Loading

 

ปฏิญญาครอบครัว

อิสลามเป็นศาสนาที่พระองค์อัลลอฮฺทรงคัดสรรมา ให้แก่มวลมนุษยชาติ เป็นศาสนาแห่งความเมตตาปรานี ถูกส่งมาเพื่อจรรโลงโลกใบ นี้ให้เกิดดุลยภาพในทุกๆ ด้านไม่ว่าจะด้านวัตถุหรือด้านจิตวิญญาณ อิสลามไม่ได้แยกออกจากกันระหว่าง ศาสนจักรกับอาณาจักร เป็นวิถีที่ครอบคลุมทั้งศาสนา การเมืองการ ปกครอง เศรษฐกิจ การค้า การศึกษา จรรยามารยาท ฯลฯ ตั้งแต่การใช้ชีวิตในระดับปัจเจกบุคคลตลอดจนการใช้ชีวิตร่วมกันกับผู้ อื่นในสังคม คุ้มครองสิทธิมนุษยชนให้แก่ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นผู้เข็มแข็ง ผู้ อ่อนแอ หรือทุพลภาพ ให้เกียรติผู้ใหญ่ เมตตาต่อเด็กน้อย มีสิทธิเท่าเทียม กันระหว่างเพศชายและเพศหญิง ตามสิทธิของแต่ละฝ่ายที่พึงจะได้รับ ให้เกียรติ แก่ผู้รู้ และส่งเสริมให้สั่งเสียตักเตือนแก่ผู้ที่ไม่รู้ ไม่ด่าท่อว่าร้าย ผู้อื่นไม่ว่าเขาจะเป็นมุสลิมหรือชนต่างศาสนิก สอนให้สนใจต่อโลก ทรัพยากรทั้งหมดที่พระองค์ทรงสรรค์สร้างมาต้องร่วมกันหวง แหนปกปักษ์รักษา ไม่ตัดต้นไม้ทำลายผืนป่า หรือฆ่าสัตว์ตัดชีวิต เพียงเพื่อความสนุกสนานหรือ เป็นเพียงเกมส์กีฬา มีความเอื้อเฟื้อเมตตาต่อสรรพสิ่งที่ถูกสร้างไม่ยกเว้นแม้กระทั่ง สัตว์ เช่น สุนัข หรือแมว และส่วนหนึ่งจากคำสอนแห่งอิสลามแนะนำไม่ให้ละเลย ต่อความดีงามที่ดูว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย แม้ว่าจะเป็นการยิ้มแย้มให้แก่พี่ น้อง ศาสนาอิสลามมีคำตอบในทุกๆ คำถาม บอกไว้ตั้งแต่เรื่องเล็กสุดอย่างอะตอม สสาร จนกระทั่งไปถึงเรื่องใหญ่อย่างโลกและจักรวาล ทุกอักขระ ทุกวลีของ คัมภีร์อัลกุรอานเป็นบทบัญญัติที่ล้ำสมัยไม่มีวันล้าหลังหรือดับสูญ


ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ถูกส่งมาเพื่อเผยแผ่ความดีงาม นำความเมตตามาแบ่งปันชาวโลก และเชิญชวน มนุษยชาติสู่การเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺแต่เพียงผู้เดียว เพราะนัยยะของการ บังเกิดมนุษย์ขึ้นมาบนโลกนี้ คือการเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺอย่างศิโรราบ ดั่ง ที่พระองค์ตรัสไว้ ความว่า “และฉันไม่ได้สร้างญินและมนุษย์มาเพื่ออื่นใด นอกจาการเคารพภักดีต่อฉัน” (อัซซาริยาต / 56)

ฉะนั้นการดำเนินชีวิตของมุสลิมย่อมมีขอบเขตหรือกรอบ เขาจะไม่ปล่อยวิถีให้ ดำเนินไปตามอำเภอใจหรือขึ้นอยู่กับภาวะอารมณ์แห่งตน สิทธิหน้าที่ที่เขาพึง มีต่อพระเจ้าผู้ทรงสร้าง สิทธิระหว่างตัวเขากับผู้ถูกสร้างด้วยกัน การสร้าง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวเขากับสมาชิกในครอบครัวหรือบุคคลทั่วไปที่ร่วมอยู่ อาศัยในสังคมเดียวกัน จะต้องไม่หลุดออกไปจากกรอบ หรือแนวทางที่บทบัญญัติแห่งอิสลามได้กำหนดไว้

