ความหมายและประเภทของดุอาอ์

ความหมายของดุอาอ์

ในทางรากศัพท์ “ดุอาอ์” ???? หมายถึง การขอ การวิงวอน การเรียก (ดูอ้างอิง 1-3)

ส่วนความหมายของมันในทางศาสนบัญญัตินั้นหมายถึง การวิงวอนของจากอัลลอฮฺ รวมถึงการสรรเสริญและสดุดีพระองค์ (อ้างอิง 3)

นอกจากนี้ยังมีผู้ให้ความหมายอื่นอีก แต่ทั้งนี้ลักษณะการให้ความหมายมีความคล้ายกัน เช่น

 

 

1.การแสดงความปรารถนาต่ออัลลอฮฺ

2.การขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮฺ

3.การ แสดงตนว่าต้องพึ่งอัลลอฮฺ ไม่แสดงทิฐิ สำนึกในความเป็นมนุษย์ที่ต่ำต้อย และยอมรับในความประเสริฐอันมหาศาลของอัลลอฮฺ ด้วยการสรรเสริญพระองค์

4.การขอสิ่งที่เป็นประโยชน์ และให้พ้นจากสิ่งที่เป็นพิษภัย

5.การนอบน้อมวิงวอนต่ออัลลอฮฺ และมอบตนต่อหน้าพระองค์ เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ปรารถนาและให้ปลอดภัยจากสิ่งที่ไม่ประสงค์ (อ้างอิง 2)

 

ประเภทของดุอาอ์

บรรดาอุละมาอฺได้แบ่งดุอาอ์ไว้สองประเภทด้วยกัน (อ้างอิง 1-3)

1.ดุอาอ์ อิบาดะฮฺ นั่นคือ การขอด้วยการภักดี

2.ดุอาอ์มัสอะละฮฺ นั่นคือ การขอด้วยการกล่าววิงวอน

ประเภทที่ 1 ดุอาอ์ อิบาดะฮฺ นั่นคือการเรียกร้องผลบุญจากอัลลอฮฺ ด้วยการปฏิบัติความดีต่างๆ ทั้งที่เป็นภารกิจบังคับหรือภารกิจที่ให้เลือกทำโดยเสรี เช่น การกล่าวปฏิญาณ(ชะฮาดะฮฺ) และทำตามเงื่อนไขต่างๆ ของมัน การละหมาด การถือศีลอด การจ่ายซะกาต การทำฮัจญ์ การเชือดสัตว์พลี การบนบานต่ออัลลอฮฺ ฯลฯ เพราะแก่นแท้ของการปฏิบัติความดีเหล่านี้ก็คือการหวังให้อัลลอฮฺทรงตอบแทน นั่นก็คือการขอจากพระองค์นั่นเอง ถึงแม้จะไม่ได้เปล่งด้วยวาจา แต่ภาษาของการกระทำได้แสดงการขอและวิงวอนจากอัลลอฮฺแล้ว เช่นนี้จึงถือว่าการงานทุกอย่างที่เราปฏิบัติด้วยความหวังในผลตอบแทนจาก ผู้ทรงตอบแทนได้ดีที่สุด หรือทำเพราะยำเกรงต่ออำนาจและการลงโทษขององค์ผู้อภิบาล ย่อมเรียกได้ว่าเป็น ดุอาอ์ นั่นคือ ดุอาอ์ อิบาดะฮฺ (อ้างอิง 3)

ดุอาอ์ประเภทนี้ไม่ค่อยเป็นที่เข้าใจกันในคนส่วนใหญ่ เพราะทุกครั้งที่เราพูดถึงดุอาอ์ เรามักจะคิดถึงเฉพาะ ดุอาอ์ ที่เป็นการของด้วยการกล่าววิงวอน และไม่เคยคิดว่าทุกๆ อิบาดะฮฺของเราก็เป็นดุอาอ์ (อ้างอิง 2)

การแยกให้มีดุอาอ์อิบาดะฮฺ เป็นการยกอ้างมาจากดำรัสของอัลลอฮฺใน สูเราะฮฺ อัล-ฟุรกอน อายะฮฺสุดท้ายว่า

?? ?? ???? ??? ??? ???? ?????? ??? ????? ???? ???? ?????

