبْكِي حَتَّى بَلَّ الْأَرْضَ، فَجَاءَ بِلَالٌ يُؤْذِنُهُ بِالصَّلَاةِ، فَلَمَّا رَآهُ يَبْكِي، قَالَ: يَا رَسُولَ اللَّهِ، لِمَ تَبْكِي وَقَدْ غَفَرَ اللَّهُ لَكَ مَا تَقَدَّمَ وَمَا تَأَخَّرَ؟، قَالَ: «أَفَلَا أَكُونُ عَبْدًا شَكُورًا، لَقَدْ نَزَلَتْ عَلَيَّ اللَّيْلَةَ آيَةٌ، وَيْلٌ لِمَنْ قَرَأَهَا وَلَمْ يَتَفَكَّرْ فِيهَا ﴿إِنَّ فِي خَلْقِ السَّمَوَاتِ وَالْأَرْضِ ... ﴾ الْآيَةَ كُلَّهَا».

[رواه ابن حبان في صحيحه (620)، والمنذري، وحسنه الألباني في صحيح الترغيب 1468 ، السلسلة الصحيحة 68]

จากอะฎออฺ กล่าวว่า ฉันและอุบัยดฺ บิน อุมัยรฺ ได้เข้าไปพบท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา นางได้กล่าว(ประหนึ่งประชด)แก่อุบัยดฺว่า นี่ถึงเวลาที่เจ้ามาเยี่ยมเราแล้วใช่ไหม? อุบัยดฺก็ตอบนางว่า โอ้ท่านผู้เป็นมารดา ฉันขอกล่าวเหมือนที่คนก่อนๆ เขาพูดกันว่า เยี่ยมวันสลับวันจะได้มีความรักความผูกพันธ์แน่นแฟ้นขึ้น นางกล่าวต่อไปว่า อย่าได้เล่นสำบัดสำนวนของเจ้าเช่นนี้กับเราเลย จากนั้นอุบัยดฺ บิน อุมัยรฺ ก็ได้กล่าวถามว่า โปรดบอกแก่เราถึงสิ่งที่น่าประทับใจ ที่ท่านได้เห็นจากบางส่วนของท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ด้วยเถิด ท่านหญิงอาอิชะฮฺเงียบไปครู่หนึ่ง(บางรายงานระบุ นางร้องไห้สะอึกสะอื้น) แล้วนางก็ได้เล่าว่า คืนหนึ่ง ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ลุกขึ้นมาแล้วท่านก็กล่าวว่า “โอ้ อาอิชะฮฺ ปล่อยฉันให้อิบาดะฮฺต่อผู้เป็นเจ้าของฉันเถิด” นางกล่าวว่า วัลลอฮฺ ขอสาบานด้วยอัลลอฮฺ  ฉันรักที่จะอยู่ใกล้ท่านและรักสิ่งที่จะทำให้ท่านมีความสุข แล้วท่านได้ลุกขึ้นชำระล้างร่างกาย จากนั้นก็ยืนขึ้นละหมาด แล้วท่านก็ร้องไห้จนตักชุ่มไปด้วยน้ำตา แล้วท่านก็ร้องไห้จนเคราของท่านเปียกชุ่มไปด้วยน้ำตา แล้วท่านร้องไห้ต่อไปอีกจนพื้นเปียก จนกระทั่งบิลาลได้อะซานสู่การละหมาด(ศุบหฺ) เมื่อบิลาลเห็นท่านร้องไห้ ก็ถามว่า โอ้ เราะสูลของอัลลอฮฺ ท่านร้องไห้ ทั้งๆ ที่อัลลอฮฺได้ให้อภัยกับท่านแล้ว ไม่ว่าจะเป็นความผิดที่มาก่อนหรือที่มาภายหลัง(หมายถึงความผิดทั้งหมด)กระนั้นหรือ? ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “จะไม่ให้ฉันเป็นบ่าวที่ขอบคุณดอกหรือ? ในคืนนี้ได้มีโองการอัลกุรอานที่ประทานลงมา ซึ่ง ความวิบัติจะมีแก่คนที่อ่านมันแต่ไม่ใคร่ครวญมัน นั่นคืออายะฮฺที่ว่า

﴿ إِنَّ فِي خَلۡقِ ٱلسَّمَٰوَٰتِ وَٱلۡأَرۡضِ وَٱخۡتِلَٰفِ ٱلَّيۡلِ وَٱلنَّهَارِ لَأٓيَٰتٖ لِّأُوْلِي ٱلۡأَلۡبَٰبِ ١٩٠ ٱلَّذِينَ يَذۡكُرُونَ ٱللَّهَ قِيَٰمٗا وَقُعُودٗا وَعَلَىٰ جُنُوبِهِمۡ وَيَتَفَكَّرُونَ فِي خَلۡقِ ٱلسَّمَٰوَٰتِ وَٱلۡأَرۡضِ رَبَّنَا مَا خَلَقۡتَ هَٰذَا بَٰطِلٗا سُبۡحَٰنَكَ فَقِنَا عَذَابَ ٱلنَّارِ ١٩١ ﴾ [آل عمران: ١٩٠- ١٩١] 