ครอบครัว...นับเป็นแหล่งแรกและสำคัญที่สุดในการอบรมตักเตือน เป็นสถาบันหลัก ในการร่วมฟูมฟัก ผลิตทรัพยากรมนุษย์ออกมาโลดแล่นในสังคมอย่างมี ประสิทธิภาพ ครอบครัวมิได้เป็นแค่แหล่งอบรมฟูมฟักมนุษย์เท่านั้น แต่ยังเป็น แหล่งกำเนิดอารยธรรม เป็นดั่งสายธารที่ให้ความอบอุ่นแก่สมาชิก ดังนั้นเพื่อ ให้การสร้างสถาบันครอบครัวประสบความสำเร็จและสอดรับกับปรัชญาในการครอง เรือน จำเป็นต้องมีปฏิญญาหรือคำมั่นสัญญาของครอบครัว หรือต้องมีธรรมนูญใน การดำเนินชีวิตภายใต้สถาบันครอบครัว และส่วนหนึ่งของปฏิญญาครอบครัวที่เราจะ นำเสนอ มีดังต่อไปนี้

1. ต้อง ศรัทธาต่ออัลลอฮฺอย่างจริงจัง ปัจจัยส่วนหนึ่งคือต้องมีความบริสุทธิ์ในการ เคารพภักดีต่อพระองค์ เกรงกลัวและยำเกรงต่อพระองค์อย่างหนักแน่นมั่น คง ปฏิบัติตามสิ่งที่พระองค์ทรงใช้ ละเว้นสิ่งจากที่พระองค์ทรงห้าม และจง รำลึกถึงพระองค์อัลลอฮฺให้มากๆ

2. ต้อง ศรัทธาต่อบรรดาเทวทูต (มะลาอิกะฮฺ) บรรดาคัมภีร์ บรรดาศาสนทูต วันปรโลก และกฎสภาวการณ์ที่อัลลอฮฺ ทรงกำหนด อัลลอฮฺตรัสไว้ ความว่า “รอสูล (มุฮัมมัด) ได้ศรัทธาต่อสิ่งที่ได้ถูกประทานลงมาแก่เขาที่มาจากพระผู้อภิบาลของเขา และบรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลายก็ได้ศรัทธาต่ออัลลอฮฺ บรรดเทวทูต (มลาอิกะฮฺ) ของพระองค์ บรรดาคัมภีร์ของพระองค์ และบรรดารอสูลของพระองค์ (พวกเขากล่าวว่า) เราจะไม่แยกระหว่างท่านหนึ่งท่านใดจากบรรดารอสูลของพระองค์” (อัลบะกอเราะฮฺ / 285)

3. ต้อง ศรัทธาต่อท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และปฏิบัติตนตามจริยวัตรของท่านอย่างหนัก แน่น ปฏิบัติตามสิ่งที่ท่านสั่งใช้ ออกห่างจากสิ่งที่ท่านห้าม อัลลอฮฺตรัส ไว้ ความว่า “และสิ่งใดที่รอสูล (ศาสนทูต) นำมายังพวกสูเจ้าก็จงยึดปฏิบัติ และสิ่งใดที่เขาได้ห้ามปรามพวกสูเจ้าก็จง ละเว้นเสีย” (อัลฮัชรฺ / 7)

4. ดำรงการละหมาดและรักษาให้อยู่ในเวลาที่ ศาสนากำหนด อัลลอฮฺตรัสไว้ ความว่า “แท้จริงการละหมาดนั้นเป็นบัญญัติที่ถูก กำหนดเวลาไว้แก่บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย” (อัลนิสาอฺ / 103)

5. บริจาคทานบังคับ (ซะกาต) และทานสมัครใจ (เศาะดะเกาะฮฺ) ส่วนหนึ่งจากทรัพย์ที่อัลลอฮฺทรงประทานให้ อัลลอฮฺตรัส ไว้ ความว่า “และบรรดาผู้ที่ทรัพย์สินของพวกเขามีส่วนที่ถูกกำหนดไว้ สำหรับ ผู้ที่มาร้องขอและผู้ที่ไม่ร้องขอ” (อัลมะอาริจญฺ / 24-25)

6. ถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน อัลลอฮฺตรัส ไว้ ความว่า “บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลายการถือศีลอดนั้นได้ถูกำหนดแก่พวกเจ้า แล้ว เช่นเดียวกับที่ได้ถูกกำหนดแก่บรรดาผู้มาก่อนหน้าพวกเจ้ามาแล้ว เพื่อว่าพวก เจ้าจะได้ยำเกรง” (อัลบะกอเราะฮฺ / 183)

7. เดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ ในกรณีที่มีความ สามารถ อัลลอฮฺตรัสไว้ ความว่า “และสิทธิของอัลลอฮฺที่มีต่อมนุษย์นั้นคือ การมุ่งสู่บ้านหลังนั้น อันได้แก่ผู้ที่มีความสามารถหาทางไปยังบ้านหลัง นั้น” (อาละอิมรอน / 97)

8. สร้างสายสัมพันธ์ระหว่างคู่สามี-ภรรยา โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของชีวิตคู่ที่เต็ม เปี่ยมไปด้วยความรัก ความอบอุ่น และความเมตตาอาทร อัลลอฮฺตรัสไว้ ความว่า “และหนึ่งจากสัญญาณทั้งหลายของพระองค์ คือ ทรงสร้างคู่ครองให้แก่พวกเจ้าจากตัวของพวกเจ้า เพื่อพวกเจ้าจะได้มีความสุข ขณะอยู่กับเธอ และทรงให้มีความรักใคร่และความเมตตาระหว่างพวกเจ้า แท้จริงในเรื่องดังกล่าวนี้ แน่นอนย่อมเป็นสัญญาณแก่บรรดากลุ่มชนผู้ใคร่ ครวญ” (อัรรูม /21) และนับเป็นความจำเป็นที่คู่สามี-ภรรยาจะต้องร่างกำหนดธรรมนูญในการ ดำเนินชีวิต วางรากฐานเพื่อสร้างความเข้าใจในชีวิตการครองเรือน เพื่อว่า ความรัก ความเมตตา จะดำเนินไปอย่างมั่นคงไม่สั่นคลอน และก้าวบรรลุถึงความเปี่ยมสุข ที่แท้จริง

9. สามีจะต้องมีวุฒิภาวะในการเป็นผู้นำของครอบครัว อัลลอฮฺตรัสไว้ ความว่า “บรรดา บุรุษนั้นเป็นผู้ทำหน้าที่ปกครองเลี้ยงดูบรรดาสตรี เนื่องด้วยการที่อัลลอฮฺได้ทรงให้บางคนจากพวกเขาประเสริฐกว่าอีกบางคน และ ด้วยการที่พวกเขาได้ใช้จ่ายไปจากทรัพย์สินของพวกเขา” (อัลนิสาอฺ /34)

10. เอาใจใส่ต่อสิทธิและหน้าที่ภายในบ้านที่ พึงมีระหว่างคู่สามี-ภรรยา ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวไว้ ความว่า “สามีมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบ ต่อสมาชิกในครอบครัวและเขาจะถูกสอบสวนในสิ่งที่รับผิดชอบ และภรรยาก็มี หน้าที่ต้องรับผิดชอบต่อบ้านของสามีและเธอจะถูกสอบสวนในสิ่งที่รับผิด ชอบ” (บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ และมุสลิม)

11. ภรรยาจะต้องปฏิบัติตามบทบาทและหน้าที่ที่พึงมีต่อสามีอย่างเคร่งครัด เชื่อ ฟังปฏิบัติตามสามีอย่างดีเยี่ยม ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวไว้ ความว่า “ไม่ว่าผู้หญิงคนใดได้เสีย ชีวิตลงในสภาพที่สามีมีความพึงพอใจต่อเธอ เธอจะได้เข้าสวนสวรรค์” (บันทึก โดยอัตติรมิซียฺ)

12. สามีจะต้องมอบสิทธิและหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติต่อภรรยา ใช้ชีวิตร่วมกัน มีความอ่อน โยน ให้ค่าเลี้ยงดูต่อเธออย่างดีเลิศ ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวไว้ ความว่า “เมื่อมุสลิมได้จ่ายค่าเลี้ยง ดูให้แก่สมาชิกในครอบครัวในสภาพที่เขาหวังภาคผลบุญ ก็เท่ากับได้บริจาค ทาน” (บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ และมุสลิม)