ความว่า จงกล่าวเถิด(มุหัมมัด) พระผู้เป็นเจ้าของฉันจะไม่ใยดีต่อพวกท่าน หากไม่มีการวิงวอนภักดีของพวกท่าน เพราะพวกท่านได้ปฏิเสธไม่รับฟัง ดังนั้นการลงโทษจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน

คำว่าดุอาอ์ ที่ทรงกล่าวถึงในอายะฮฺข้างต้น ได้มีผู้อธิบายด้วยว่า ความหมายของมันก็คือ การอิบาดะฮฺ นั่นเอง (มุคตะศ็อรฺ ตัฟสีรฺ อัล-บะฆอวีย์ 2/667)

ดัง นั้นจึงมีผู้กล่าวว่า ความหมายของอายะฮฺดังกล่าวได้รวมเอาทั้งดุอาอ์อิบดะฮฺและดุอาอ์มัสอะละฮฺ ทั้งสองประเภทไว้ด้วยกันแล้ว (อ้างอิง 1)

ประเภทที่ 2 ดุอาอ์มัสอะละฮฺ นั่นคือการดุอาอ์ในรูปแบบของการขอ วิงวอนในสิ่งที่เป็นคุณแก่ผู้ขอ หรือขจัดภัยจากเขา รวมทั้งการขอในสิ่งตนต้องการ (อ้างอิง 3)

สรุป แล้ว ดุอาอ์มัสอะละฮฺ คือการดุอาอ์ทั่วๆ ไปตามที่เราถือปฏิบัติและตามที่คนส่วนใหญ่เข้าใจกันนั่นเอง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ดุอาอ์ทั้งสองประเภทอาจจะใช้การอธิบายรวมๆ กันได้ เพราะตามที่เราทราบมาแล้วว่า ทุกๆ อิบาะฮฺของเราคือการดุอาอ์ ส่วนตัวดุอาอ์เอง ก็ถือเป็นอิบาดะฮฺ ดังที่มีในหะดีษของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ว่า

?????? ?? ???????

ความว่า ดุอาอ์ นั้นคือ อิบาดะฮฺ

เมื่อ ความจริงเป็นเช่นนี้ จึงมิควรที่เราจะเพิกเฉยหรือรู้สึกเหนื่อยหน่ายต่อการปฏิบัติตนในกรอบของอิ บาดะฮฺ เพราะนั่นย่อมหมายถึงทุกเวลาเราอยู่ในสภาพผู้ที่กำลังวิงวอนต่ออัลลอฮฺ และใกล้ชิดพระองค์ แม้ในอิริยาบทปกติและกิจกรรมประจำวันทั่วไป ทั้งนี้งานที่เราทำนั้นจะต้องอยู่ในกรอบความหมายรวมของอิบาดะฮฺ อันหมายถึงการทำในสิ่งที่อัลลอฮฺทรงพอใจและงดเว้นสิ่งที่พระองค์ทรงห้าม

วัลลอฮฺ อะอฺลัม


อ้างอิง ..

1. อบูซัยด์, บักรฺ อับดุลลอฮฺ. ตัศฮีหฺ อัด-ดุอาอ์

2. อัล-หัมด์, มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม. อัด-ดุอาอ์ มัฟฮูมุฮุ อะหฺกามุฮุ อัคฏออ์ ตะเกาะอุ ฟีฮิ

3. อัล-เกาะห์ฏอนีย์, สะอีด อะลี วะฮฺฟ์. ชุรูฏ อัด-ดุอาอ์ วะ มะวานิอฺ อัล-อิญาบะฮฺ

............