ความว่า “แท้จริงในการสร้างบรรดาชั้นฟ้าและแผ่นดิน และการที่กลางวันและกลางคืนตามหลังกันนั้น แน่นอนมีหลายสัญญาณสำหรับผู้มีปัญญา  คือบรรดาผู้ที่รำลึกถึงอัลลอฮฺ ทั้งในสภาพยืน และนั่ง และในสภาพที่นอนตะแคง และพวกเขาพินิจพิจารณากันในการสร้างบรรดาชั้นฟ้า และแผ่นดิน  (โดยกล่าวว่า) โอ้พระเจ้าของพวกข้าพระองค์ พระองค์มิได้ทรงสร้างสิ่งนี้มาโดยไร้สาระ มหาบริสุทธิ์พระองค์ท่าน โปรดทรงคุ้มครองพวกข้าพระองค์ให้พ้นจากการลงโทษในนรกด้วยเถิด” (อัลกุรอานจากสูเราะฮฺ อาล อิมรอน 190-191, หะดีษรายงานโดย อิบนุ หิบบาน 620 และอัล-มุนซีรีย์ ซึ่งอัล-อัลบานีย์ให้ทัศนะว่าเป็นหะดีษหะสัน ดู เศาะฮีหฺ อัต-ตัรฆีบ 1468, อัส-สิลสิละฮฺ อัศ-เศาะฮีหะฮฺ 68

 

          หะดีษที่ข้างต้นได้เตือนผู้ศรัทธาทั้งหลายว่าให้ใคร่ครวญต่อโองการของอัลลอฮฺ  เพราะมิเช่นนั้นแล้วความวิบัติหรือหายนะจะประสบแก่ตน คำตักเตือนดังกล่าวนี้นับว่ารุนแรงชนิดที่ต้องกลับมาขบคิดอย่างหนักว่า เราได้อ่านบรรดาโองการเหล่านั้นผ่านไปกี่ครั้งแล้วในชีวิต และทุกครั้งที่อ่านเป็นการอ่านเพียงผ่านไปหรือเป็นการอ่านอย่างคิดใคร่ครวญ

          อัลลอฮฺ  มิได้ทรงสร้างชั้นและแผ่นดินอย่างไร้สาระแต่สร้างด้วยกับสัจธรรมและกำหนดให้มันมีหน้าที่  ท้องฟ้าก็มีหน้าที่ แผ่นดินก็มีหน้าที่ และสิ่งมีชีวิตที่อยู่ใต้แผ่นฟ้าและแผ่นดินของพระองค์ก็ย่อมมีหน้าที่ด้วยกันทั้งสิ้น โดยเฉพาะสิ่งมีชีวิตที่ประเสริฐที่สุด มีสติปัญญาในการคิดใคร่ครวญ หน้าที่ของมันย่อมหนักและต่างจากสิ่งมีชีวิตทั่วไป

         มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ประเสริฐสุดที่พระองค์ได้ให้เลือกให้ “ชีวิตนี้” เป็นตัวแทนของพระองค์บนหน้าแผ่นดินนี้ คือ ชีวิตที่ดำรงตนบนหลักการอันสมบูรณ์และครอบคลุมของพระองค์ในทุกมิติของชีวิต ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องง่ายในการจะจัดการชีวิตตัวเองโดยการเอาหลักการของพระองค์มาใช้ทั้งหมด เว้นแต่บ่าวผู้สัจจริงเท่านั้นที่จะทำได้

          ทั้งนี้ เพราะมนุษย์มีความอ่อนแอ ตามอารมณ์ใฝ่ต่ำของตน หลงกับการยั่วยุของชัยฏอน ลุ่มหลงกับมายาแห่งดุนยา ซึ่งสิ่งที่อยู่ระหว่างชั้นฟ้าและแผ่นดินนั้น เป็นที่น่าลุ่มหลงแก่เราอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็น เงินทอง ทรัพย์สิน เกียรติยศ ความสวยงามของสิ่งต่างๆ อัลลอฮฺ  ตรัสไว้ว่า

﴿إِنَّا جَعَلۡنَا مَا عَلَى ٱلۡأَرۡضِ زِينَةٗ لَّهَا لِنَبۡلُوَهُمۡ أَيُّهُمۡ أَحۡسَنُ عَمَلٗا ٧ ﴾ [الكهف: ٧] 

ความว่า “แท้จริงเราได้ทำให้สิ่งที่อยู่บนแผ่นดินเป็นที่ประดับสำหรับมัน (คือทำให้สิ่งที่อยู่ในหน้าแผ่นดินนี้เพริศแพร้ว และเพรียบพร้อมไปด้วยสิ่งอำนวยความสุขทุกประเภท) เพื่อเราจะทดสอบพวกเขาว่า ผู้ใดในหมู่พวกเขามีผลงานที่ดีเยี่ยม” (อัล-กะฮฺฟิ : 7)