13. บิดา-มารดาจะต้องดูแลเอาใจใส่ต่อผู้เป็น บุตรอย่างจริงจัง อบรมเลี้ยงดู เสี้ยมสอนหลักการศาสนาแก่พวกเขาอย่างเคร่ง ครัด ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวไว้ ความว่า “จงกำชับพวกเขาให้ละหมาดขณะ ที่อายุของพวกเขาได้ 7 ปี ให้เฆี่ยนตีพวกเขาขณะอายุได้ 10 ปี และให้แยกที่นอนระหว่างพวกเขา (หมายถึงระหว่างลูกผู้ชายกับลูกผู้หญิง)” (บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ และมุสลิม)

14. บรรดาบุตรจะต้องกตัญญูต่อบิดา-มารดา และ ต้องเชื่อฟังปฏิบัติตามท่านทั้งสองในสิ่งที่อัลลอฮฺทรงพอพระทัย อัลลอฮฺตรัส ไว้ ความว่า “และพระผู้อภิบาลของเจ้าได้บัญชาว่า พวกเจ้าอย่าได้เคารพภักดีต่อผู้ใดนอกจากพระองค์เท่านั้น และจงทำดีต่อบิดา มารดา” (อัลอิสรออฺ / 23)

15. สร้างปฏิสัมพันธ์กับเครือญาติและปฏิบัติตนที่ดีต่อพรรคพวกเพื่อนฝูง อัลลอฮฺตรัส ไว้ ความว่า “และจงยำเกรงอัลลอฮฺผู้ซึ่งพวกเจ้าต่างร้องขอต่อพระองค์ และพึงรักษาเครือญาติ” (อัลนิสาอฺ / 1) และท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวไว้ ความว่า “ผู้ใดที่ต้องการให้ปัจจัยยัง ชีพ (ริสกียฺ) ของเขาเพิ่มพูนและมีอายุยืนนาน ดังนั้นจงสร้างปฏิสัมพันธ์กับเครือญาติ” (บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ)

16. มอบ สิทธิที่พึงมีต่อเพื่อนบ้าน ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวไว้ ความว่า “ญิบรีล (เทวทูต) ยังคงสั่งเสียฉันถึงเรื่องเพื่อนบ้าน จนกระทั่งฉันนึกว่าเขาสามารถรับมรดก ได้” (บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ และมุสลิม)

17. รู้จักคุณค่าของสมาชิกในครอบครัวและ รู้จักให้เกียรติต่อผู้ใหญ่ ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวไว้ ความว่า “ไม่นับว่าเป็นพวกของเรา ผู้ ที่ไม่มอบความเมตตาอาทรต่อเด็ก และผู้ที่ไม่รู้จักให้เกียรติต่อ ผู้ใหญ่” (บันทึกอบูดาวุด และอัตติรมิซียฺ)

18. ต้องมีความอดทนอดกลั้นขณะที่ต้องเผชิญ หน้ากับความลำบากหรือการถูกทดสอบ และในทุกสภาพการณ์ อัลลอฮฺตรัสไว้ ความ ว่า “บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงอาศัยความอดทนและการละหมาดเถิด แท้จริงอัลลอฮฺทรงอยู่ร่วมกับบรรดาผู้อดทน” (อัลบะกอเราะฮฺ / 153)

19. ต้องเป็นคนสัจจริงทั้งคำพูดและการ กระทำ ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวไว้ ความว่า “แท้จริงความสัจจริงจะนำไปสู่ ความดีงาม และความดีงามจะนำไปสู่สวนสวรรค์” (บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ และ มุสลิม)

20. มอบหมายทุกกิจการงานต่ออัลลอฮฺและมั่นใจอย่างแน่วแน่ต่อพระองค์ อัลลอฮฺตรัส ไว้ ความว่า “และผู้ใดได้มอบหมายกิการงานต่ออัลลอฮฺ พระองค์ก็จะทรงเป็นผู้ พอเพียงแก่เขา” (อัฏเฏาะลาค / 3)


21. ยืนหยัดบนหนทางของอัลลอฮฺ อัลลอฮฺตรัส ไว้ ความว่า “ดังนั้นเจ้าจงอยู่บนความเที่ยงธรรมดั่งเช่นที่ถูกบัญชา ใช้” (ฮูด / 112)

22. ให้รีบ เร่งแข่งขันในการประกอบคุณงามความดี อัลลอฮฺตรัสไว้ ความว่า “ดังนั้นพวก สูเจ้าจงแข่งขันกันในเรื่องความดีทั้งหลายเถิด” (อัลมาอิดะฮฺ / 48)

