Loading

 

สิ่งที่อนุญาตให้โกหก

สิ่งที่อนุญาตให้โกหก

 

ท่านอุมมุกุลษูม บินติ อุกบะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ได้เล่าว่า ฉันได้ยินท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

« لَيْسَ الكَذَّابُ الَّذِي يُصْلِحُ بَيْنَ النَّاسِ، فَيَنْمِي خَيْرًا، أَوْ يَقُولُ خَيْرًا » [متفق عليه]

“ไม่ใช่คนโกหก ผู้ที่ไกล่เกลี่ย(เรื่องบาดหมาง)ระหว่างผู้คน แล้วเขาก็กระจายสิ่งดีๆ หรือเขาพูดสิ่งดีๆออกไป” บันทึกโดยมุสลิม

 

และในบันทึกของมุสลิมมีเพิ่มเติมว่า

« وَلَمْ أَسْمَعْهُ يُرَخِّصُ فِي شَيْءٍ مِمَّا يَقُولُ النَّاسُ إِلَّا فِي ثَلَاثٍ، تعني: الحَربَ والإصلاَحَ بين النَاسِ وحَدِيثَ الرَّجُلِ امْرَأَتَه وحديثَ المرأةِ زَوجَهَا »

“ฉันไม่เคยได้ยินว่าท่าน(นบี)จะผ่อนผัน(การโกหก)ใดๆในสิ่งที่คนพูดกัน นอกจากในสามประการ หมายถึง สงคราม การไกล่เกลี่ยเรื่องของคนอื่นๆ และคำพูดของชายคนหนึ่งกับภรรยาของเขาและคำพูดของหญิงคนหนึ่งกับสามีของนาง”

 

คำอธิบาย

การโกหกเป็นสิ่งต้องห้าม และเป็นบาปที่น่ารังเกียจอย่างยิ่ง แต่หากทำไปแล้วเกิดประโยชน์ทางศาสนามีน้ำหนักเพียงพอ เช่นไกล่เกลี่ยเรื่องระหว่างสามีภรรยาหรือระหว่างผู้คนต่างๆที่ไม่เกิดการอธรรมใดๆขึ้น หรือโกหกกับข้าศึกในช่วงทำสงคราม ก็เป็นสิ่งที่อนุญาตให้กระทำได้

 

ประโยชน์ที่ได้รับ

·      

อนุญาตให้โกหกเพื่อจะได้ไกล่เกลี่ยเรื่องระหว่างผู้คนได้ เพราะมีผลประโยชน์ทางศาสนานั่น คือให้เกิดความสมานสามัคคีระหว่างพี่น้องมุสลิม

·      

อนุญาตให้โกหกในสงครามได้ เพราะเป็นกุศโลบายสงคราม และมีผลประโยชน์ทางศาสนาที่มีน้ำหนักเพียงพอ

·       อนุญาตให้ผู้ชายโกหกภรรยา หรือผู้หญิงโกหกสามีในเรื่องที่ไม่เป็นการอธรรมหรือเกิดความเดือดร้อนใดๆ 

 

 

...................................

แปลโดย : สะอัด วารีย์

ตรวจทานโดย : ฟัยซอล อับดุลฮาดี

คัดลอกจาก http://IslamHouse.com/717814

 

 

 

 

 

Maintained by: e-Daiyah Group (1429 H - 2008).