เรียบเรียงโดย ซุฟอัม อุษมาน

 

 

สถานะและความสำัคัญของดุอาอ์

ในจำนวนความสำคัญของดุอาอ์ที่พอจะรวบรวมได้ ณ ที่นี้ คือ

1. ดุอาอ์ นั้นคือ อิบาดะฮฺ

ในอัล-กุรอานอัลลอฮฺได้ตรัสว่า

???? ???? ?????? ????? ??? ?? ????? ???????? ?? ?????? ??????? ???? ??????) ???? ???? : 60)

ความ หมาย พระผู้เป็นเจ้าของพวกท่านได้มีดำรัสว่า จงขอดุอาอ์ต่อฉันเถิด แล้วฉันจะตอบรับให้แก่พวกท่าน แท้จริงบรรดาผู้ยโสต่อการอิบาดะฮฺแก่ฉันจะได้เข้านรกญะฮันนัมด้วยความน่าอดสูยิ่ง

 

 

จากอายะฮฺนี้ และจากหะดีษที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า

?????? ?? ??????? ) ???? ??? ???? ???????? ???????? ???????? ??????? 1/138)

ความหมาย ดุอาอ์นั้นคืออิบาดะฮฺ

จะสังเกตได้ถึงการให้ความสำคัญของอิสลามกับดุอาอ์ ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม เรียกดุอาอ์ว่า “อิบาดะฮฺ” ใน ขณะที่ไม่พบมีการเรียกเช่นนั้นกับอามัลอื่น กรณีนี้คล้ายๆ กับที่ท่านเคยกล่าวว่า หัจญ์นั้นคือการวุกูฟ(หยุดพัก)ที่ทุ่งอะเราะฟะฮฺ ที่เป็นเช่นนั้นเพราะการวุกูฟที่อะเราะฟะฮฺ คือแกนสำคัญของอิบาดะฮฺหัจญ์ทั้งหมดนั่นเอง (ดูเพิ่มใน บักรฺ อบู ซัยด์, ตัศฮีหฺ อัด-ดุอาอ์ หน้า 18 )

 

2. การขอดุอาอ์เป็นสิ่งที่อัลลอฮฺให้เกียรติ

ในหะดีษที่รายงานโดยอบีฮุร็อยเราะฮฺ รอฎิยัลลอฮฺ อันฮุ มีว่า

??? ??? ???? ??? ???? ?? ?????? ) ???? ???????? ?? ????? ?????? ???????? ???????? ????? ???????? ???? ????? ?????? : 549)

ความหมาย ไม่มีสิ่งใดที่จะมีเกียรติยิ่ง ณ อัลลอฮฺ มากไปกว่าการดุอาอ์

 

ทั้งนี้ผู้ที่ขอดุอาอ์จะไม่รับความเสียหายอย่างใดเลยไม่ และอัลลอฮฺทรงเป็นผู้ที่ละอายอย่างยิ่งที่จะปฏิเสธการขอของบ่าวดังหะดีษ

 

(?? ???? ????? ?????? ??? ???? ?????? ?? ???? ??? ??? ???? ???? ?? ?????? ???? ) ??? ???? ???????? ???? ???? ???????? ????? ???? ??????? 3/179 ????? ??? ???? 3865

ความหมาย แท้จริงพระผู้อภิบาลของพวกท่านซึ่งทรงประเสริฐและสูงส่งนั้น เมื่อเห็นบ่าวผู้ใดได้ยกสองมือสู่พระองค์แล้ว พระองค์เป็นผู้ที่ทรงละอายและเปี่ยมประทานยิ่ง ที่จะปล่อยให้เขากลับด้วยมือเปล่า

 

ดังนั้น การขอดุอาอ์ของบ่าวนั้น กรณีการตอบรับมีอยู่สามประการด้วยกัน ดังมีระบุในหะดีษ