23. ออกห่างจากสิ่งที่เป็นอุตริกรรมทางด้าน ศาสนา (บิดอะฮฺ) ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวไว้ ความว่า “ผู้ใดที่ได้ประดิษฐ์คิดค้นใน เรื่องกิจการงานของเราขึ้นใหม่ซึ่งมันไม่มีอยู่เดิม ดังนั้นมันจะถูก ปฏิเสธ” (บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ และมุสลิม)

24. ช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเรื่องของความดี งามและความยำเกรง และทุกกิจการงานในการดำเนินวิถีชีวิต อัลลอฮฺตรัสไว้ ความ ว่า “และพวกสูเจ้าจงช่วยเหลือกันในเรื่องคุณธรรมและความยำเกรง” (อัลมาอิดะ ฮฺ / 2)

25. ทุ่มเท ในเรื่องการอบรมตักเตือน กำชับใช้เรื่องคุณงามความดีและห้ามปรามเรื่องความ ชั่วช้าสามานย์ ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวไว้ ความว่า “ศาสนา คือการอบรมตัก เตือน” (บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ และมุสลิม)

 

26. ออกห่างจากการอธรรมในทุกรูปแบบ ท่านนบีมุ ฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวไว้ ความว่า “พึงยำเกรงเรื่องการอ ธรรม เพราะการอธรรมเป็นความมืดมนในวันปรโลก” (บันทึกโดยมุสลิม)

27. ปกปิดความลับและรักษาสิ่งที่ต้องพึงสงวน ของผู้อื่น ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวไว้ ความว่า “บ่าวคนหนึ่งจะไม่ปกปิดความ ลับของบ่าวอีกคนในโลกนี้ (ดุนยา) ยกเว้นอัลลอฮฺจะทรงปกปิดความลับให้แก่เขาในวันปรโลก” (บันทึกโดยอัล บุคอรียฺ และมุสลิม)

28. ให้ความ สะดวกแก่บรรดาพี่น้องมุสลิมที่มีความจำเป็นหรือเดือดร้อน ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวไว้ ความว่า “ผู้ใดได้ขจัดความเดือดร้อน ของพี่น้องของเขา อัลลอฮฺจะทรงช่วยขจัดความเดือดร้อนให้แก่เขา และผู้ใดได้ ขจัดความทุกข์อย่างหนึ่งของมุสลิม อัลลอฮฺจะขจัดออกจากเขาซึ่งความทุกข์ อย่างหนึ่งจากบรรดาความทุกข์ในวันปรโลก” (บันทึกโดยมุสลิม)

29. มีความมักน้อยในโลกนี้และไม่อยากได้สิ่ง ของเกินความจำเป็น อัลลอฮฺตรัสไว้ ความว่า “และการมีชีวิตอยู่ในโลกนี้มิใช่อื่นใดนอกจากการแสวงหาผลประโยชน์แห่งการ หลอกลวงเท่านั้น” (อัลหะดีด / 20)

30. ดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง ใช้จ่ายอย่าง ประหยัด อัลลอฮฺตรัสไว้ ความว่า “และบรรดาผู้ที่เมื่อพวกเขาใช้จ่าย พวกเขาจะไม่สุรุ่ยสุร่ายและไม่ตระหนี่ และระหว่างทั้งสองลักษณะนั้นพวกเขาจะอยู่สายกลาง” (อัลฟุรกอน / 67)

31. มีจิตใจที่มีความเมตตา รู้จักแบ่งปันหยิบ ยื่นให้แก่ผู้อื่น อัลลอฮฺตรัสไว้ ความว่า “และบรรดาสิ่งดีๆ ที่พวกเจ้าได้บริจาคไปนั้น แท้จริงอัลลอฮฺทรงเป็นผู้ที่รู้ดียิ่ง” (อัลบะกอ เราะฮฺ / 273)

32. รู้จัก การเสียสละและหนีห่างจากความตระหนี่ อัลลอฮฺตรัสไว้ ความว่า “และให้สิทธิ ต่อผู้อื่นก่อนตัวของพวกเขาเอง ถึงแม้ว่าพวกเขายังมีความต้องการอยู่มากก็ ตาม และผู้ใดปกป้องการตระหนี่ที่อยู่ในตัวของเขาชนเหล่านั้นเป็นผู้ที่ประสบ ความสำเร็จ” (อัลฮัชรฺ / 9)