 

อัลลอฮฺ  ได้ตรัสอีกว่า

﴿ زُيِّنَ لِلنَّاسِ حُبُّ ٱلشَّهَوَٰتِ مِنَ ٱلنِّسَآءِ وَٱلۡبَنِينَ وَٱلۡقَنَٰطِيرِ ٱلۡمُقَنطَرَةِ مِنَ ٱلذَّهَبِ وَٱلۡفِضَّةِ وَٱلۡخَيۡلِ ٱلۡمُسَوَّمَةِ وَٱلۡأَنۡعَٰمِ وَٱلۡحَرۡثِۗ ذَٰلِكَ مَتَٰعُ ٱلۡحَيَوٰةِ ٱلدُّنۡيَاۖ وَٱللَّهُ عِندَهُۥ حُسۡنُ ٱلۡمَ‍َٔابِ ١٤ ﴾ [آل عمران: ١٤] 

ความว่า “ได้ถูกทำให้สวยงาม(ลุ่มหลง)แก่มนุษย์ซึ่งความรักในบรรดาสิ่งที่เป็นเสน่ห์ อันได้แก่ผู้หญิงและลูกชาย ทองและเงินอันมากมาย และม้าดีและปศุสัตว์ และไร่นา นั่นเป็นสิ่งอำนวยประโยชน์ชั่วคราวในชีวิตความเป็นอยู่แห่งโลกนี้เท่านั้น และอัลลอฮฺนั้น ณ พระองค์ คือที่กลับอันสวยงาม” (อาล อิมรอน: 14)

 

         ความมากมายหลากหลายที่สวยงาม และความเพริศแพร้ว สะดวกสบายในดุนยานี้ เป็นสิ่งที่อันตรายหรือเรียกได้ว่าเป็นยาพิษแก่มุสลิมเลยก็ว่าได้ หากเราขาดภูมิคุ้มกันที่ชื่อ “อีหม่าน” เพราะถ้าเราไม่ได้ใช้อิสลามและไม่ได้มีอีหม่านที่เข้มแข็งต่อสิ่งเหล่านี้ ความลุ่มหลง ความหอมหวานของมันจะห้อมล้อมเราไว้จนเรารักปรารถนา และกลัวการสูญเสีย และที่น่าอันตรายยิ่งก็คือ การที่เราชิดใกล้มันแต่ห่างไกลจากอัลลอฮฺ วิถีชีวิตที่ห่างไกลซึ่งคำสอนของอิสลาม ย่อมจะทำให้เราชิดใกล้ไฟนรกอันร้อนแรงของอัลลอฮฺมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงได้ทิ้งท้ายในโองการข้างต้นด้วยดุอาอ์บทหนึ่งที่ควรค่าอย่างยิ่งต่อการวอนขอ นั่นคือ

﴿سُبْحَانَكَ فَقِنَا عَذَابَ النَّارِ﴾ [آل عمران : 191]

ความว่า “มหาบริสุทธิ์พระองค์ท่าน โปรดทรงคุ้มครองพวกข้าพระองค์ให้พ้นจากการลงโทษในนรกด้วยเถิด” (อาล อิมรอน 191)

 

        อย่าให้ความสวยงามของท้องฟ้า แผ่นดินและสิ่งที่อยู่ระหว่างทั้งสองทำให้เราไกลห่างจากผู้สร้าง แต่ขอสิ่งเหล่านี้ทำให้เราชิดใกล้กับผู้สร้างด้วยการพินิจและใคร่ครวญ ให้ทุกครั้งที่มองไปยังท้องฟ้าเป็นการมองที่ทำให้หัวใจรับรู้ถึงความยิ่งใหญ่ของอัลลอฮฺ  ที่สรรค์สร้างท้องฟ้าและเส้นสีของมันได้อย่างอัศจรรย์ตา เป็นการเพ่งมองที่ทำให้หัวใจนึกถึงผู้ที่สร้างมันมากขึ้น และให้การก้าวเดินบนแผ่นดินของพระองค์แต่ล่ะก้าวเป็นการก้าวเดินด้วยความสงบเสงี่ยม นอบน้อมไม่ทะนงตน และขอบคุณในความเมตตาที่พระองค์ทรงทำให้มันราบเรียบ ง่ายดายต่อการเดินทางไปมา เป็นชีวิตที่ใคร่ครวญถึงสิ่งถูกสร้างทั้งหลายและเป็นชีวิตที่ขัดเกลาตัวเองให้หนัก เพื่อที่ความวับัติและหายนะจะไม่เกิดขึ้นแก่เราทั้งในโลกนี้และโลกหน้า

 

..........................................................................

 

ตรวจทานโดย : ซุฟอัม  อุษมาน

ที่มา : เว็บไซต์ www.islammore.com

 

คัดลอกจาก : http://IslamHouse.com/394613

 

 

Maintained by: e-Daiyah Group (1429 H - 2008).