?? ?? ???? ???? ???? ????? ??? ???? ??? ??? ????? ??? ??? ????? ???? ??? ???? ???? : ??? ?? ???? ?? ?????? ???? ?? ?????? ?? ?? ??????? ???? ?? ???? ??? ?? ????? ????? ( ???? ????????? ???? ??????? 3/140 )

ความหมาย ไม่มีมุสลิมคนใดที่ได้ดุอาอ์ต่ออัลลอฮฺ ด้วยดุอาอ์ที่ไม่ประกอบด้วยบาป และการตัดขาดกับญาติมิตร นอกเสียจากพระองค์จะทรงประทานให้เขาหนึ่งในสามประการ นั่นคือ พระองค์อาจจะให้เขาสมหวังกับสิ่งที่เขาขอทันทีในโลกนี้ หรือพระองค์อาจจะเก็บมันไว้ให้เขาในโลกหน้า หรือพระองค์อาจจะลบล้างสิ่งชั่วร้ายที่ทัดเทียมกับสิ่งที่เขาขอเพื่อทดแทน กัน

 

3. ดุอาอ์เป็นสิ่งที่อัลลอฮฺรัก

ในหะดีษที่รายงานโดยอิบนุ มัสอูด รอฎิยัลลอฮฺ อันฮุ มีว่า

???? ???? ?? ???? ??? ???? ??? ?? ???? (??????? ?? ???? ??????? ??? ?????? ?????? ?????)

ความหมาย พวกท่านจงขอความประเสริฐของอัลลอฮฺจากพระองค์เถิด เพราะแท้จริงอัลลอฮฺทรงรักที่จะถูกขอจากพระองค์

 

หะดีษข้างต้นที่แม้จะมีสายรายงานที่อ่อน กระนั้นก็ได้หลักฐานอื่นๆ ที่มีน้ำหนักพอจะเอามาใช้เพื่ออ้างสนับสนุนได้ เช่น ดำรัสของอัลลอฮฺที่ได้ตรัสว่า

??????? ???? ?? ???? (???? ?????? : 32)

ความหมาย และพวกท่านจงขอความประเสริฐของอัลลอฮฺจากพระองค์เถิด

 

นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า การไม่ขอดุอาอ์ต่ออัลลอฮฺนั้น เป็นเหตุให้พระองค์ทรงโกรธ ดังหะดีษ

 

?? ?? ???? ???? ???? ???? ???? ( ???? ???????? ???? ???? ??????? ???????? ?? ????? ??????? ????? ???????? ?? ????? ?????? 512)

ความหมาย ผู้ใดที่ไม่ขอจากอัลลอฮฺ อัลลอฮฺจะทรงโกรธเขา

 

4. เป็นสิ่งที่กระทำได้ง่ายที่สุดทุกที่ทุกเวลา

ในหะดีษที่รายงานโดยอบี ฮุร็อยเราะฮฺ รอฎิยัลลอฮฺ อันฮุ มีว่า

???? ????? ?? ??? ?? ?????? ????? ????? ?? ??? ??????? (??? ????? ???? ??????? ??????? 154)

ความหมาย คนที่อ่อนแอที่สุด คือคนที่อ่อนแอแม้เพียงจะขอดุอาอ์ และผู้ที่ตระหนี่ที่สุด คือผู้ที่ไม่ยอมแม้เพียงจะกล่าวสลาม

 

อันเนื่องมาจาก การขอดุอาอ์นั้นสามารถปฏิบัติได้ง่าย ไม่มีเงื่อนไขอะไรมากมาย ไม่จำกัดเวลาสถานที่ โอกาส หรืออิริยาบท ไม่ว่าจะด้วยภาษาใด ดังนั้นการละเลยโดยไม่ให้ค่ากับดุอาอ์จึงนับเป็นความอ่อนแอของบ่าวที่เห็น ได้ชัดยิ่ง ทั้งนี้เพราะอัลลอฮฺนั้นทรงเตรียมพร้อมที่จะประทานความเมตตาแห่งพระองค์ให้ เขาทุกเวลา ทว่าตัวบ่าวเองนั้นไม่รู้จักตักตวงสิ่งที่พระองค์เตรียมไว้ให้เขา