33. มีความ เคร่งครัดในหลักการและตีตนออกห่างจากสิ่งที่คลุมเครือ ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวไว้ ความว่า “แท้จริงสิ่งที่อนุมัติ (หะลาล) มีความชัดเจน สิ่งที่ต้องห้าม (หะรอม) มีความชัดเจน ระหว่างทั้งสองอย่างมีสิ่งที่คลุมเครือซึ่งผู้คนส่วนมากไม่ รู้ ดังนั้นผู้ที่เกรงกลัวต่อความคลุมเครือก็เท่ากับเขาแสวงหาความบริสุทธิ์ ให้แก่ศาสนาและเกียรติภูมิของเขา และผู้ใดที่ตกลงไปในสิ่งที่คลุมเครือก็ เท่ากับเขาตกลงไปในสิ่งที่ต้องห้าม” (บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ และมุสลิม)

34. ต้องมีความนอบน้อมและลดความอวดดี โอหัง ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวไว้ ความว่า “แท้จริงอัลลอฮฺได้ทรงบัญชา (วะฮฺยู) แก่ฉันให้พวกท่านมีความนอบน้อมซึ่งกันและกัน เพื่อว่าคนหนึ่งจะไม่โอหังต่อ อีกคนหนึ่ง และคนหนึ่งจะไม่ละเมิดต่ออีกคนหนึ่ง” (บันทึกโดยมุสลิม)

35. ต้องมีความสุขุมรอบคอบและมีความเมตตา อ่อนโยน อัลลอฮฺตรัสไว้ ความว่า “และบรรดาผู้ข่มโทษ บรรดาผู้ให้อภัยต่อ เพื่อนมนุษย์ และอัลลอฮฺนั้นทรงรักใคร่ต่อบรรดาผู้กระทำความดี” (อาละอิมรอน / 134)
และท่านนบี มุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวไว้ ความว่า “แท้จริงความอ่อนโยนเมตตาจะ ไม่เกิดกับสิ่งใดนอกจากว่ามันจะทำให้สิ่งนั้นสวยงาม และไม่ว่าความอ่อนโยน ถูกถอดออกจากสิ่งใดนอกจากทำให้สิ่งนั้นน่าตำหนิ” (บันทึกโดยมุสลิม)

36. มีคุณสมบัติแห่งความละอาย ท่านนบีมุฮัม มัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวไว้ ความว่า “ความละอายจะไม่นำสิ่งใดมานอก จากความดีงาม” (บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ และมุสลิม)

37. ต้องรักษาสัญญา อัลลอฮฺตรัสไว้ ความว่า “และจงให้ครบตามสัญญา (เพราะ) แท้จริงสัญญานั้นจะถูกสอบสวน” (อัลอิสรออฺ / 34)

38. ต้องมีใบหน้าที่ยิ้มแย้มเบิกบานและ แสดงออกถึงความเปี่ยมสุขอยู่เป็นประจำ ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวไว้ ความว่า “การที่ท่านส่งรอยยิ้มให้แก่ พี่น้องของท่าน เท่ากับเป็นการบริจาคทาน” (บันทึกโดยอัตติรมิซียฺ)

39. ต้องมีความสุขุม สงบนิ่ง อัลลอฮฺตรัส ไว้ ความว่า “และปวงบ่าวของพระผู้ทรงกรุณาปราณี คือ บรรดาผู้ที่เดินบนแผ่นดินด้วยความสงบเสงี่ยม” (อัลฟุรกอน / 63)

40. ต้องมีจรรยามารยาทแห่งความดีงาม ท่านนบี มุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวไว้ ความว่า “บรรดาผู้ศรัทธาที่มีการ ศรัทธาที่สมบูรณ์ยิ่งคือผู้ที่มีจรรยามารยาทที่ดีงามยิ่ง และผู้ที่ประเสริฐ ที่สุดในกลุ่มพวกท่านคือผู้ที่ปฏิบัติตนที่ดีเลิศต่อภรรยาของพวก เขา” (บันทึกโดยอัตติรมิซียฺ)

41. ทักทาย โดยการให้สลาม (การขอให้มีความสันติสุข) อัลลอฮฺตรัสไว้ ความว่า “เมื่อพวกเจ้าเข้าไปใน บ้านก็จงกล่าวสลามให้แก่ตัวของพวกเจ้าเอง เป็นการแสดงการเคารพจากอัลลอฮฺอันจำเริญยิ่ง” (อัลนูร / 61)

42. ต้องมีการขออนุญาต อัลลอฮฺตรัสไว้ ความ ว่า “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาชนทั้งหลาย พวกเจ้าอย่าเข้าไปในบ้านผู้อื่นนอกจาก บ้านของพวกเจ้า จนกว่าจะขออนุญาตและให้กล่าวสลามต่อเจ้าของบ้านเสียก่อน เช่นนั้นแหละเป็นการดีสำหรับพวกเจ้า หวังว่าพวกเจ้าจะใคร่ครวญ” (อัลนูร / 27)

43. ต้อง ปฏิบัติตนอย่างดีต่อคนรับใช้ ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวไว้ ความว่า “ผู้ใดที่มีพี่น้องของเขาอยู่ ภายใต้การคุ้มครอง จงให้อาหารในสิ่งที่เขารับประทาน จงให้เสื้อผ้าตามสิ่ง ที่เขาสวมใส่ ไม่บังคับใช้พวกเขาในสิ่งที่เกินความสามารถ ดังนั้นหากใช้พวกเขาก็จงให้การ ช่วยเหลือต่อพวกเขา” (บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ และมุสลิม)

44. ส่งเสริมให้มีความรักในการแสวงหาความ รู้ การอบรมสั่งสอน ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวไว้ ความว่า “ผู้ใดที่แสวงหาหนทางเพื่อการ ค้นหาวิชาความรู้ อัลลอฮฺจะทรงประทานหนทางที่ง่ายดายไปสู่สวนสวรรค์แก่ เขา” (บันทึกโดยมุสลิม)

45. ให้หลีก ห่างจากการสอดแนม การนินทาว่าร้าย และการป้ายสีสาดโคลนต่อผู้อื่น โดยอัล ลอฮฺตรัสไว้ ความว่า “โอ้ศรัทธาชนทั้งหลาย พวกเจ้าจงปลีกตัวให้พ้นจากส่วน มากของการสงสัย แท้จริงการสงสัยบางอย่างนั้นเป็นบาป และพวกเจ้าอย่าสอดแนม และบางส่วนจากกลุ่มพวกเจ้าอย่านินทาซึ่งกันและกัน คนหนึ่งจากกลุ่มพวกเจ้านั้นชอบที่จะกินเนื้อพี่น้องของเขาที่ตายไป แล้วกระนั้นหรือ? พวกเจ้าย่อมรังเกียจมัน และจงยำเกรงอัลลอฮฺเถิดแท้จริงอัลลอฮฺนั้นเป็น ผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงเมตตาเสมอ” (อัลหุญุรอต / 12)

46. ให้ออกห่างจากการอิจฉาริษยา ท่านนบีมุฮัม มัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวไว้ ความว่า “พวกท่านทั้งหลายพึงระวังการ อิจฉาริษยา เพราะการอิจฉาริษยามันจะกัดกินความดีงามเสมือนไฟไหม้ ฝืน” (บันทึกโดยอบูดาวุด)

47. ไม่มอง โลกในแง่ร้าย (คิดในทางที่ไม่ดี) ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวไว้ ความว่า “พวกท่านทั้งหลายพึงระวังการ คิดไม่ดีเถิด เพราะการคิดไม่ดีเป็นคำพูดที่โกหกยิ่ง” (บันทึกโดยอัลบุคอรี ยฺ และมุสลิม)

48. ให้ความ สนใจในการตกแต่งบ้านให้มีความสวยงาม ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวไว้ ความว่า “แท้จริงพระองค์อัลลอฮฺ-ตะอะ ลา- ทรงงดงามวิจิตร และพระองค์ทรงรักใคร่ความสวยงาม” (บันทึกโดยมุสลิม)

49. ให้ความสำคัญและเอาใจใส่ต่อความเป็นระบบ ระเบียบของครอบครัวในทุกๆ ด้าน

50. จาก ประการนี้เป็นต้นไปผู้เป็นคู่ครองสามี-ภรรยา เป็นคนตราร่างปฏิญญาหรือคำมั่น สัญญาขึ้นในครอบครัวของพวกท่านเอง


Maintained by: e-Daiyah Group (1429 H - 2008).