 

5. ดุอาอ์เป็นเหตุระงับตักดีรไม่พึงประสงค์

มีรายงานในหะดีษว่า

?? ??? ????? ??? ?????? (???? ???? ????? ????? ???????? ??? ?? ??????? 154)

ความหมาย ไม่มีสิ่งใดที่สามารถจะระงับต้านตักดีร(กำหนดการของอัลลอฮฺ)ได้ นอกจากดุอาอ์

 

อัช-เชากานีย์ ได้อธิบายว่า ในหะดีษนี้เป็นหลักฐานว่า อัลลอฮฺจะยกเลิกสิ่งที่พระองค์ได้กำหนดแล้วว่าจะเกิดขึ้นกับมนุษย์ด้วยการขอ ดุอาอ์ของเขา (ดู ตุหฺฟะตุซ ซากิรีน หน้า 29 )

ในความหมายที่คล้ายกันมีหะดีษอีกบทหนึ่งว่า

?? ???? ??? ?? ??? ??????? ???? ??? ??? ???? ?? ???? ??? ?????? ????? ?????? ???????? ??? ??? ??????? (???????? ??????? ???????? ????? ???????? ?? ???? ?????? 7739)

ความหมาย การระวังตนไม่มีผลต่อกำหนดที่อัลลอฮฺได้วางไว้แล้ว ดุอาอ์นั้นจะมีประโยชน์ทั้งต่อสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วและที่ยังไม่เกิดขึ้นอีก ดุอาอ์กับกำหนดการทดสอบนั้นจะพบกัน(ก่อนที่มันจะลงมาโดนมนุษย์) แล้วทั้งสองก็จะปะทะต่อสู้กันจนกว่าจะถึงวันกิยามะฮฺ

 

คำอธิบายเปรียบเปรยนี้น่าจะให้ความหมายที่ชัดเจนว่าดุอาอ์จะเป็นตัวที่คอย ระงับสิ่งที่เลวร้ายซึ่งอัลลอฮฺกำหนดให้เกิดกับมนุษย์เพื่อเป็นบททดสอบเขา แต่ถูกระงับและยกเลิกด้วยการที่บ่าวได้จริงจังในการขอวิงวอนให้อัลลอฮฺปัด เป่าความเลวร้ายเหล่านั้นให้พ้นไป

ดังนั้นท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม จึงได้ใช้และสนับสนุนอย่างจริงให้ขอดุอาอ์ ดังหะดีษ

?? ??? ?? ???? ??? ?????? ???? ?? ????? ?????? ??? ??? ???? ???? ???? ??? ???? ?? ?? ???? ??????? ?? ?????? ???? ??? ??? ???? ?? ???? ?????? ???? ???? ??????? (???????? ????? ???????? ?? ???? ?????? 3409)

ความหมาย ผู้ใดที่ได้รับการชี้นำสู่ประตูแห่งการขอดุอาอ์ แน่แท้ว่าเขาได้ถูกประตูแห่งความเมตตาแก่เขาแล้ว ไม่มีสิ่งใดที่ถูกขอจากอัลลอฮฺจะเป็นที่โปรดปรานมากไปกว่าการขอความอยู่รอด ปลอดภัย แท้จริงดุอาอ์นั้นมีคุณทั้งต่อสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วและที่ยังไม่เกิดขึ้นอีก ดังนั้น ปวงบ่าวของอัลลอฮฺทั้งหลาย พวกท่านจึงต้องใช้การขอดุอาอ์

วัลลอฮฺ อะอฺลัม
 


เรียบเรียงโดย ซุฟอัม อุษมาน